ภาวะกึ่งผูกขาดในธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย กับบทบาทของพื้นที่ทางเลือกเพื่อเสริมความหลากหลายในระบบภาพยนตร์

ผู้แต่ง

  • มาโนช ชุ่มเมืองปัก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ต่อสกุล ถิระพัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การผูกขาดสื่อ, พื้นที่ทางเลือก, การฉายภาพยนตร์, ธุรกิจภาพยนตร์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก โดยผู้เขียนนิยามพื้นที่ดังกล่าวว่าเป็น “พื้นที่ทางเลือก” เนื่องจากแนวคิดและการจัดการของพื้นที่ดังกล่าวมีความแตกต่างไปจากธุรกิจโรงภาพยนตร์กระแสหลักหรือเครือโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ซึ่งมุ่งเน้นการแสวงหากำไรเป็นหลัก โดยมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของพื้นที่ทางเลือกดังกล่าวกับสภาพการณ์ของการประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศที่มีลักษณะกึ่งผูกขาด

การศึกษาพบว่า ภายใต้สภาวะกึ่งผูกขาดของธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศไทยนั้น การเกิดขึ้นของพื้นที่ทางเลือกสามารถมีบทบาทที่ส่งผลต่อระบบภาพยนตร์ใน 2 แง่มุมหลัก ได้แก่ บทบาทต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์และผู้ประกอบวิชาชีพภาพยนตร์ และบทบาทต่อผู้ชมภาพยนตร์และสังคม โดยผู้ดำเนินงานของพื้นที่ทางเลือกเหล่านี้ได้ทำหน้าที่คัด จัดหา และนำเสนอภาพยนตร์ที่มีความหลากหลายทั้งในแง่เนื้อหาและรูปแบบให้แก่ผู้ชม ซึ่งถือเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความสมดุลของระบบภาพยนตร์ในประเทศ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นธุรกิจหรือกิจกรรมที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยแนวคิดการแสวงหากำไรเป็นหลัก พื้นที่ทางเลือกเหล่านี้จึงประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารการเงินเพื่อความยั่งยืน บทความนี้เสนอว่าองค์กรภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทสนับสนุนการดำเนินงานของพื้นที่เหล่านี้ ในฐานะที่เป็นพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมที่จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อสังคม

Author Biographies

มาโนช ชุ่มเมืองปัก, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

ต่อสกุล ถิระพัฒน์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

คนทำหนังไทยเรียกร้องจัดสัดส่วนโรงฉาย-แก้ปมผูกขาดธุรกิจโรงหนัง. (1 ธันวาคม 2560). ประชาไท. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2561 จาก https://prachatai.com/journal/2017/01/69598
2. โครงสร้าง “คอขวด” อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย มูลค่าตลาดกว่า 2 หมื่นล้าน เมื่อปลายน้ำมีผู้เล่นหลัก 2 ค่ายครองจอ. (5 สิงหาคม 2559). ไทยพับลิก้า. สืบค้นวันที่ 28 มีนาคม 2561 จาก https://thaipublica.org/2016/08/film-industry-2/
3. ธุรกิจสี่อภาพยนตร์. (ม.ป.ป.). เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด. สืบค้นวันที่ 28 มีนาคม 2561 จาก https://major-th.listedcompany.com/films_biz.html
4. นภนนท์ หอมสุด (2559). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
5. เปิดยุทธศาสตร์ “เมเจอร์ฯ” ขยายโรงหนังเข้าตำบล-อำเภอทั่วไทย สะดวกเหมือนเซเว่นฯ (27 มกราคม 2560). Brand Buffet. สืบค้น 25 มีนาคม 2561 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/01/major-cineplex-group-strategic-move/
6. พรเทพ เบญญาอภิกุล และวรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์. (2557). การแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในประเทศไทย: รายงานการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน และอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์. สืบค้นวันที่ 14 มีนาคม 2561 จาก https://v-reform.org/report-on-private-hospital-and-cinema-industry-market-competition/
7. มาโนช ชุ่มเมืองปัก (2560). การผลิตสื่อทางเลือกโดยชาวไทยเชื้อสายปกาเกอะญอ, วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 748-761.
8. รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์. (2560). สัดส่วนหนัง และวัฒนธรรมจอเงิน. WAY. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2561 จาก https://waymagazine.org/theater_quota/
9. สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2560). ธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์...เติบโตท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ. สืบค้นวันที่ 28 มีนาคม 2561 จาก https://www.dtn.go.th/index.php/global-trade-monitor/item/ธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์-เติบโตท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ.html
10. อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย. (2558). ธุรกิจภาพยนตร์. ใน สมสุข หินวิมาน และคณะ, ธุรกิจสื่อสารมวลชน (น.273-311). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
11. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). อุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน. ใน อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (บรรณาธิการ), สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อสารมวลชน วัฒนธรรม และสังคม (น.171-204). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. อุลิชษา ครุฑะเสน. (2556). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน, วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน -ธันวาคม): 276-285.
13. Atton, C. (2002). Alternative Media. Thousand Oaks, CA: Sage.
14. Croteau D. and Hoynes W. (2014). Media/Society: Industries, Images, and Audiences. Los Angeles: Sage.
15. Yubol Benjarongkij and Tatri Taifapoon. (2016). The Usage of Electronic Media of High School Students in Thailand, วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน): 1-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-05