มายาคติความตายที่สื่อสารผ่านพิธีกรรมงานศพของกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธ: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ภูไท และกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

ผู้แต่ง

  • สรัสวดี คงปั้น คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มนต์ ขอเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การประกอบสร้างความหมาย, มายาคติความตาย, แนวคิดต้นไม้แห่งคุณค่า, กลุ่มชาติพันธุ์, ศาสนาพุทธ, พิธีกรรมงานศพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความหมาย ความเชื่อ และวิเคราะห์การประกอบสร้างความหมายเชิงมายาคติเกี่ยวกับความตายที่สื่อสารผ่านพิธีกรรมงานศพของกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ภูไท และกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมงานศพในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน คนเฒ่าคนแก่ และชาวบ้านในชุมชน รวมทั้งศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพิธีกรรมงานศพในประเทศไทย และ หนังสือ เอกสาร ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมงานศพของกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศไทย

ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารความหมายเชิงมายาคติความตายในพิธีกรรมงานศพของกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท และกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ถูกประกอบสร้างความหมายจากความเชื่อเรื่องผี และสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติ ผสมผสานกับความเชื่อเกี่ยวกับความตาย ตามหลักการทางพุทธศาสนา โดยความเชื่อเหล่านี้ถูกสื่อสารออกมาทางสัญญะต่าง ๆ ที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองนำมาประกอบใช้ในพิธีกรรมงานศพ หากเปรียบเทียบกับต้นไม้มีทั้งส่วนที่มองเห็นได้ (Visible part) ได้แก่ ดอก ใบ ผล และลำต้น กับส่วนที่มองไม่เห็น (Invisible part) คือส่วนรากของต้นไม้ ในแต่ละยุคก็จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่างที่ใช้ในพิธีกรรมแต่ยังคงความหมายของความตายตามความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองไว้ โดยมีหลักการทางพุทธศาสนาเป็นตัวกำกับความเชื่อดังกล่าว

Author Biography

สรัสวดี คงปั้น, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

1. กาญจนา แก้วเทพ. (2554). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส
โปรดักส์.

2. ธนา นิลชัยโกวิทย์และคณะ. (2545). ทบทวนกระบวนทัศน์เรื่องความตายและมิติแห่งสุขภาวะ.
กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

3. ปรานี วงษ์เทศ. (2534). พิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์
พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

4. ภัทรพร สิริกาญจน. (2539). เกิดกับตาย. เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 1-6. นนทบุรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

5. สุวินัย สุมันเลาะ. (2545). ทัศนะเรื่องความตายในศาสนาอิสลาม. กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

6. อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2534). โลกทัศน์อีสาน. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

7. Barthes, R. (1967). Elements of Semiology. New York : Hill and Wan.

8. Frazer, James G. (1913). The Belief in Immortality and the Worship of the Dead. London:
Dawsons of Pall Mall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-05