การสร้างการเล่าเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กรกนก นิลดำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การสร้างการเล่าเรื่อง, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, จังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากกระแสการรักสุขภาพ ความต้องการมีอายุยืนยาว หรือความเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือภาวะความกดดันจากการทำงาน จึงปรากฏการศึกษาค้นคว้าทางด้านนี้มากขึ้นตามลำดับ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างการเล่าเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงราย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่เป็นเป้าหมายของงานวิจัย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิเทศศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการท่องเที่ยว สามารถสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเชียงรายได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยมีการนำศาสตร์ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นมาให้บริการเพื่อส่งเสริมและบำบัดทางสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ การท่องเที่ยวประเภทนี้สามารถสร้างการเล่าเรื่องด้วยการเลือกวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจผสมผสานไปกับเรื่องราวของชุมชน/สินค้า/บริการ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเข้าไว้ด้วยกัน โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ 1) ชุมชนต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายของการเล่าเรื่อง ซึ่งมาจากการสรุปข้อมูลพื้นฐานจากการทำสำรวจเบื้องต้น สมาชิกในชุมชนหารือร่วมกันในการกำหนดจุดเด่น (สินค้า/บริการ/กิจกรรม) เกี่ยวกับสุขภาพกายและใจ เพื่อเป็นแก่นเรื่องของการสร้างจุดขาย สร้างเรื่องเล่าประกอบแก่นเรื่อง และการสร้างคุณค่าที่มากไปกว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรม เพราะกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะชนชั้นกลางต้องการการตอบสนองทางด้านจิตใจที่มีความหมายมากไปกว่าสิ่งที่สัมผัสได้ทางกายภาพ 2) นำจุดเด่นมาพัฒนาเพื่อหาความแตกต่างโดยการสร้างกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การสร้างองค์ประกอบแวดล้อมที่สนับสนุนเรื่องเล่า เพื่อให้เรื่องเล่าชัดเจนโดดเด่นมากขึ้น ได้แก่ กิจกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยการไล่เรียงตั้งแต่เช้าถึงค่ำควรสะท้อนความเป็นอยู่ที่ใส่ใจครอบคลุมทั้งกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และส่งผลต่อกันที่เป็นวงจรหมุนเวียน อาทิ ศูนย์วิปัสสนาสากล ไร่เชิญตะวัน หรือโฮมสเตย์บ้านท่าขันทองที่อำเภอ

เชียงแสน ที่สามารถสร้างการเล่าเรื่องราวได้ครบทุกด้าน ที่เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างสุขภาพทางกายที่ส่งผลต่อใจและจิตวิญญาณ 3) การเลือกวิธีการสื่อสารผ่านสื่อ และ 4) นำเรื่องเล่าที่สร้างสรรค์เผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมาย โดยพิจารณาถึงสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ รวมถึงความเข้าใจความเป็นชุมชนที่สื่อสารออกไป

Author Biography

กรกนก นิลดำ, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อาจารย์ประจำแขนงวิชาดิจิทัลมัลติมีเดีย
โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.tat.or.th/th

จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก http://www.chiangrai.net

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2558). การสร้างความรู้และการถอดความรู้จากการเล่าเรื่อง. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก http://km.oae.go.th/images/Download/km-document/KM_file/About-KM/28-11-55/1_story-telling_28-11-55.pdf

ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง. (2561). ความต้องการของตลาดและศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.researchgate.net/publication/328305452_

khwamtxngkarkhxngtladlaeasakyphaphnikarrxngrabkarthxngtheiywcheingsukhphaphkhxngprathesthiy/link/

bc586f792851cae21a7f74e/download.

ธรรญชนก เพชรานนท์. (2559). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่การค้าชายแดน จังหวัดเชียงราย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 94(2), 42-59.

นิฤมน คําเอี่ยม. (2553). แนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

รัชนีกร ปัญญา. (2545). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/555?mode=full

เอกกนก พนาดารง. (2559). การเขียนเรื่องเล่า ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง. เวชบันทึกศิริราช, 9(3), 194-196. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/198452/138208

องค์การบริหารส่วนตำบลบัวสลี. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก http://www.buasalee.go.th/index.php.

Chiu, H.-C., Hsieh, Y.-C., & Kuo, Y.-C. (2012, June). How to Align your Brand Stories with Your Products. Journal of Retailing, 88(2): 262-275. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S002243591200022X

homestaythai.net. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก, http://www.homestaythai.net.

Jirawongsy, N. (2016). The Impact of Storytelling on Luxury Value Perception of a Brand Goyard Case Study. Panyapiwat Journal. 8 (Supplementary), 64-73.

McGroarty, B. (n.d.). WELLNESS INDUSTRY STATISTICS & FACTS. Retrieved April, 21, 2020, from https://globalwellnessinstitute.org/press-room/statistics-and-facts/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09