มองภาพยนตร์ในมิติความมั่นคงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฐณยศ โล่พัฒนานนท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บรรจง โกศัลวัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ปัทมวดี จารุวร อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
  • สุชาติ โอทัยวิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, ความมั่นคงใหม่, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งส่งเสริมการพิจารณาภาพยนตร์ไทยในมิติความมั่นคงใหม่ควบคู่กับการให้ความสำคัญในด้านผลประกอบการและศิลปวัฒนธรรม เนื้อหาบทความมาจากทฤษฎีเกี่ยวกับความมั่นคงร่วมกับคำอธิบายกรณีตัวอย่างในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ ก่อนจะเชื่อมโยงสู่กรณีของไทย

ความมั่นคงใหม่หมายถึงความปลอดภัยในการดำรงอยู่ของสังคม ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สุขภาพ ฯลฯ ด้วยเหตุว่าประเด็นเหล่านี้คือรากฐานของการรักษาสังคมให้ปลอดจากความพยายามบั่นทอนจากภายนอกหรือกระทั่งความเสื่อมโทรมจากภายใน วงการภาพยนตร์ระดับชั้นนำตอบสนองต่อการสร้างความมั่นคงใหม่ตลอดเวลา สหรัฐฯ อาศัยสื่อภาพยนตร์ในการสืบทอดชาตินิยมอเมริกันพร้อมกับใช้ภาพยนตร์สร้างความแข็งแกร่งตามวาระของประเทศ ขณะที่เกาหลีใต้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวด้วยงานสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ผู้ผลิตเกาหลีใต้เน้นแนวคิดในกรอบของความทันสมัยบวกกับการสร้างประชากรในอุดมคติเพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังอิงระเบียบวิธีทางกฎหมายโดยกำหนดสัดส่วนการฉายที่ช่วยให้งานประจำชาติได้มีโอกาสดำรงจิตสำนึกของผู้ชม

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงใหม่อันเนื่องมาจากกระแสความเปลี่ยนแปลงจากวิกฤตอย่างเช่น โควิด-19 โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เมื่อพิจารณาประโยชน์ของสื่อภาพยนตร์ในด้านดังกล่าว จำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องคำนึงถึงงานสร้างภาพยนตร์ที่สามารถรองรับทั้งศิลปะบันเทิงและหน้าที่ในทางความมั่นคงไปพร้อมกัน  

Author Biographies

ฐณยศ โล่พัฒนานนท์, สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักวิจัยประจำศูนย์พหุวัฒนธรรมและ นวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บรรจง โกศัลวัฒน์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 

ปัทมวดี จารุวร, อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล

อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล

 

สุชาติ โอทัยวิเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 

References

กองบรรณาธิการ. (2563, 7 เมษายน). ผลกระทบ โควิด-19 โลกใบเดิมที่ไม่เหมือนเดิม.
กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/874745
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ประกาศราชกิจจานุเบกษาเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-
2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชกิจจานุเบกษา
จงเดือน สุทธิรัตน์. (2552). อิทธิพลสื่อภาพยนตร์ออลลีวูด: ความสัมพันธ์กับกิจการโลก. กรุงเทพฯ :
สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
จิตเกษม พรประพันธ์, วัชรินทร์ ชินวรวัฒนา, พรชนก เทพขาม และ ชุติกา เกียรติเรืองไกร. (2562). ส่องกระจกมองอุตสาหกรรมไทยใน 1 ทศวรรษ. สืบค้นจาก
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_06Dec2019.pdf
ชนากานต์ ปานอ่ำ. (2563, 5 เมษายน). โลกก่อนยุคโควิดจะไม่หวนกลับมา ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข แด่ โลกใหม่ที่เชื้อโรคร้ายสิ้นสุด, มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/interview/news_2124487
ชาญชัย อุ้มปัญญา. (2557). American Exceptionalism กับนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา. รัฐสภา
สาร, 62(1), 65-89.
ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์. (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์). บทสำรวจภาพยนตร์ไทยปี พ.ศ. 2562. วารสารวิจัยวัฒนธรรม.
ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์. (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์). สื่อบันเทิงกับความมั่นคงใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา : มองผ่านบทบาทภาพยนตร์ฮอลลีวูด. วารสารความมั่นคงศึกษา.
ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, วรลักษณ์ กล้าสุคนธ์ และ ศักดิ์สิทธิ์ ทวีกุล. (2562). ความสอดคล้องของโครง
สร้างอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์ไทยกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(1), 43-79.
ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, ศักดิ์สิทธิ์ ทวีกุล และ นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์. (2559). โอกาสและข้อจำกัดในการ เผยแพร่ผลงาน: ภาพยนตร์ไทยกับภาพยนตร์เกาหลี. วารสารการสื่อสารมวลชน, 4(2), 105-126.
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์. (2562, 13 กันยายน). ปมหนังไทยซ้ำซาก ผี ตลก กะเทย พระ คน นิยม หรือไม่พัฒนา?. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/scoop/1659180ทีมข่าวบันเทิง. (2560, 15 พฤษภาคม). หลากคิดผู้กำกับไทย ไขปัญหาหนังไทยซบเซา. คมชัดลึก.
สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/ent/276911
นายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการแต่ละด้านเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด-19 ผ่านโทรทัศน์รวมการ เฉพาะกิจแห่งประเทศไทย 17 มีนาคม 2563. (2563). [วีดิทัศน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19).
ประสพ เรียงเงิน, นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, ปวิตรา ฤกษะเสน และ เพิ่มพล กันเทพา. (บรรณาธิการ). (2559). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560– 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
พลิกวิกฤติโควิดเป็นโอกาส ดร.เอนก ปลุกคนไทยพึ่งตนเองด้วยเศรษฐกิจพอเพียง. (2563, 12 เมษายน). ไทยโพสต์. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/62917
มณฑลี กปิลกาญจน์ และ นันทนิตย์ ทองศรี. (2563). ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 เราจะสู้ไปด้วยกัน.
สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article _05Apr2020.pdf
รายงานประจำปี 2562 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน). (2563). กรุงเทพฯ: บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน).
สนธิ ลิ้มทองกุล. (2563, 10 เมษายน). ไวรัสโควิด 19 หายนะของโลกแล้วเราจะทำ ตัวอย่างไร?.
[เฟซบุ๊กไลฟ์]. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/sondhitalk/videos/1075673349470743
สรา ชื่นโชคสันต์, ภาวนิศร์ ชัววัลลี, และ วิริยะ ดารงค์ศิริ. (2562). 8 ข้อเท็จจริง ปัญหาการเงินของครัว เรือนไทย. สืบค้นจาก
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Oct2019.aโสภณ ศิริงาม. (2560, มิถุนายน). การปฏิรูปความมั่นคงของไทยในศตวรรษที่ 21. NDC Security Review, 6, 6-21.
หนังไทยไม่โดนใจคนดูตลาดภาพยนตร์หดแรง. (2558, 13 ตุลาคม). โพสต์ทูเดย์.
สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/economy/news/393487
อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ. (2562). ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยต่อการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.mac.ru.ac.th/wp-content/uploads/2019/03/2019-03-06_16-22-15_588567.pdf
Baetjer Jr., H. (2017). Economics and Free Markets: An Introduction. Washington, D.C.:
Cato Institute.
Belke, A. & Beretta, E. (2020). From cash to central bank digital currencies and cryptocurrencies: a balancing act between modernity and monetary stability. Journal of Economic Studies, 47(4), 911-938. https://doi.org/10.1108/JES-07-2019-0311
Briggs, E. (2011). The Munich Massacre: A New History. (Master’ s thesis, University of Sydney).
Caballero-Anthony, M. (2015). Sustainable Development Goals (SDGs): Managing
Expectations. In Cook, A. D. B., Nair, T., & Rahman, S. (Eds.), RSIS Non-Traditional Security (NTS) Year in Review 2015 (pp. 8-11). Singapore: RSIS Centre for Non-Traditional Security (NTS) Studies.
CNN. (2020). Contagion vs. Coronavirus: The Film's Connections to a Real Life Pandemic.
Retrieved April 15, 2020, from https://edition.cnn.com/2020/04/02/movies/ contagion-movie-versus-coronavirus-scn-wellness/index.html
Derry, D. (2000). Agenda Setting and Problem Definition. Policy Studies, 21(1), 37-47.
Fisher, S. (n.d.). Nationalism. Oxford: University of Oxford.
Hameed, M., Hamid, M., Ahmadalipour, A., Rostamkhani, H. M., Abbaszadeh, P., & Alipour, A. (2019). A Review of the 21st Century Challenges in the Food-Energy- Water Security in
the Middle East. Water, 11(4), 682. https://doi.org/10.3390/w11040682
Kakwani, N. (2006, December). Poverty and Wellbeing. Poverty in Focus, 20-21.
Keagle, J. M. (2012). Non-Traditional Security Threats and Asia-Pacific Regional
Cooperation Washington, D.C.: Center for Technology and National Security
Policy, National Defense University.
Korean Film Council. (2020). Film & People Database. Retrieved April 8, 2020, from
https://www.koreanfilm.or.kr/eng/news/boxOffice_Yearly.jsp?mode=BOXOFFICE_YEAR&selectDt=2019&category=ALL&country=ALL
Lee, H.-H., Lee, M., & Park, D. (2012, July 1). Growth Policy and Inequality in Developing Asia:
Lesson from Korea. [Discussion Paper]. Retrieved from https://www.eria.org/ERIA-DP- 2012-12.pdf
Mahmood, I. (2013). Influence and Importance of Cinema on the Lifestyle of Educated
Youth: A Study on University Students of Bangladesh. IOSR Journal Of Humanities
And Social Science (IOSR-JHSS), 17(6), 77-80.
Mbe, V. S. (2011). The Role of Film in Society. Retrieved May 11, 2020, from https://thoughteconomics.com/the-role-of-film-in-society/
Moon, T. H. (2009). Korea’s Sustainable Development Strategy. Korea Observer, 40(1), 85-
114.

Moo-jong, P. (2019, May 2). Dispute over 'screen quota'. The Korea Times. Retrieved from
http://www.koreatimes.co.kr/www/opinion/2019/12/636_268177.html
National Commission on Terrorist Attacks. (n.d.). The 9/11 Commission Report: Final
Report of the National Commission on Terrorist Attacks upon the United States. Retrieved from https://govinfo.library.unt.edu/911/report/911Report_Exec.htm
Nye, J. S. (1990). Soft Power. Foreign Policy, 80, 153-171.
Phi, H. D., Huong, N. V., Tuan, H. A., & Nguyen, X. (2019). Management of Nontraditional Security: A New Approach. International Journal of Engineering, Applied and Management Sciences Paradigms (IJEAM), 54(1), 253-262.
Rousse-Marquet, J. (2013). The Unique Story of the South Korean Film Industry. Retrieved December 22, 2016, from http://www.inaglobal.fr/en/cinema/article/unique-story-south-korean-film-industry
Sagar, V. (2015). An Overview of Non-Traditional Security. In Cook, A. D. B., Nair, T., &
Rahman, S. (Eds.), RSIS Non-Traditional Security (NTS) Year in Review 2015 (pp. 36-38). Singapore: RSIS Centre for Non-Traditional Security (NTS) Studies.
Santacreu, A. M., & Zhu, H. (2018). How Did South Korea’s Economy Develop So Quickly?
Retrieved April 8, 2020, from https://www.stlouisfed.org/on-the-economy/2018/marchhow- south-korea-economy-develop-quickly
Shaheen, J. G. (2015). Hollywood’s Bad Arabs. Retrieved April 7, 2020, from
https://www.thecairoreview.com/essays/hollywoods-bad-arabs/
Shrestha, M. (2015). In the Balance: Food Security in Southeast Asia. In Cook, A. D. B.,
Nair, T., & Rahman, S. (Eds.), RSIS Non-Traditional Security (NTS) Year in Review 2015 (pp. 50-53). Singapore: RSIS Centre for Non-Traditional Security (NTS) Studies.
Sun-Young, P. (2007). Shinsedae: Conservative Attitudes of a ‘New Generation’ in South
Korea and the Impact on the Korean Presidential Election. Retrieved April 8, 2020, from https://www.eastwestcenter.org/news-center/east-west-wire/shinsedae-conservative-attitudes-of-a-new-generation-in-south-korea-and-the-impact-on-the-korean-pres
Tian, G. (2015). Prioritising Climate Adaptation for Disaster Risk Reduction. In Cook, A. D.
B., Nair, T. & Rahman, S. (Eds.), RSIS Non-Traditional Security (NTS) Year in Review 2015 (pp. 58-60). Singapore: RSIS Centre for Non-Traditional Security (NTS) Studies.
Trajano, J. C. I. (2015). The Future of Nuclear Power in Asia and Europe. In Cook, A. D. B.,
Nair, T. & Rahman, S. (Eds.), RSIS Non-Traditional Security (NTS) Year in Review 2015 (pp. 46-48). Singapore: RSIS Centre for Non-Traditional Security (NTS) Studies.

The White House. (1994). A National Security Strategy of Engagement and Enlargement.
Washington, DC: The US President Printing Office.
The White House. (2002). The National Security Strategy of the United States of America.
Washington, DC.
UNDP. (n.d.). Sustainable Development Goals. Retrieved from https://www.undp.org/content/dam/undp/library/corporate/brochure/SDGs_Booklet_Web_ En.pdf
Wanwarang Maisuwong. (2012). The Promotion of American Culture through Hollywood
Movies to the World. International Journal of Engineering Research & Technology (IJERT), 1(4), 1-7.
Yin, S. J. (2013). Pride of the People: South Korea and Korean Nationalism ISIS Focus, 8,
4-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09