การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาในรูปแบบ In-stream ad บน Youtube และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ชม ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ คล้ายสังข์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเปิดรับสื่อ, ภาพยนตร์โฆษณาในรูปแบบ In-stream ad บน Youtube, พฤติกรรมการ ตอบสนองของผู้ชม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับชมภาพยนตร์โฆษณาในรูปแบบ In-stream ad บน Youtube และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ชม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชมภาพยนตร์โฆษณา ในรูปแบบ In-stream ad บน Youtube จำนวน 300 คน คนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปลายปิด
ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา Independent Sample t-test, One-way ANOVA และ Chi-Square ผลการวิจัยปรากฏว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-29 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และประกอบอาชีพพนักงานเอกชน มีความถี่ในการเปิดรับชมภาพยนตร์โฆษณา 1-5 ครั้งต่อสัปดาห์มากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ในการรับชม และในการเปิดรับชมจะกดข้ามเมื่อเกินระยะเวลา 5 วินาที พฤติกรรมการตอบสนองขั้นตอนการรับรู้ของผู้ชมภาพยนตร์โฆษณารูปแบบของ In-stream ad บน Youtube โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนขั้นการเกิดความรู้สึก และขั้นแสดงพฤติกรรมของผู้ชมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ลักษณะประชากรด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความถี่ในการเปิดรับชมภาพยนตร์โฆษณาในรูปแบบ In-stream ad บน Youtube อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นอาชีพ และลักษณะประชากรทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะในการรับชม ความถี่ในการเปิดรับชมภาพยนตร์โฆษณารูปแบบของ In- stream ad บน Youtube
ที่แตกต่างกันส่งผลให้พฤติกรรมการตอบสนองของผู้ชมไม่แตกต่างกัน ส่วนลักษณะในการรับชมภาพยนตร์โฆษณารูปแบบของ In- stream ad บน Youtube ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้พฤติกรรมการตอบสนองของผู้ชมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

Author Biography

สมศักดิ์ คล้ายสังข์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำกลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

กัลยากร วรกุลลัฏฐานีย์ และ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช.(2551). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เจตน์ อติพลภักดี. (2555). ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่รับชมภาพยนตร์โฆษณาที่ใช้จุดจับใจด้านอารมณ์ขัน. (สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
นรินทร์พร สุบรรณพงษ.์(2554). วัฒนธรรมบริโภคนิยมในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์สำหรับเด็กวัยรุ่นตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
บัญญพนต์ พูนสวัสดิ์. (2559). ผู้บริโภคเป็นผู้เลือก In-StreamADsและContentStreamsADs เข้ามาแทนที่ Banner ADs บน Mobile. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562, จาก http://www.digitalagemag.com/ ผู้บริโภคเป็นผู้เลือก-in-stream-ads-และ-content-streams-ads-เข้ามาแทนที่-banner- ads-บน-mobile/
ปัญญาธิดา สุขะวณิชย์. (2555). การศึกษาการตอบสนองเชิงอารมณ์ต่อภาพยนตร์โฆษณาของบริษัทไทยประกันชีวิต และทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อบริษัทไทยประกันชีวิต. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปานระพี รพิพันธุ์. (2558, 6 สิงหาคม). ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยปี 58 เผยคนไทยออนไลน์ผ่านมือถือทุกช่วงเวลา. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562, จาก http://www.it24hrs.com/2015/thailand-internet- user-profile-2015-2558/
พีระ จริโสภณ. (2547). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์. นนทบุรี: โรงพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.
วลีวัลย์ อมรนุรัตน์กุล. (2554). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อโฆษณาออนไลน์บนเว็บไซต์กูเกิล. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทสุดา ทุมวงศ์. (2556). การเปิดรับข่าวสารทัศนคติต่อ Beauty Influencer: Pearypie และพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทความงาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สำนักข่าว ไอ. เอ็น. เอ็น. (2557). ITU ชี้ไทยมีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตอันดับ 1 ของโลก. สืบค้น 10 สิงหาคม 2562, จาก http://m.innnews.co.th/mobile/shownews?newscode=581921
สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์. (2557, มกราคม – มิถุนายน). สื่อใหม่: กุญแจเพื่อการพัฒนาองค์การสมัยใหม่. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยี
มหานครปริทัศน์, 4(1), 79-97.
DeFleur, M. L. & Ball-Rokeach, S. (1989). Theories of mass communication (5th ed). New York: Longman.

Lavidge, R. J. & Steiner, G. A. (1961). A model for predictive measurements of advertising effectiveness. Journal of marketing, 25(6), 59-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09