“Fictionlog” ธุรกิจแพลตฟอร์มสื่อ (นิยาย) ในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา สายพรหม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม, แพลตฟอร์ม, นิยายออนไลน์, นวัตกรรมบริการ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้ศึกษา ธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม (Platform Business) สื่อ “ฟิกชั่นล็อก” (fictionlog) แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อ-ขายนิยายบนโลกออนไลน์ในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นรูปแบบโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่มีข้อได้เปรียบกว่าการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม ทั้งในด้าน (1) ธุรกิจแบบแพลตฟอร์มสามารถขจัดปัญหา ขั้นตอน และความยุ่งยากของธุรกิจดั้งเดิมได้ (2) ธุรกิจแบบแพลตฟอร์มสามารถพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และ (3) ธุรกิจแบบแพลตฟอร์มสามารถสร้างผู้ผลิตที่มีความหลากหลายอย่างไม่จำกัด ก่อเกิดเป็นนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ที่อาศัยเทคโนโลยีในการช่วยให้คน ธุรกิจ และทรัพยากรต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดมูลค่า และการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน โดยจุดเด่นของฟิกชั่นล็อก นอกจากจะเน้นการซื้อ-ขายแล้ว ยังมีนิยายที่เปิดกว้าง และหลากหลายถึง 18 หมวด ตั้งแต่หมวดทั่วไปจนถึงนิยายวาย (ชายรักชาย, หญิงรักหญิง) ทั้งยังมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างจากธุรกิจหนังสืออย่างมาก เนื่องจากกระบวนการผลิตหนังสือ มีสำนักพิมพ์บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีกลุ่มคนที่มีอาชีพในการผลิตหนังสือเป็นผู้ผลิต ในขณะที่กระบวนการผลิตของฟิกชั่นล็อก นักเขียนเป็นผู้ตัดสินใจ และกระทำการทุกขั้นตอนด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่า ฟิกชั่นล็อก เป็นพื้นที่ในการสร้างความผูกพัน โดยเปิดพื้นที่ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักอ่าน และนักเขียนได้ใกล้ชิดกัน ได้รู้จักกัน และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในระดับที่ต้องการได้ ซึ่งนักเขียนจะได้ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) จากนักอ่านได้ทันที และทำให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง (Two-Way Communication) ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต นับเป็นมิติใหม่ของนิยายไทยที่นักอ่านเป็นนักเขียนร่วม เพราะมีส่วนร่วมในงานเขียนได้ด้วย ในวันที่การอ่าน และการเขียนต้องรุดหน้าไปอีกก้าว

 

 

Author Biography

กุลธิดา สายพรหม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ช่องทางการติดต่อ: 399 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

References

กาญจนา แก้วเทพ. 2552. สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
คนข่าว. 2562 (18 มีนาคม). Webnovel เผยเทรนด์ใหม่ของวงการนิยายออนไลน์. ค้นวันที่ 25 กันยายน 2562 จาก http://www.konkao.net/read.php?id=33321
จัตตาฬีส์ แจ่มศรี. 2560. การมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้า และความคาดหวังต่อการตอบกลับจากแบรนด์ของผู้บริโภค. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์การตลาด) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ญาราภรณ์ ชาญชำนิ. 2557. พฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและการเขียนนิยายออนไลน์. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฐานเศรษฐกิจ. 2562. (21-24 เมษายน). นิยายออนไลน์มาแรง “ฟิกชั่นล็อก” ยอดคนอ่านแตะ 1 ล้านคน. ฉบับ 3463 หน้า 11.
ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล. 2562. Digital Transformation in Action เปลี่ยนธุรกิจในยุคดิจิทัล Step by Step. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดซีแอนด์เอ็นบุ๊ค.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. 2558. Transmedia: story-telling. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน). หน้า 59-88.
ใบบัว นามสุข. 2555. พฤติกรรมการอ่านกับความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์จากนวนิยายออนไลน์ของเยาวชนไทย. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพ์พญา เจริญศิริพันธ์. 2561. ปลดล็อกปรากฏการณ์นิยายแปลจีนฟีเวอร์ ก้าวสำคัญของเว็บไซต์นิยายออนไลน์ fictionlog. ค้นวันที่ 16 กันยายน 2562 จาก https://adaymagazine.com/report-fictionlog/
ฟิกชั่นล็อก. 2562. เกี่ยวกับเรา. ค้นวันที่ 9 กันยายน 2562 จาก https://fictionlog.co/p/philosophy
มติชนออนไลน์. 2559 (17 สิงหาคม). ครั้งแรกในไทย “fictionlog” พื้นที่เขียน-อ่าน-ซื้อนิยายออนไลน์กับนักเขียนโดยตรง. ค้นวันที่ 19 กันยายน 2562 จาก https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_253153
ลักขณา ศรีรัตน์. นักอ่านนิยาย fictionlog. 2562 (17 กันยายน). การสัมภาษณ์.
ฤทัยรัตน์ สาเกทอง. นักเขียนนิยาย. 2562 (13 กันยายน). การสัมภาษณ์.
วราวุฒิ เรือนคำ และนภัส ร่มโพธิ์. 2561. ความพร้อมของประเทศไทยต่ออนาคตเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์. ค้นวันที่ 16 กันยายน 2562 จาก https://issuu.com/obels/docs/obels_outlook2017.
สมสุข หินวิมาน และคณะ. 2558. ธุรกิจสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย. 2560. วิจัยภาพรวมของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ วิจัยการอ่าน และวิจัยการซื้อ. ค้นวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก https://pubat.or.th/wp-content/uploads/2018/07/presentation_taiwan_18033_thai.pdf
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2560. รายงานฉบับสมบูรณ์การจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: แหล่งเงินทุนทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
อรพินท์ คำสอน. 2556. วรรณกรรมออนไลน์ของไทย: โลกวรรณกรรมที่โหยหาการวิจารณ์. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม). หน้า 107-124.
Brian Haven. 2007. Marketing’s New Key Metric: Engagement for Marketing Leadership Professionals (August 8). Forrester Research. Retrieved October 3, 2019 from http://snproject.pbworks.com/f/NewMetric_Engagement.pdf
Manager306. 2561 (14 ธันวาคม). Digital Disruption จุดเปลี่ยนวงการสื่อไทย?. ค้นวันที่ 9 กันยายน 2562 จาก http://gotomanager.com/content/digital-disruption-
Punyapa Prasarnleungwilai. 2561 (5 สิงหาคม). “รูปแบบเป็นเพียงเทคนิค แต่คุณภาพคือสิ่งสำคัญ” นิยายออนไลน์ในสายตาผู้ดูแลแพลตฟอร์ม. ค้นวันที่ 30 กันยายน 2562 จาก https://today.line.me/th/pc/article/รูปแบบเป็นเพียงเทคนิค+แต่คุณภาพคือสิ่งสำคัญ+นิยายออนไลน์ในสายตาผู้ดูแลแพลตฟอร์ม-2Zxygj
SimilarWeb. 2562. Traffic Overview Fictionlog.co. ค้นวันที่ 19 กันยายน 2562 จาก https://www.similarweb.com/website/fictionlog.co
Tawan Chumintarachak. 2015. Kickstarter Adaptation: Inplementing Crowd Funding Platform for Thai Society. IN ThaiTIMA The 7Th Annual Conference On Technology and Innovation
The Matter. 2561 (1 กรกฎาคม). นิยายยุคใหม่เป็นอย่างไร? โลกออนไลน์เปลี่ยนการเขียนการอ่านไปอย่างไรบ้าง?. ค้นวันที่ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://thematter.co/rave/online-change-reading-and-writing/54035

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01