ทีวีโปรดิวเซอร์: สถานะ บทบาท และการพัฒนาทักษะสำคัญในยุคดิจิทัลสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ฐิตินัน บ. คอมมอน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โปรดิวเซอร์, โทรทัศน์, ดิจิทัล, การหลอมรวมสื่อ, ประเทศไทย 4.0, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาการทำงานของโปรดิวเซอร์และผู้ผลิตเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ต้องมีการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลหลอมรวม ที่มีบทบาทในฐานะ “เทคโนโลยีก่อกวน” (Disruptive Technology) อันส่งผลให้ บทบาท ทักษะและเทคนิคในการทำงานเปลี่ยนแปลงไปภายใต้การสร้างสรรค์งานในบริบทของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ผลการวิจัยพบว่า โปรดิวเซอร์และผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์ในยุคสื่อหลอมรวมต้องมี “พหุทักษะ” (Multi-skill) สามารถผลิตเนื้อหาสื่อข้ามแพลตฟอร์มที่หลากหลายได้ (Multi-platform) รวมทั้งยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับรูปแบบการทำงานใหม่ในลักษณะของการเป็นนายจ้างตนเอง (Self-employment) โดยต้องพัฒนาทักษะและสร้างโพร์ไฟล์รูปไม้ทีที่มีความโดดเด่น อาทิ ด้านเทคนิคและการสร้างสรรค์ เทคโนโลยี ธุรกิจ การทำงานเป็นทีม และการบริหารจัดการ ในส่วนของแนวทางการพัฒนาทักษะนั้น ผู้ผลิตและโปรดิวเซอร์ทีวีมีความตระหนักในการปรับตัวและต้องการพัฒนาทักษะที่จำเป็น หากในระดับนโยบายกลับพบว่า ยังขาดกลยุทธ์และหน่วยงานที่เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและโปรดิวเซอร์ทีวีความเชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรสื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยว่า หากได้รับการสนับสนุนจะทำให้สามารถนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับเนื้อหาสื่อเพื่อการผลิตเพื่อการส่งออกได้ตามแนวคิด ประเทศไทย 4.0 และแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

Author Biography

ฐิตินัน บ. คอมมอน, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

References

1. Bennett J. and Strange Creative Economy, N. (2011) Television as digital media, Durham and London: Duke
University Press.

2. Creative and Cultural Skills (2015). Building a creative nation: the next decade. Retrieved 9
January 2017, from https://ccskills.org.uk/downloads/CCS_BUILDINGACREATIVENATION_WEB_SINGLES.pdf

3. Creative Skills Europe (2016). Trends and skills in the European audiovisual and live
performance sectors Retrieved 9 January 2017, from https://ccskills.org.uk/downloads/
Creative_Skills_Europe_final_report_.pdf

4. Curtin, M. (2009). Matrix Media, In G. Turner and J. Tay. Television studies after TV. London: Routledge.

5. Day, G.S., and Schoemaker, P.J.H. (2000). Wharton on managing emerging technologies. New
York, NY: Wiley.

6. Flew, T. (2014). New Media: An Introduction. Oxford: Oxford University Press.

7. Jacob, J. (2003). Experimental and Live TV in the U.S., In M. Hilmes. The television history
book. London: BIF.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-06