บทบาทหนังสือพิมพ์ไทยในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง:กรณีวิกฤตทาง การเมืองช่วง พ.ศ. 2557

ผู้แต่ง

  • สราธร บุญสิทธิ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พีระ จิรโสภณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่หนังสือพิมพ์, สันติภาพ, ความขัดแย้ง, วิกฤตความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์เนื้อหาข่าวช่วงเกิดเหตุการณ์ในวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน และไทยโพสต์ ในช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปี พ.ศ. 2557 ในช่วงปลายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ช่วงรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน แนวทางการนำเสนอเนื้อหาข่าวในเชิงส่งเสริมสันติภาพหรือเน้นความขัดแย้ง โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในเชิงคุณภาพด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์

          ผลการศึกษาพบว่าหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับ ได้ทำหน้าที่สอดส่องดูแลระวังระไวสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม แต่ในบางครั้งก็นำเสนอไปในแนวทางที่อาจไม่เป็นไปตามหน้าที่ที่ควรเป็น อาจสร้างผลลัพธ์ในทางที่ไม่พึงประสงค์ สำหรับการนำเสนอเนื้อหาข่าวที่เป็นแนวทางในเชิงส่งเสริมสันติภาพหรือในแนวทางเน้นความขัดแย้งในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง หนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับมีแนวทางการนำเสนอเนื้อหาข่าวเป็นไปในทิศทางสร้างความขัดแย้ง ยกเว้น ในช่วงของการรัฐประหารของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  แนวทางการนำเสนอเนื้อหาข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์มติชนเป็นไปในเชิงสร้างสันติภาพมากขึ้น

          สำหรับการนำเสนอเนื้อหาข่าวของหนังสือพิมพ์เมื่อวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อมวลชน (Normative Theories of Media Performance) พบว่า เหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมือง ช่วงปลายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การนำเสนอเนื้อหาข่าวของหนังสือพิมพ์ เป็นไปตามแนวทางทฤษฎีอิสรภาพนิยม คือสื่อมีอำนาจในการกำหนดเนื้อหาข่าว ในขณะที่รัฐบาลขาดความมั่นคงและอำนาจในการควบคุมสื่ออย่างจริงจัง ตรงกันแม้ในช่วงที่รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หนังสือพิมพ์กลับมาอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐตามแนวทางทฤษฎีอำนาจนิยมเพราะถูกรัฐบาลเข้มงวดและสื่อเองก็ระมัดระวังในการนำเสนอเนื้อหาข่าวที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้น

Author Biographies

สราธร บุญสิทธิ์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พีระ จิรโสภณ, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

1. ทิพย์อนงค์ ตรรกวุติวงศ์. (2552). การกำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวกับการ
เคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปีพ.ศ. 2551.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. นุชนาถ สนามไชย.(2555). การใช้ภาษาในบทความแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. พีระ จิรโสภณ. (2548). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน หน่วยที่10 ใน ประมวลชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์
และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

4. วลักษณ์กมล จ่างกมล (2551). การสื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดจี.เอส.
เอ็ม. เทรดดิ้ง.

5. สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ(2555). คู่มือการรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง: กรณีปัญหาความ
ไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.

6. อภิวิชญ์ ไพศาลทรัพย์ (2552). วาทกรรมการเมืองไทยผ่านภาษาในบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์
ระหว่างการชุมนุม 193 วัน ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-06