การศึกษาประเภทเนื้อหารายการแข่งขันชิงรางวัลทางโทรทัศน์ไทย

ผู้แต่ง

  • เมธา เสรีธนาวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รายการแข่งขันชิงรางวัลทางโทรทัศน์, ประเภทเนื้อหา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดของลักษณะ แบบแผน และแนวปฏิบัติของประเภทเนื้อหารายการแข่งขันชิงรางวัลทางโทรทัศน์ไทย แนวคิดที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแนวคิดการจัดประเภทเนื้อหา แนวคิดรายการแข่งขันชิงรางวัลทางโทรทัศน์ และแนวคิดการผลิตรายการโทรทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตรายการ 15 คน โดยศึกษาจากรายการแข่งขันชิงรางวัลทางโทรทัศน์ไทยจำนวน 81 รายการ 

            ผลการวิจัยพบว่า ประเภทเนื้อหารายการแข่งขันชิงรางวัลทางโทรทัศน์ไทยมุ่งเน้นความบันเทิงเป็นสำคัญ มีลักษณะ แบบแผน และแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1) รูปแบบของรายการ ได้แก่ โครงสร้างรายการประกอบด้วยขั้นตอน การแนะนำผู้เข้าแข่งขัน การชี้แจงกติกา การทำภารกิจ และการพิชิตรางวัล เนื้อหาการแข่งขันเป็นการแข่งขันทางด้านทักษะ ที่พบมากเป็นการแสดงออกเพื่อความบันเทิง มีเงื่อนไขสำคัญในการเป็นกติกาประกอบด้วย เวลา ความถูกต้อง ความสามารถ ความสำเร็จ โชคชะตา ความมีเหตุผล ความเข้ากันได้ รางวัลของรายการมีมูลค่าสูงสุดถึง 30 ล้านบาท การแข่งขันเกิดขึ้นในสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะในสตูดิโอ ออกอากาศในวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น และมีลักษณะจบในตอน 2) ตัวละครที่สำคัญที่สุดในรายการคือ ผู้เข้าแข่งขันซึ่งมักจะเป็นประชาชนคนธรรมดา มีผู้ดำเนินรายการชายและมีผู้ช่วยดำเนินรายการเป็นหญิง กรรมการมีบทบาทที่หลากหลายนอกเหนือไปจากการตัดสิน มีผู้ชมรายการเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการแข่งขัน และมักมีตราสัญลักษณ์ของผู้สนับสนุนรายการปรากฏ 3) ลักษณะเฉพาะทางด้านภาพและเสียง ภาพที่นำมาใช้ประกอบในรายการนอกเหนือไปจากภาพการแข่งขันคือ ภาพการเสนอตัวอย่างเพื่อดึงความสนใจของผู้ชม ภาพกราฟิกเป็นภาพที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับรายการโดยมีการใช้เสียงประกอบช่วยทำให้ภาพกราฟิกมีสีสันและดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น มีการใช้เสียงบรรยายเพื่อทำหน้าที่เติมเต็มการทำหน้าที่ของผู้ดำเนินรายการและสร้างสีสันความสนุกสนาน และมีการใช้เสียงดนตรีทั้งจากวงดนตรีและเสียงดนตรีประกอบ

 

Author Biography

เมธา เสรีธนาวงศ์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

บรรณานุกรม
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
Boddy, W. (2015). The quiz show. In Creeber, G. (Ed.), The Television Genre Book
(pp.192-193). 3rd ed. London: BFI Palgrave.
Casey, B. et al. (2008). Television Studies : The Key Concepts. 2nd ed. London: Routledge.
Creeber, G. (Ed.) (2015). The Television Genre Book. 3rd ed. London: BFI Palgrave.
Crisell, A. (2006). A Study of Modern Television : Thinking inside the Box.
Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Cummins, W. & Gordon, G. (2006). Programming our Lives : Television and
American Identity. Westport : Praeger.
Fiske, J. (2011). Television Culture. 2nd ed. Oxon: Routledge.
Fiske, J. & Hartley, J. (1987). Reading Television. London: Methuen.
Lacey, N. (2000). Narrative and Genre : Key Concepts in Media Studies. New York,
NY: Palgrave.
Merritt, D. (1993). Graphic Design in Television. Oxford: Focal Press.
Neale, S. (2000). Genre and Hollywood. London: Routledge.
O’Donnell, V. (2013). Television Criticism. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: SAGE.
Reed, R.M. & Reed, M.K. (1992). The Encyclopedia of Television, Cable, and Video.
New York : Van Nostrand Reinhold.
Tunstall, J. (1993). Television Producers. London: Routledge.

Bibliography
Boddy, W. (2015). The quiz show. In Creeber, G. (Ed.), The Television Genre Book
(pp.192-193). 3rd ed. London: BFI Palgrave.
Casey, B. et al. (2008). Television Studies : The Key Concepts. 2nd ed. London: Routledge.
Creeber, G. (Ed.) (2015). The Television Genre Book. 3rd ed. London: BFI Palgrave.
Crisell, A. (2006). A Study of Modern Television : Thinking inside the Box.
Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Cummins, W. & Gordon, G. (2006). Programming our Lives : Television and
American Identity. Westport : Praeger.
Fiske, J. (2011). Television Culture. 2nd ed. Oxon: Routledge.
Fiske, J. & Hartley, J. (1987). Reading Television. London: Methuen.
Kaewthep, Kanjana. (1999). Media Analysis : Concepts and Techniques. 2nd ed. Bangkok:
Edison Press Products. (In Thai).
Lacey, N. (2000). Narrative and Genre : Key Concepts in Media Studies. New York,
NY: Palgrave.
Merritt, D. (1993). Graphic Design in Television. Oxford: Focal Press.
Neale, S. (2000). Genre and Hollywood. London: Routledge.
O’Donnell, V. (2013). Television Criticism. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: SAGE.
Reed, R.M. & Reed, M.K. (1992). The Encyclopedia of Television, Cable, and Video.
New York : Van Nostrand Reinhold.
Tunstall, J. (1993). Television Producers. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30