การประกอบสร้างมายาคติความเป็นแม่ ของ “แม่ที่เบี่ยงเบน” และ “ผู้เลี้ยงดูประหนึ่งแม่” ในละครโทรทัศน์
คำสำคัญ:
การประกอบสร้าง, ผู้เลี้ยงดูประหนึ่งแม่, แม่ที่เบี่ยงเบน, ความเป็นแม่, มายคติบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบมายาคติความเป็นแม่ในละครโทรทัศน์กับมายาคติหลักความเป็นแม่ในสังคมไทย และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์หน้าที่ของมายาคติความเป็นแม่ในละครโทรทัศน์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ตัวบทละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศหลังข่าวภาคค่ำระหว่างปี 2555-2558 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 3 5 7 ที่มีเค้าโครงเรื่องเกี่ยวกับความเป็นแม่ที่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานกำหนดจำนวน 8 เรื่อง และจำนวนตัวละครแม่ 10 ตัวละคร
ผลการศึกษาพบมายาคติความเป็นแม่ในละครโทรทัศน์ตอกย้ำกับมายาคติหลักของสังคมไทยคือ “แม่” คือผู้ให้กำเนิดหรือผู้เลี้ยงดู ทำหน้าที่ชี้ให้เห็นว่า การเป็นแม่ที่ไม่พร้อม จะมีผลต่อความเป็นแม่ทั้งการปฏิเสธการเป็นแม่ และผลต่อการอบรมเลี้ยงดูที่เบี่ยงเบนไปจากสังคมคาดหวัง และทำหน้าที่กำหนดความคิดว่า ผู้หญิงควรมีความพร้อมหรือเตรียมพร้อมในการเป็นแม่ทั้งลักษณะทางจิตใจ ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และอาชีพ
มายาคติที่ต่อต้านคือ การปฏิเสธการเป็นแม่ โดยมายาคติทำหน้าที่ชี้ให้เห็นว่า การเป็นแม่จะทำให้หมดโอกาสที่จะมีบทบาทอื่นที่ดีกว่าในสังคม และทำหน้าที่กำหนดความคิดว่า การปฏิเสธการเป็นแม่ แม้จะทำให้แม่มีโอกาสที่ดีขึ้นในสังคมมากกว่าบทบาทการเป็นแม่ แต่แม่ก็จะได้รับการลงโทษด้วยการมีชีวิตที่ไม่มีความสุข แต่เมื่อแม่ยอมรับและทำหน้าที่แม่ แม่ก็จะได้รับรางวัลจากการยอมรับของสังคม
มายาคติที่ท้าทายคือ แม่มีอำนาจในการกำหนดรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูลูก โดยมายาคติทำหน้าที่ชี้ให้เห็นว่า แม่เป็นผู้ให้กำเนิดลูก ลูกเป็นสมบัติของแม่ แม่จึงมีอำนาจในการอบรมเลี้ยงดูลูกโดยไม่ต้องเป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง และทำหน้าที่กำหนดความคิดว่า แม่ที่อบรมเลี้ยงดูลูกเบี่ยงเบนไปจากสังคมกำหนดและคาดหวัง แม่จะถูกลงโทษ
บทสรุปการประกอบสร้างมายาคติความเป็นในละครโทรทัศน์ แม้จะมาจากมุมมองที่หลากหลาย แต่ละครโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่หลักในการกล่อมเกลาให้แม่มีความเป็นแม่ตามที่สังคมคาดหวัง
References
เจนเดอร์เพรส.
2. กาญจนา แก้วเทพ. (2536). มายาพินิจ การเมืองทางเพศของละครโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
เจนเดอร์เพลส.
3. กาญจนา แก้วเทพ. (2543). ความเรียงว่าด้วยสตรีกับสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4. กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์จำกัด.
5. กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
6. กาญจนา แก้วเทพ, สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองและ
สื่อสารการศึกษา (พิมพ์ครั้ง 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
7. กำจร หลุยยะพงศ์. (2544). ครอบครัวกับความสัมพันธ์ที่ไม่มีวันแปรเปลี่ยน?. กรุงเทพฯ: หจก.อรุณ
การพิมพ์.
8. ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2541). สตรีในคัมภีร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (2545). สตรีนิยม : ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
10. รวิช ตาแก้ว. (2552, สิงหาคม). “แม่”: มุมมองเรื่องเล่าในบริบทของสังคมไทย. วารสารการศึกษา
ไทย, 6(59), 10-14.
11. วาทินีย์ วิชัยยา. (2555). แม่วัยรุ่น: ประสบการณ์ชีวิตและเพศภาวะ. ในการประชุมเครือข่ายวิชาการ
บัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 1 18 ธันวาคม 2555. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
12. บุญรัตน์ โพธิไพรัตนา. (2547). คติเรื่องแม่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
13. สุคนธรัตน์ สร้อยทองดี. (2552). การนำเสนออุดมการณ์ความเป็นแม่ในวาทกรรมโฆษณาใน
นิตยสารสำหรับครอบครัว วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....