ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการตลาดกับบุคลิกภาพตราสินค้า สโมสรชลบุรี เอฟซี

ผู้แต่ง

  • สราลี พุ่มกุมาร คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิรัตน์ สนธิ์จันทร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านการตลาด, บุคลิกภาพตราสินค้า, สโมสรชลบุรี เอฟซี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในปัจจัยด้านการตลาดของสโมสรชลบุรี เอฟซี, เพื่อศึกษาการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าของสโมสรชลบุรี เอฟซี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการตลาดกับการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าสโมสรชลบุรี เอฟซี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแฟนบอลของสโมสรชลบุรี เอฟซี จำนวน 400 คน

               ผลการวิจัย พบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในปัจจัยด้านการตลาดของสโมสรชลบุรี เอฟซี อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสถานที่ (Place) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ปัจจัยด้านราคา (Price) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 และปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาด (Promotion) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46
  2. กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าสโมสรชลบุรี เอฟซี อยู่ในกลุ่มบุคลิกภาพน่าตื่นเต้น (Excitement) มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 รองลงมา คือ บุคลิกภาพผู้มีความสามารถ (Competence) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88, บุคลิกภาพห้าวหาญ (Ruggedness) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85, บุคลิกภาพจริงใจ (Sincerity) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และบุคลิกภาพโก้หรู มีระดับหรือซับซ้อน (Sophistication) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61

            3. ปัจจัยด้านการตลาดของสโมสรชลบุรี เอฟซี ทั้ง 4 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี แบบจริงใจ และแบบผู้มีความสามารถมากที่สุด ที่ระดับ 0.65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับการรับรู้บุคลิกภาพแบบผู้มีความสามารถมากที่สุด

Author Biographies

สราลี พุ่มกุมาร, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสื่อสารมวลชนทางกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

วิรัตน์ สนธิ์จันทร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา  มหาวิทยาลัยบูรพา  

References

บรรณานุกรม
ก่อพงษ์ พลโยราช. (2551). บุคลิกภาพตราองค์กรในประเทศไทย. คณะวิทยาการจัดการ,
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ก่อพงษ์ พลโยราช และวรุณ ตันตระบัณฑิต. (2551). บุคลิกภาพตราสินค้าของธนาคาร : กรณีศึกษา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.
ธนะ วงษ์มณี. (2555). ชลบุรีเผยโฉมโลโก้ใหม่ ฉลามแนวโหด. วันที่ค้นข้อมูล 16 พฤษภาคม 2560, เข้าถึง
ได้จาก http://www.goal.com/th/news/4280/
ธนะ วงษ์มณี. (2559). จัดใหญ่!ชลบุรีเปิดตัวทีม 23 ม.ค.คอนเซ็ปต์ REBOOT ล่าความสำเร็จ. วันที่ค้น
ข้อมูล 16 พฤษภาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.goal.com/th/news/4280/
เนตรชนก พึ่งเกษม และคณะ. (2545). การกำหนดบุคลิกภาพกับการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
ของห้างสรรพสินค้า และการรับรู้ของผู้บริโภค. วารสารนิเทศศาสตร์. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2-3
ปิติศักดิ์ โชติพิบูลย์ทรัพย์. (2559). ชลบุรีเปิดตัว 3 แข้งใหม่ แย้ม โชโร ไปเจลีก. วันที่ค้นข้อมูล 16
พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.goal.com/th/news/4280/
มิรา โกมลวณิช. (2556). การสื่อสารบุคลิกภาพตราสินค้าผ่านบรรจุภัณฑ์น้ำหอม. วิทยานิพนธ์
ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand Management. กรุงเทพฯ: Higher Press.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และปณิศา มีจินดา. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.
เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม
และไซเท็กซ์ จำกัด.
อลงกต เดือนคล้อย. (2561). ศักดิ์ศรีฉลามชล! ชลบุรีทุ่ม 100 ล้านดันเด็กล่าแชมป์บอลถ้วย. วันที่
ค้นข้อมูล 16 พฤษภาคม 2561, แหล่งที่มา https://www.goal.com/th/
Aaker, D. A. (1996). Building strong brands. New York: Free Press.
Aaker, J. L. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of Marketing Research,
34(3), pp.347-356.
Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action (6th ed.) (6 ed.).
Cincinnati, Ohio: South-Western College Publishing.
Assael, H. (2004). Consumer behavior: a strategic approach. Boston: Houghton Mifflin.
Duncan, Tom. (2005). Principle of Advertising & IMC. 2d ed. Boston : McGraw-Hall companies,
Inc.
Fill, C. (1995). Marketing communication : frameworks, theories and applications.
Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2008). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall
LaChance, C. C., Lubitz, A., & Chestnut, R. W. (1977). The “Decorative” Female Model:
Sexual Stimuli and the Recognition of Advertisements. Journal of Advertising,
6(4), pp.11-14.
Plummer, J. T. (1984). How Personality Makes a Difference. Journal of Advertising
Research, 24(6), pp.27-31.
Purdy, J. E., Markham, M. R., Schwartz, B. L., & Gordon, W. C. (2001). Learning and
memory (2 ed.). NY: Wadsworth.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior (7 ed.). Upper Saddle River,
NJ: Prentice-Hall International.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior (7 ed.). Upper Saddle River,
NJ: Prentice Hall.
Solomon, M. R. (2013). Consumer behavior: Buying, having and being (10 ed.). Upper
Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Triplett, T. (1994). Brand personality must be managed or it will assume a life of its
own. Marketing News, 28(10), pp.9-9.

Bibliography
Aaker, D. A. (1996). Building strong brands. New York: Free Press.
Aaker, J. L. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of Marketing Research,
34(3), pp. 347-356.
Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action (6th ed.) (6 ed.).
Cincinnati, Ohio: South-Western College Publishing.
Assael, H. (2004). Consumer behavior: a strategic approach. Boston: Houghton Mifflin.
Chotipiboonsap, P. (2016). Chonburi released three new players, and implied Choro moving to J League. Retrieved May 16, 2018, from http://www.goal.com/th/news/4280/. (In Thai)
Duenkloy, A. (2018). Honor of Chonburi Shark! Chonburi dumped one million to children for hunting a championship. Retrieved May 16, 2018, from http://goal.com/th. (In Thai)
Duncan, Tom. (2005). Principle of Advertising & IMC. 2d ed. Boston : McGraw-Hall companies, Inc.
Fill, C. (1995). Marketing communication : frameworks, theories and applications.
Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Komolwanich, M. (2013). Brand personality communication through perfume packaging. Master’s Thesis, M.A. (Communication Arts). Chulalongkorn University. (In Thai)
Kotler, P. & Keller, K. L. (2008). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall
LaChance, C. C., Lubitz, A., & Chestnut, R. W. (1977). The “Decorative” Female Model:
Sexual Stimuli and the Recognition of Advertisements. Journal of Advertising,
6(4), pp.11-14.
Mongkolsiri, S. (2004). Brand Management. Bangkok: Higher Press. (In Thai)
Phungkhasem, et al.(2002). The Building of Personality and Integrated Marketing Communication of The Department Stores and the Customers’ perception. Journal of Communication Arts. 20(2-3), April - September. (In Thai)
Plummer, J. T. (1984). How Personality Makes a Difference. Journal of Advertising
Research, 24(6), pp.27-31.
Polyorat, K. (2008). Corporate Brand Personality in Thailand. Faculty of Management Science Khon Khaen University. (In Thai)
Polyorat,K. and Tantrabundhit, W. (2008). Brand Personality of Banks :the Case Study of the Northeast of Thailand. E-Saan Center for Business and Econimic Research, Faculty of Management Science, Khon Khan University. (In Thai)
Purdy, J. E., Markham, M. R., Schwartz, B. L., & Gordon, W. C. (2001). Learning and
memory (2 ed.). NY: Wadsworth.
Sarirat, S. and Meejinda, P. (2011). Customer Behavior. Bangkok : Dhammasarn. (In Thai)
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior (7 ed.). Upper Saddle River,
NJ: Prentice-Hall International.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior (7 ed.). Upper Saddle River,
NJ: Prentice Hall.
Solomon, M. R. (2013). Consumer behavior: Buying, having and being (10 ed.). Upper
Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Smithikrai, C. (2011). Consumer Behavior. Bangkok: V. Print. (In Thai)
Triplett, T. (1994). Brand personality must be managed or it will assume a life of its
own. Marketing News, 28(10), pp.9-9.
Wongmonta. S. (1997). Advertising and Sales Promotion. Bangkok : Theera Film&Scitex Co., Ltd. (In Thai)
Wongmanee, T. (2012). New Logo for Chonburi FC Shark Crest. Retrieved May 16, 2018 From: http://www.goal.com/th/news/4280/. (In Thai)
Wongmanee, T. (2016). Big Open for Chonburi FC Team on January 23 under the slogan of “REBOOT” for victory. Retrieved May 16, 2018 From: http://www.goal.com/th/news/ 4280/. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30