การใช้สื่อของผู้อพยพย้ายถิ่นกับแนวคิดสนามสังคมข้ามพรมแดน

ผู้แต่ง

  • มาโนช ชุ่มเมืองปัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขานิเทศศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สนามสังคมข้ามพรมแดน, การย้ายถิ่น, สื่อข้ามพรมแดน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้นำเสนอการใช้แนวคิดสนามสังคมข้ามพรมแดน (Transnationalism) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้อพยพย้ายถิ่นกับการสื่อสาร ในส่วนแรกเป็นการทบทวนแนวคิดสนามสังคมข้ามพรมแดนซึ่งมีบทบาทในแวดวงการอพยพย้ายถิ่นศึกษา (migration studies) นับแต่ทศวรรษ 1990 โดยข้อเสนอสำคัญของแนวคิดนี้คือ ผู้อพยพส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินชีวิตอยู่เพียงแค่ในดินแดนที่ตนเองอาศัยอยู่ในปัจจุบัน แต่พวกเขายืนอยู่ในโลกทั้ง 2 ใบ (a foot in both worlds) เนื่องจากพวกเขาคงความใกล้ชิดและสายสัมพันธ์กับประเทศบ้านเกิดและผู้คนที่พวกเขาจากมา แนวคิดสนามสังคมข้ามพรมแดนนี้มีความเกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างแยกไม่ขาด โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารและความหลากหลายของรูปแบบการสื่อสารเอื้อให้ผู้อพยพสามารถติดต่อข้ามพรมแดนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในส่วนที่สองของบทความ นำเสนอตัวอย่างงานวิชาการที่ศึกษาการใช้สื่อของกลุ่มผู้อพยพในหลายประเทศซึ่งมีบริบทที่ต่างกัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความน่าสนใจในการนำแนวคิดสนามสังคมข้ามพรมแดนมาเป็นกรอบในการศึกษาปรากฏการณ์เกี่ยวกับผู้อพยพในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ และช่วยทำความเข้าใจสังคมที่ผู้คนจำนวนมากไม่ได้ผูกตัวเองอยู่กับพื้นที่ทางกายภาพหรือรัฐชาติแห่งเดียวอีกต่อไป

Author Biography

มาโนช ชุ่มเมืองปัก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขานิเทศศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ช่องทางการติดต่อ : 110/1-4 ถนนประชาชื่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 หรือ 0 2954 7300 ต่อ 579

References

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ (2558). ชาวต่างชาติในเมืองไทยเป็นใครบ้าง?. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. เข้าถึงจาก http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/ConferenceXI/article2558_detail.php?article_id=28
ภัทรา วรลักษณ์ และมณีมัย ทองอยู่ (2560). ความสัมพันธ์ข้ามชาติของแรงงานลาวในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Mekong Societies, 13(1), 149-170. เข้าถึงจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/mekongjournal/article/view/84930
วิจัย สกว. ชี้ “คนไทยย้ายถิ่น” ส่งเงินกลับไทยแสนล้าน (22 ธันวาคม 2560).สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. เข้าถึงจาก https://www.trf.or.th/international-relations-news/11741-situation-of-migration-and-protection-of-thai-people-aboard
สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง (2561). รูปแบบการสื่อสารและการรับรู้อัตลักษณ์ของคนมอญข้ามถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 26(52), 71-95. เข้าถึงจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/view/146057
อุษามาศ เสียมภักดี (2562). การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ พัฒนาการและแนวคิด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Benarrosh-Orsoni, N. (2016). Phones, small talk and disputes: Transnational communications and community cohesion among Roma migrants in the outskirts of Paris. Revue Européenne Des Migrations Internationales, 32(1), 147–163. doi: 10.4000/remi.7698
Chummuangpak M. (2015). Media practices, displacement and transnationalism: media of and by Karen refugees from Burma (Unpublished doctoral dissertation). La Trobe University, Bundoora, Victoria
Faist, T., Fauser, M., & Reisenauer, E. (2013). Transnational migration. Oxford, England: Wiley.
Georgiou, M. (2006). Diaspora, identity and the media: Diasporic transnationalism and mediated spatialities. Cresskill, N.J: Hampton Press.
Glick Schiller, N., Basch, L.G., & Blanc-Szanton, C. (Eds.). (1992). Towards a transnational perspective on migration: Race, class, ethnicity, and nationalism reconsidered. New York, N.Y. :New York Academy of Sciences.
International Organization for Migration. (2018). World Migration Report 2018. Retrieved from https://www.iom.int/wmr/world-migration-report-2018.
Johnson, M. A. (2010). Incorporating self-categorization concepts into ethnic media research. Communication Theory, 20(1), 106-118. doi: 10.1111/j.1468-2885.2009.01356.x
Park, R. E. (1922). The immigrant press and its control. New York: Harper & Brothers.
Sahel Farshbaf Shaker (2018). A Study of Transnational Communication Among Iranian Migrant Women in Australia, Journal of Immigrant & Refugee Studies, 16(3), 293-312, DOI: 10.1080/15562948.2017.1283078
Shumow, M. (2010). “A Foot in Both Worlds”: Transnationalism and media use among Venezuelan Immigrants in South Florida. International Journal of Communication, 4, 377-339. Retrieved from http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db= edb&AN=51893344&site=eds-live
Vertovec, S., & Cohen, R. (1999). Migration, diasporas and transnationalism. Cheltenham, England: Elgar.
Viswanath, K., & Arora, P. (2000). Ethnic media in the United States: An essay on their role in integration, assimilation, and social control. Mass Communication and Society, 3(1), 39-56. doi: 10.1207/S15327825MCS0301_03

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-11