รูปแบบการสื่อสารของแฟนบอลไทยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • สราลี พุ่มกุมาร คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิรัตน์ สนธิ์จันทร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ยุคดิจิทัล, การสื่อสาร, แฟนบอล

บทคัดย่อ

การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคดิจิทัล ทำให้รูปแบบการติดต่อสื่อสารของแฟนบอลในบริบทต่าง ๆ เปลี่ยนไป ทั้งทางเลือกในการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร พฤติกรรมการสื่อสาร รวมไปถึงวัฒนธรรมการสื่อสาร โดยสื่อใหม่นั้นส่งผลให้พฤติกรรมของแฟนบอลเปลี่ยนไป คือ ผู้รับสารของสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมนั้นมีลักษณะเฉื่อยชา (Passive Audience) แต่ผู้รับสารของสื่อใหม่นั้นมีลักษณะกระตือรือร้น (Active Receiver) คือ สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารตามความสนใจได้ด้วยตนเอง อีกทั้งสื่อใหม่ยังสามารถทำลายอุปสรรคทั้งด้านพื้นที่และเวลา (Space & Time) และสามารถสร้างชุมชนเสมือนในกลุ่มแฟนบอล จนสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตจริง และยังมีส่วนช่วยในการรักษาความผูกพันระหว่างกลุ่มแฟนบอลด้วย

Author Biographies

สราลี พุ่มกุมาร, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสื่อสารมวลชนทางกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

วิรัตน์ สนธิ์จันทร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา  มหาวิทยาลัยบูรพา  

References

1. Baker, C. (2008). Cultural Studies :Theory and Practice. London : Sage Publication.

2. Gray, D.E. (2008). Doing Research in the Real World. Sage.

3. Kinkema, K and Harris J. (1998). Mediasport. London and New York : Routledge.

4. Shirato, T. (2007). Understanding Sport Culture. London. Sage.

5. Van Dijk, J, (2012). The Network Society : Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-06