การศึกษาสภาพปัญหาผ้าทอน้ำแร่เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมด้านการเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารการตลาดของจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
สภาพปัญหา, ผ้าทอน้ำแร่, การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารการตลาดบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพปัญหาผ้าทอน้ำแร่เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมด้านการเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารการตลาดของจังหวัดลำปางนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารการตลาดผ้าทอน้ำแร่จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) โดยเข้าไปทำการสังเกตและเฝ้าดูพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มทอผ้าน้ำมอญแจ้ซ้อน ชุมชนบ้านศรีดอนมูล ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยใช้หลักการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติผู้ให้ข้อมูลที่ได้กำหนดไว้แล้ว ได้แก่ แกนนำกลุ่มทอผ้าน้ำมอญแจ้ซ้อน ผู้ทรงคุณวุฒิหรือนักวิชาการด้านการสื่อสารการตลาด หน่วยงานพัฒนาชุมชน หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ทอผ้าน้ำแร่รวมจำนวนทั้งสิ้น 54 คน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาที่ทำให้ผ้าทอน้ำแร่จังหวัดลำปางยังไม่ได้รับความนิยมสวมใส่กันมากนักนั้นมีทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) ลายผ้าที่ยังไม่โดดเด่น 2) การสวมใส่ลดน้อยลงในวันปกติ
3) การดูแลรักษายาก 4) การตัดเย็บที่ไม่ได้มาตรฐานและการออกแบบไม่ทันสมัย 5) ราคาที่สูงเกินไป 6) กระบวนการผลิตใช้เวลานานเกินไป 7) ขาดการเล่าเรื่องที่ดี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการที่จะทำให้ผ้าทอน้ำแร่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น โดยการเล่าเรื่องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การเล่าเรื่องจากกระบวนการผลิต และการเล่าเรื่องจากเทคนิคของการทำลายผ้าหรือประวัติศาสตร์ของผ้า และ 8) ขาดการสื่อสารการตลาดที่ดี
References
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2563). การสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการคลัสเตอร์ผ้าทอเมืองน่าน [ข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์]. CRRU Journal of Communication Chiangrai Rajabhat University, 3(2), 22-42.
มานพ ชุ่มอุ่น. (2553). การพัฒนากระบวนการจัดการทางการตลาดในผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (โครงการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์. (2554). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารการตลาดแบบมีส่วนร่วมกลุ่มตัดเย็บ บ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
เสรี วงษ์มณฑา. (2540). กลยุทธ์การตลาดและการวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไฟเท๊กซ์.
อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์: ศึกษาจากงานวิจัย [ข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์]. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1), 31-58.
อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์. (2560). การเล่าเรื่องในการสื่อสารการตลาดสินค้าโอท็อปกุสุมา: ศึกษาจากงานวิจัย [ข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์]. วารสารประชากร, 5(1), 85-105.
Belch, G. E., & Belch, M. A. (2004). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective (6th ed.). Boston, MA: McGraw-Hill.
Charam, S., Suvattanavanich, P., & Vespada, D. (2012). A Novelty Narrative Technique of Short Stories in Chokaraket Magazine [Electronic version]. Journal of Library and Information Science SWU, 5(1), 57-69.
Duncan, T. (2005). Principles of Advertising & IMC (2nd ed.). Boston, MA: McGraw- Hill/Irwin.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (9th ed.). NJ: Prentice-Hall.
Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....