การสื่อสารเพื่อการประสานและต่อรองของกลุ่มผลประโยชน์ในแวดวงกับการดำรงอยู่ของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี

ผู้แต่ง

  • ธีร์ คันโททอง นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

คำสำคัญ:

ยุทธวิธี, การต่อรอง, กลุ่มผลประโยชน์, การดำรงอยู่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กับกลุ่มแวดวงย่อยภายใน 6 กลุ่มจำนวนรวม 18 คน และกลุ่มแวดวงย่อยภายนอก 4 กลุ่มจำนวนรวม 14 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผลประโยชน์ในแวดวงของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี นั้นสามารถแบ่งมาได้เป็น 2 ระดับ คือ แวดวงย่อยภายใน ซึ่งประกอบไปด้วยจำนวน 6 กลุ่มด้วยกัน และแวดวงย่อยระดับภายนอก นั้นก็จะประกอบไปด้วยจำนวน 4 กลุ่มด้วยกัน  โดยผู้วิจัยยังพบว่า ผลของการแข่งขันนั้นจะเป็นเป้าหมายรวมของทุกกลุ่มผลประโยชน์ เมื่อสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี สามารถสร้างผลการแข่งที่ดีได้อย่างต่อเนื่องนั้นก็จะทำให้ทุกกลุ่มผลประโยชน์ก็จะยังให้การสนับสนุนสโมสรฯ ต่อไป ผู้วิจัยได้พบว่า ในยุคแรกของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี เริ่มตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรฯ ขึ้นในปีพ.ศ. 2510 จนมาถึงปีพ.ศ. 2538 เป็นช่วงก่อนที่สโมสรฯ จะต้องปรับตัวเข้าสู่ฟุตบอลลีกอาชีพนั้นเป็นระยะเวลากว่า 28 ปีด้วยกัน ซึ่งสโมสรฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง โดยสามารถกวาดแชมป์มาได้กว่า 26 ถ้วย ทำให้สโมสรฯ มีการใช้ยุทธวิธีการบรรจุเข้าทำงานกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อต่อรองกับนักฟุตบอลที่มีความสามารถให้เข้ามาร่วมทีมได้จำนวนมาก สำหรับยุคต่อมาเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 ในยุคนี้สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี สามารถคว้าแชมป์มาเพิ่มได้อีก 2 ถ้วยด้วยกัน แต่หลังจากที่สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ได้มีการประกาศบังคับใช้กฎระเบียบคลับไลเซนซิ่งหรือใบอนุญาตของสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์อย่างจริงจังนั้น จึงทำให้สโมสรฯ ต้องปรับตัวเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน ทั้งการสร้างศูนย์ฝึกอบรมนักฟุตบอลเพื่อสร้างนักเตะเยาวชน และการปรับยุทธวิธีทีมแมวมอง (Scout) เพื่อมองหานักฟุตบอลอาชีพแทนการเปิดคัดตัว และสุดท้ายยุควิกฤตของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สโมสรในไทยลีกมีการแข่งขันกันสูงมากและสโมสรฯ เองก็ประสบปัญหามากมาย ทำให้สโมสรฯ ต้องตกต่ำลงจนต้องตกชั้น และช่วงเวลานี้เองที่มาดามแป้ง(นวลพรรณ ล่ำซำ) ได้เข้ามาบริหารสโมสรฯ โดยมีการใช้ยุทธวิธีงบประมาณในการทำทีม และก็มีกลุ่มสปอนเซอร์จำนวนมากได้เข้ามาให้การสนับสนุนจึงมีการใช้ยุทธวิธีงบประมาณสนับสนุนมาเป็นเงื่อนไขของการต่อรอง แต่ปัญหาของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี ก็ยังคงมีอยู่ มาดามแป้งจึงได้ใช้ยุทธวิธีความเป็นหญิง ประกอบกับแกนนำกลุ่มแฟนบอลกว่า 44 คนก็ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสภาสิงห์ท่าเรือ เพื่อใช้เป็นยุทธวิธีในการสื่อสารเพื่อการประสานและต่อรอง ซึ่งก็เป็นผลให้ปัญหาต่าง ๆ ของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี ก็ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้นักฟุตบอลทำผลงานในสนามได้ดีขึ้น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี ก็สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ และสุดท้ายผู้วิจัยก็ยังพบอีกว่า มีอยู่ 3 สิ่งที่เป็นรากฐานของยุทธวิธีทั้งหมดซึ่งทำให้สโมสรฯ นั้นมีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ต่อไปได้นั้นก็คือ อำนาจ ผลประโยชน์ และเครือข่ายความสัมพันธ์

References

บรรณานุกรม

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมือง กับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนภาพพิมพ์.
ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์ ของปิแยร์บูร์ดิเยอ: บทแปลและบทวิเคราะห์มโนทัศน์ ทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ชื่นชนก ศิริวัฒน์. (2555). วัฒนธรรมฟุตบอลและการเมืองของท้องถิ่นนิยม: กรณีศึกษาสโมสรฟุตบอลชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐสุพงศ์ สุขโสต. (2553). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงและธำรงรักษาโครงสร้าง “ชนชั้น”: ศึกษากรณีการบริโภควัฒนธรรมฟุตบอลในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตรนภา ประกอบกิจ. (2545). พัฒนาการของวัฒนธรรมฟุตบอลต่างประเทศในสังคมไทย พ.ศ. 2509 – 2544. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิสิษฐิกุล แก้วงาม. (2554). ภาพของแฟนบอลสาวสวยกับความเป็นหญิงและความเป็นชายในสังคมไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารเพศวิถีศึกษา 1(1), 69-86.
รณพงษ์ คำนวนทิพย์. (2549). ลูกหนังพันล้าน. กรุงเทพฯ: เนชั่นมัลติมีเดีย.
วรุตม์ โอนพรัตน์วิบูล. (2553). ปัจจัยการสื่อสารกับการก่อตัวและการธำรงรักษากลุ่มแฟนคลับของสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2543). พนันบอล อำนาจ และความเป็นชาย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Goal.com. (2559). ส.บอลพลิกโฉมไทยลีกใหม่ เปลี่ยนโลโก้, ชื่อลีก, เพิ่มโควต้าอาเซียน. สืบค้น 18 ตุลาคม 2560 จาก http://www.goal.com/th/news/4280/
McQuail, D. (1994). Mass communication Theory: an introduction. (3rd ed). London, UK: Sage Publications.

Bibliography

Chanida Sa-ngiamphaisalsuk. (2007). Pierre Bourdieu's article "L’ economie des biens symboliques": a translation with an analysis of sociological concepts. Bangkok: Kobfai. (In Thai).
Chuenchanok Siriwat. (2012). Football culture and the politics of localism: a case study of Chonburi Football Club. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). (In Thai).
Goal.com. (2016). The Football Association of Thailand has changed the Thai league. Change logo, league name, increase ASEAN quota. Retrieved 18 October 2017 from http://www.goal.com/th/news/4280/. (In Thai).
Kanchana Kaewthep, Somsuk Hinviman. (2008). The Stream of Thinkers Political Economy and Communication Education. Bangkok: Graphic Arts Limited Partnership. (In Thai).
McQuail, D. (1994). Mass communication Theory: an introduction. (3rd ed). London, UK: Sage Publications.
Netnaphar Prakobkit. (2002). Development of foreign football culture in Thai society, 1966-2001 A.D. (Master’s thesis, Thammasat University). (In Thai).
Nutsupong Suksote. (2010). Communication and the change and maintenance of social classes structure: a case study of football consumption culture in Thai society. Doctor of Philosophy’s dissertation, Chulalongkorn University). (In Thai).
Phisitikul Kaewngam. (2011). Images of pretty female football fans: femininity and masculinity in Thai society. Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Sexuality Studies Journal 1(1), 69-86. (In Thai).
Ronnapong Kamnuanthip. (2006). Look Nung Pan Larn. Bangkok: Nation Multimedia. (In Thai).
Supang Chantavanich. (2004). Data analysis in qualitative research. 6th edition, Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai).
Varut Onoparatviboon. (2010). Communication factors and the formation and retaining of football fanclub in Thai Premier League. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). (In Thai).
Wasan Panyakaew. (2000). Football betting, power and masculinities (Research report). Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29