การวิเคราะห์ตระกูลรายการท่องเที่ยวทางโทรทัศน์

ผู้แต่ง

  • สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ตระกูล, รายการท่องเที่ยวทางโทรทัศน์, อุดมการณ์, ขนบ, สูตร ความแปลกใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะ “ขนบ/สูตร” และ “ความแปลกใหม่/นวัตกรรม” และการผลิตซ้ำและต่อสู้ทางอุดมการณ์ ที่ปรากฏอยู่ในตระกูลรายการท่องเที่ยวทางโทรทัศน์ของไทย โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับตระกูลรายการโทรทัศน์เป็นพื้นฐาน และศึกษากลุ่มตัวอย่างตัวบทของรายการท่องเที่ยวที่ออกอากาศในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2560 จำนวนรวมทั้งสิ้น 7 รายการ

            ผลการศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างของรายการท่องเที่ยวในมิติทั้ง 7 ด้าน อันได้แก่ (1) โครงเรื่อง/แก่นเรื่อง (2) พิธีกร/ผู้ไปเยือน (3) คนในพื้นที่/เจ้าของบ้าน (4) เวลาในการเดินทาง (5) พื้นที่/สถานที่ในการเดินทาง (6) กิจกรรมที่ทำในระหว่างท่องเที่ยว และ (7) รสนิยมในการท่องเที่ยว ตระกูลรายการท่องเที่ยวทางโทรทัศน์ได้ตอกย้ำ “ขนบ/สูตร” และ “ความแปลกใหม่/นวัตกรรม” ที่ว่า การท่องเที่ยวก็คือการที่คนๆ หนึ่งออกเดินทางจาก “บ้าน” ด้วยเป้าหมายบางอย่าง และเขา/เธอก็เดินทางถึงจุดหมายปลายทาง เพื่อไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ และเพื่อทำกิจกรรมที่ “เกินไปกว่า” ชีวิตประจำวัน หลังจากนั้น เขา/เธอก็สิ้นสุดการเดินทางและกลับคืนสู่ “บ้าน” ที่เดินทางจากมา

            ภายใต้ “สูตร” ดังกล่าว ตระกูลรายการท่องเที่ยวได้ผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดอุดมการณ์แห่งคนชั้นกลางไทย ที่ใช้การท่องเที่ยวทั้งเพื่อธำรงรักษาอัตลักษณ์อันโดดเด่น และเพื่อสะท้อนย้อนคิดในการทำความเข้าใจตัวตนทางสังคมของตนเอง

Author Biography

สมสุข หินวิมาน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ช่องทางการติดต่อ :  2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโสฝ่ายวิชาการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). เรื่องการสื่อสาร-การท่องเที่ยว, กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโสฝ่ายวิชาการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ญาดา แสงเพ็ชร์. (2556). การวิเคราะห์เนื้อหาด้านการพัฒนาของรายการหนังพาไป. วิทยานิพนธ์
ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภัสสรณ์ นาคแก้ว. (2556). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทย: กรณีศึกษารายการเทยเที่ยวไทย.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชดาภรณ์ มอญขาม. (2544). วิธีการนำเสนอเชิงละครในรายการสารคดีท่องเที่ยวทางโทรทัศน์.
วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวนารถ หงษ์ประยูร. (2550). ตระกูลรายการข่าวโทรทัศน์ในประเทศไทย พ.ศ. 254. วิทยานิพนธ์ปริญญา
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสุข หินวิมาน. (2558). อ่านทีวี: การเมืองวัฒนธรรมในจอโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: พารากราฟ.
เอื้องอริน สายจันทร์. (2553). บทบาทของรายการอาหารทางโทรทัศน์ในการสืบทอดวัฒนธรรมอาหาร.
วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Barker, J. and Wall, P. (2006). AS2 Media Studies: The Essential Revision Guide for AQA,
Abingdon: Routledge.
Berger, A. (1992). Popular Culture Genres: Theories and Text, London: Sage.
Creeber, G. (2001). The Television Genre Book. London: BFI Publishing.
MacCannell, D. (1976). The Tourist. London: Macmillan.
Robinson, P. (2012). Tourism: The Key Concepts. London: Routledge.
Urry, J. (1990). The Tourist Gaze. London: Sage.
Wearing, S. et al. (2010). Tourist Culture: Identity, Place and the Traveller. Los Angeles: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01