การปรับตัวของสื่อพื้นบ้านรำวงย้อนยุคเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา สุริยวงค์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การปรับตัวของสื่อพื้นบ้าน, สื่อพื้นบ้านรำวงย้อนยุค, รำวงย้อนยุคเพชรบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการปรับตัวของสื่อพื้นบ้านรำวงย้อนยุคเพชรบุรีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง
การพัฒนาคู่มือสำหรับการปรับตัวของสื่อพื้นบ้านรำวงย้อนยุคเพชรบุรี ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้ศึกษาพัฒนาการของรำวงย้อนยุคเพชรบุรี และลักษณะการปรับตัว
ของการแสดงรำวงย้อนยุคเพชรบุรีในอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านมิติด้านการเวลาเพื่อให้เห็นทางด้านที่ยังคงอยู่
ความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงไปของตัวสื่อ ตามกรอบแนวคิดเกี่ยวกับสื่อพื้นบ้าน แนวคิดเรื่อง
การปรับตัวและการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview)
การลงสังเกตการณ์ภาคสนาม (Field Observation) และการทบทวนเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ
งานวิจัย และงานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องโดยมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาตามคุณสมบัติผู้ให้ข้อมูลตาม
ที่ได้กำหนดไว้แล้ว ได้แก่ คณะรำวงย้อนยุค คณะกองเชียร์รำวง (นักร้อง) คณะนางรำและผู้ชม
รวมจำนวนทั้งสิ้น 50 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) พัฒนาการของรำวงย้อนยุคเพชรบุรีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ รำวงในยุคแรก
(รำวงดั้งเดิม) เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500
เป็นยุคที่เพลงลูกทุ่งเริ่มมีชื่อเสียงและถูกนำมาขับร้องประกอบการรำวงอย่างแพร่หลายจนมาถึงช่วงเสื่อมความ
นิยมของรำวงในยุคแรกเกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างผู้มาเที่ยวชมรำวงทำให้ทางราชการสั่งห้ามจัดแสดงรำวง
ตามงานต่างๆ จนพัฒนามาสู่ ยุคที่ 2 เป็นรำวงในยุคปัจจุบันซึ่งเรียกว่า รำวงย้อนยุคเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
เรื่อยมารำวงย้อนยุคเพชรบุรีได้รับความนิยมมากขึ้น
2) ลักษณะการปรับตัวของการแสดงรำวงย้อนยุคเพชรบุรีมีการปรับตัวให้อยู่รอดกับสถานการณ์ใหม่
ที่เปลี่ยนแปลงไปของบริบทใหม่ที่รองรับสื่อในคุณลักษณะต่างๆที่ค้นพบ อันได้แก่ คุณลักษณะด้านรูปแบบและ เนื้อหา คุณลักษณะด้านการสื่อสาร คุณลักษณะด้านบทบาทหน้าที่ คุณลักษณะด้านการสืบทอด
คุณลักษณะด้านการต่อรองธุรกิจเชิงพาณิชย์ และคุณลักษณะด้านเครือข่าย การปรับตัวในด้านต่าง ๆ
นี้เป็นผลมาจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
การเข้ามาของสื่อบันเทิงสมัยใหม่และการดำเนินธุรกิจ
เชิงพาณิชย์ที่มากขึ้นตามยุคตามสมัยซึ่งส่งผลทำให้รำวงย้อนยุคเพชรบุรีต้องมีการปรับตัวเองให้อยู่รอด
ในบริบทสังคมปัจจุบัน

Author Biography

กฤษฎา สุริยวงค์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). โฟกัสแนวทางการวิจัยสื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบเชิงรุก. ใน
การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง การสื่อสารชุมชน. (น. 98-205). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ, เธียรชัย อิศรเดช, อดุลย์ ดวงดีทวีรัตน์, ประยุทธ ดวงดีทวีรัตน์ และ อริยา เศวตามร์.
(2548). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กิตติยา ศรีจันทร์. (2554). พื้นเมืองเพชร:
รวมบทความแปรรูปจากผลการศึกษาด้านคติชนของนักศึกษาหัวเมือง. กรุงเทพฯ: ฟิลสไตล์.
ฆัสรา ขมะวรรณ. (2537). แนวความคิดของเรย์มอนด์ วิลเลี่ยม
ในวัฒนธรรมศึกษาและการวิเคราะห์วัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2552). การวิเคราะห์การปรับตัวของสื่อพื้นบ้าน: ศึกษากรณีเพลงโคราช
จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ปรีดา นัคเร .(2549). แนวทางการส่งเสริมหนังตะลุงสำหรับกลุ่มผู้รับสารวัยรุ่นในจังหวัด สงขลา. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ลาลูแบร์, ซีมง เดอ. (2510). จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์, ราชอาณาจักรสยาม. แปลจาก Du
Royaume de Siam. แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร. พระนคร: ก้าวหน้า.
วราลี บุญธรรม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสืบสานรำวงย้อนยุค กรณีศึกษาคณะรำวงย้อนยุค เทศบาลนคร
พิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
สมสุข หินวิมาน. (2547). ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา. ใน เอกสารสอนชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และ
ทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภักดิ์ อนุกูล. (2546). เพลงพื้นบ้านภาคกลางและภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
อุดมเดช เกตุแก้ว. (2556, ตุลาคม). รำวงย้อนยุค. กรุงเทพฯ: เพชรนิวส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09