อัตลักษณ์ไทเลยในการสื่อสารการท่องเที่ยวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • เบ็ญจมาภรณ์ สุธิราวุธ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อนุชา ทีรคานนท์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ไทเลย, การสื่อสารการท่องเที่ยว, เขตพื้นที่พิเศษจังหวัดเลย

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการสร้างความหมาย องค์ประกอบ รูปแบบ
การสื่อสารอัตลักษณ์ไทเลยขององค์กรการท่องเที่ยวจังหวัดเลยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น และ 2. เพื่อศึกษาการนำอัตลักษณ์ไทเลยมากำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการท่องเที่ยวจังหวัดเลย โดยใช้แนวคิดของหลุยส์ อัลธูแซร์ (Louis Althusser) เรื่องอุดมการณ์ (Ideology) กับแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (Identity) และแนวคิดของเนลสัน เอช เอช กราเบริร์น (Nelson H.H. Graburn) เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) Research) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกเก็บข้อมูลในเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดเลย จำนวน 8 อำเภอได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอเชียงคาน อำเภอท่าลี่ อำเภอด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว อำเภอ
ภูเรือ อำเภอภูกระดึง และอำเภอหนองหิน และการวิจัยเอกสาร (Documentary

ผลการวิจัยพบว่า

  1. คำว่า “ไทเลย” เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นโดยสถาบันทางสังคม คือ ชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐโดยการนำทุนทางประวัติศาสตร์ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและทุนประเพณีมาประกอบสร้าง
    อัตลักษณ์ไทเลย ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติทางสังคมสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น   อัตลักษณ์ไทเลย
    มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ วิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรม และประเพณี

รูปแบบการสื่อสารอัตลักษณ์การท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น พบว่ามีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เน้นการสื่อสารการตลาดเชิงรุก การสร้างการรับรู้และกระตุ้น ความสนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัด ช่องทางการสื่อสารที่ใช้ได้แก่
สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) โดยการใช้ภาพถ่ายและข้อความในการให้ข้อมูลทางการท่องเที่ยวของชุมชนรวมไปถึงกิจกรรมและประเพณีสำคัญตามปฏิทินท่องเที่ยวของจังหวัด

  1. การใช้อัตลักษณ์มากำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการท่องเที่ยวจังหวัดเลยของหน่วยงานต่างๆ
    มีความสอดคล้องกัน สำหรับการจัดการการท่องเที่ยวระดับชุมชน ชุมชนท้องถิ่นเลือกที่จะสื่อสาร
    อัตลักษณ์ของชุมชนแบบดั้งเดิม เช่น รูปแบบวิถีชีวิตไปยังนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่   ในทางตรงกันข้ามหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เลือกที่จะสื่อสารอัตลักษณ์บางอย่างของชุมชนในงานกิจกรรมการท่องเที่ยวและประเพณีระดับจังหวัด แต่อัตลักษณ์นั้นจะมีการปรับเปลี่ยนและผสมผสาน
    เพื่อสร้างจุดขายทางการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย

Author Biographies

เบ็ญจมาภรณ์ สุธิราวุธ , คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อนุชา ทีรคานนท์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพและสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับ

สื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติการท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2559 (จำแนกตามภูมิภาค

และจังหวัด). เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/old/more_news.php?cid= 438&filename =index (สืบค้นข้อมูล 23 มีนาคม 2561).

เกียรติพงษ์ คชวงษ์. (2561). สัมภาษณ์. 7 มีนาคม.

ทองหล่อ เสวตวงษ์. (2561). สัมภาษณ์. 9 มีนาคม.

บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2558). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรม. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มยุเรศ วัลพุฒิ . (2561). สัมภาษณ์. 7 มีนาคม.

สาคร พรหมโคตร. (2561). สัมภาษณ์, 7 มีนาคม.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). ประกาศคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว ประจำเขตพัฒนาการ

ท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง เรื่องแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการ

ท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก http://www.mots.go.th/ ewt_ dl_ link.php?nid=8379 (สืบค้นข้อมูล 23 มีนาคม 2561).

สำนักงานจังหวัดเลย. (2561). วาระการขับเคลื่อนจังหวัดเลย (THAILOEI 4.0). เข้าถึงได้http://www.loei .go.th/LW/attachments/article/127/THAILOEI%204.0.pdf (สืบค้นข้อมูล 3 มีนาคม 2561).

สันติภาพ เชื้อบุญมี. (2561). สัมภาษณ์. 12 เมษายน.

ถาวร เชื้อบุญมี. (2561). สัมภาษณ์. 12 เมษายน.

Bibliography

Boonyasarit Anakesuk (2015). Watch See Visit Stay: Concepts and Theories on Cultural

Tourism. Phitsanulok: Naresuan Printing House. (In Thai).

Kanchna Kaewthep (2004). Science of Media and Cultural Studied. Bangkok: Chulalongkorn

Printing House. (In Thai).

Kanchna Kaewthep and Somsuk Hinvimarn (2000). The Streams ofTthinkers in Political

Economic and Communication. Bangkok: Chulalongkorn Printing House. (In Thai).

Kiattipong Kotchawongse. (2018). Interview. 8 March.

Ministry of Tourism and Sports. Domestic tourism statistics 2016 (Classified by region

and province). (Online). Retrieved March 23 , 2018 from https://www.mots.go.th /old/ more_news.php?cid=438&filename=index

Mayurad Wanlapud. (2018). Interview. 7 March.

Provincial Office. Povincial Movement Agenda Loei (THAILOEI 4,0). (Online). Retrieved March 3 , 2018 from http://www.loei.go.th/LW/attachments/article/127/THAILOEI%204.0.pdf

Santipab Chuaboonmee. (2018). Interview. 12 April.

Sakorn Promkote. (2018). Interview. 7 March.

Secretariat of the Cabinet. Announcement of the Tourism Development Board of the Mekong

Tourism Development Zone Subject on Tourism Development Action Plan within the

Mekong River Tourism Development Zone in 2017-2021. (Online). Retrieved March

, 2018 from http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8379

Thonglor Sawatawongse (2018). Interview. 9 March.

Thavorn Chuaboonmee. (2018). Interview. 12 April.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30