การใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร รูปแบบ และลักษณะการรายงานข่าวสาร เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 จากสำนักข่าวซินหัวของเว็บไซต์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิวนารถ หงษ์ประยูร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พันธกานต์ ทานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร, ไวรัสโควิด-19, สำนักข่าวซินหัว, เว็บไซต์

บทคัดย่อ

ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงต้นของปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ประชาชนมีความสนใจและตื่นตัวติดตามสถานการณ์ “โควิด-19” อย่างใกล้ชิด ความต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากสำนักข่าวต่างประเทศ จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มข้อมูลในการรายงานข่าวสาร ซึ่งช่วยทั้งการสร้างความน่าเชื่อถือ และได้ข่าวสารที่เป็นต้นฉบับจากแหล่งข่าวเพื่อการนำเสนอข่าว สำนักข่าวซินหัวซึ่งเป็นองค์กรสื่อสารมวลชนของประเทศจีน
ซึ่งถือเป็นสำนักข่าวสำคัญของโลก ได้นำเสนอข่าวเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงแรกที่มีการระบาดในประเทศจีน มาจนถึงปัจจุบัน งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร
จากสำนักข่าวซินหัวในการนำเสนอข่าวสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของเว็บไซต์ในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษารูปแบบการรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของเว็บไซต์ในประเทศไทย และ 3. เพื่อศึกษาลักษณะการรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของเว็บไซต์ในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้อาศัยแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเว็บไซต์ แนวคิดการเขียนข่าวออนไลน์ และแนวคิดการกำหนดวาระข่าวสาร มาเป็นกรอบในการศึกษา และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นเครื่องมือในการศึกษาเว็บไซต์ 10 แห่งในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1-29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลการวิจัย พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1-29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เว็บไซต์ 10 แห่ง ในประเทศไทย
ได้มีการนำข้อมูลข่าวสารจากสำนักข่าวซินหัวมาใช้รวม 170 ชิ้น โดยมีการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน 3 รูปแบบ คือ 1) การนำเสนอข่าวสารโดยไม่ต่อยอด
2) การนำเสนอข่าวสารโดยดัดแปลงข้อมูล และ 3) การนำเสนอข่าวสารโดยมีการต่อยอดประเด็น และส่วนลักษณะการรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของเว็บไซต์ในประเทศไทยพบว่า มี 4 ลักษณะ คือ ลักษณะรายงานข่าว อัปเดตสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรง ใช้ภาษาข่าวแบบตรงไปตรงมา กระชับ ไม่เน้นการอธิบายขยายความหรือมุ่งสร้างอารมณ์ ลักษณะที่ 2 ลักษณะให้ความรู้
ที่มุ่งอธิบายรายละเอียด อ้างอิงที่มาที่ไป และการนำไปใช้ ลักษณะที่ 3 สะท้อนอารมณ์ เร้าอารมณ์
ผู้รับสาร เช่น อารมณ์สะเทือนใจ เศร้า หดหู่ หรือซาบซึ้ง ไปกับความสูญเสียต่าง ๆ แต่เกือบทุกข่าวก็เจือไปด้วยการเพิ่มพลังใจให้แก่กัน และลักษณะที่ 4 แสดงความคิดเห็นของผู้เขียนประกอบด้วย ซึ่งจำนวน รูปแบบ และลักษณะการนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดวาระข่าวสารของสื่อมวลชนแต่ละแห่ง

Author Biographies

กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ศิวนารถ หงษ์ประยูร, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พันธกานต์ ทานนท์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). รู้จักสื่อใหม่ (New Media).(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.tcijthai.com/news/2015/03/watch/5421 (สืบค้น 27 มีนาคม 2563)

กิติมา สุรสนธิ. (2548). ความรู้ทางการสื่อสาร, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

กฤติยา รุจิโชค. (2553). กระบวนการทำข่าวของนักข่าวสำนักข่าวต่างประเทศในประเทศไทยต่อกรณีวิกฤตการณ์การเมืองไทยพ.ศ.2552-2553. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ขจรยุทธ ต่อทรัพย์สิน. (2554). อิทธิพลของสื่อสารมวลชนที่มีผลกระทบต่อกระบวนงานนิติวิทยาศาสตร์

ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิระ ห้องสำเริง. (2551). แนวคิดการเขียนข่าวออนไลน์, (เอกสารประกอบสอนรายวิชาวิชา JR 202

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ.(2563) สัมภาษณ์. 2 พฤษภาคม

นนท์ธวัช ไชยวัง. (2560). รูปแบบการพาดหัวข่าวในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทย.

วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บีบีซีไทย. (2563).โคโรนา : มารู้จักไวรัสที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบระบาดในจีน.(ออนไลน์)

เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461. (สืบค้น 27 มีนาคม 2563)

บีบีซีไทย. (2563). โคโรนา : อนามัยโลกตั้งชื่อ “โควิด-19” ให้โรคทางเดินหายใจจากไวรัส

สายพันธุ์ใหม่ .(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/features-51473472.

(สืบค้น 27 มีนาคม 2563)

รพีภัทร มานะสุนทร . (2558). การพัฒนาเว็บไซต์และการสร้างสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์

ธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. สถาบันวิจัยและพัฒนา.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

สกุลศรี ศรีสารคาม, สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และบุณยศิษย์ บุญโพธิ์ .(2559).

การส่งเสริมแนวทางการใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในกระบวนการรายงานข่าวในยุดเทคโนโลยี

หลอมรวม. โครงการวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

สำนักข่าวซินหัวไทย. (2563). ประวัติองค์กรสำนักข่าวซินหัว.(ออนไลน์)

เข้าถึงได้จาก https://www.xinhuathai.com. (สืบค้น 27 มีนาคม 2563)

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี และพงศ์ภัทร อนุมัติราชกิจ. (2554). ผลกระทบของสื่อต่อวิกฤตชาติ, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 31(4) ,หน้า 69-84.

Bibliography

BBC Thai. (2020). Corona: Get to know the virus that causes pneumonia in China. Retrieved 27 March 2020, from https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461. (In Thai).

BBC Thai. (2020). Corona: World Health named "Covid-19" for respiratory diseases from viruses.

New species. Retrieved27March2020, from https://www.bbc.com/thai/features-51473472 .

(In Thai).

Chaiwat Wanichwattana. Interview, 2 May 2020. (In Thai).

Jira Choomrueng. (2008). Online news writing concept, (JR 202 course documentation

Faculty of Information Technology) Bangkok: Ramkhamhaeng University. (In Thai).

Kanchana Kaewthep. (2012). Know new media. Retrieved March 27, 2020 from

http://www.tcijthai.com/news/2015/03/watch/5421. (In Thai).

Kitima Surasonthi. (2005). Communication Knowledge, Bangkok: Thammasat University, Faculty of Journalism and Mass Communication. (In Thai).

Krittiya Ruchichok. (2010). News Reporting Process of Foreign News Agency in Thailand Towards the Thai Political Crisis B.E. 2009-2010. Doctor of Philosophy Thesis in Mass Communication.Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University. (In Thai).

Khajornyuth Torsupcin (2011). The influence of mass media affecting the forensic science process in Thailand. Master of Science thesis Faculty of Forensic Science, Faculty of Graduate Studies, Silpakorn University. (In Thai).

Nontawatchai Wang. (2017). Headline Styles in Thai Newspaper Website. Degree thesis

Master of Arts Faculty of Communication Arts Dhurakij Pundit University. (In Thai).

Oliver Boyd-Barrett. (2015). Media Imperialism Oliver Boyd-Barrett. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications.

Onanong Sawat Buri and Phongphat approved Rajakit. (2011). The impact of media on the national crisis, Journal of the University of the Thai Chamber of Commerce, 31 (4), Page 69-84. (In Thai).

Rapee Phattharamanasornthorn. (2015). Website development, and online community building to promote community business. In Phutthamonthon district Nakhon Pathom province Bangkok: Rajamangala University of Technology Rattanakosin Research and Development Institute. (In Thai).

Sakulsri Srisaracam, Sudarat Diswattana Chantarawattakun and Bunyasit Bunpho. (2016).

Promoting ways to use information from online media in news reporting processes in the technology convergence Era. Faculty of Communication Arts, Panyapiwat Institute of Management. (In Thai).

Xinhua Thai News Agency. (2020). Organization history, Xinhua News Agency. Retrieved 27 March 2020, from https://www.xinhuathai.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30