คราวด์ซอร์สซิ่ง: ระดมทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ด้วยพลังมวลชนบนโลกออนไลน์

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา สายพรหม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

คราวด์ซอร์สซิ่ง, การสร้างสรรค์ของมวลชน, ความคิดสร้างสรรค์, ออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้ศึกษา การนำแนวคิด “คราวด์ซอร์สซิ่ง” (Crowdsourcing) การระดมพลังมวลชนบนพื้นที่ออนไลน์เข้ามาใช้เป็นกลไกในการระดมทุนทางความคิดเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหา โดยเป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในลักษณะร่วมคิด ร่วมออกแบบสินค้า/ผลิตภัณฑ์ หรือเนื้อหา ซึ่งเปลี่ยนไปจากวิถีเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง การนำคุณสมบัติของเทคโนโลยี มาผสานพลังความคิดสร้างสรรค์ของมวลชนในลักษณะคราวด์ซอร์สซิ่งนี้ แม้จะมีประโยชน์ แต่ในแง่การนำไปใช้จำเป็นต้องอาศัยแพลตฟอร์มในการจัดเก็บ วิเคราะห์ และประมวลผล รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในบริบทของสังคมไทยที่ยังต้องมีการพัฒนา ทั้งเครื่องมือ แพลตฟอร์ม ทรัพยากรบุคคล การจัดการ และการเสนอสิ่งจูงใจที่เหมาะสม เพื่อทำให้เกิดการปฏิบัติได้จริง และเกิดการระดมทุนทางความคิดสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วมของมวลชน จนสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่าสูงสุดต่อไป

Author Biography

กุลธิดา สายพรหม, คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ฐาปกรณ์ ภันเกตุ. (2559). คราวด์ซอร์สซิ่ง: เปิดโอกาสมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของพลเมืองในธรรมา
ภิบาลรัฐใหม่. ใน การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 18 ประจำปี 2559 (น. 125-138). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์. (2555, 6 มกราคม). Crowdsourcing Movie “หนังร่วมสร้าง”. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก http://www.daydev.com/social-media-marketing-2/s13-social-network/c82-social-for-business/crowdsourcing-movie.html.
ปาลิณี ตรีบุลกุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อคลาวด์ซอร์สซิ่งที่มีการผสมผสานเกม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ภานุมาศ นนทพนธ์. (2557). การประยุกต์ใช้แนวคิดคราวด์ซอร์สซิงในการทำแผนที่เครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ภิญโญ รัตนาพันธุ์. (2557, 26 พฤศจิกายน). ปัญญาจากฝูงชน (Crowdsourcing). [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://mgronline.com/management/detail/9570000136344
ภัทรา บุรารักษ์ และสมัชชา นิลปัทม์. (2562, มกราคม-เมษายน). การจัดการชิ้นงานที่มาจากพลเมืองในข่าวของสื่อมวลชน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(53), 109-131.
มัทนา เจริญวงศ์. (2562). พลเมืองสร้างสื่อ สื่อสร้างพลเมือง. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์. (2558). นวัตกรรมกระบวนการจัดการข้อมูลจากการรายงานของมวลชนในช่วงเวลาเผชิญภัยพิบัติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2563). โครงการวินาทีสร้างสรรค์ (One Second Thailand). [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www.cea.or.th/th/single-project/one-second-thailand
สกุลศรี ศรีสารคาม, สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และบุญยศิษย์ บุญโพธิ์. (2559). รายงานผลการศึกษา การส่งเสริมแนวทางการใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในกระบวนการรายงานข่าวในยุคเทคโนโลยีหลอมรวม. นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
อัจฉรียา รอบกิจ. (2555). เว็บไซต์เลดี้อินเตอร์คอม (LADYINTER.COM) กับการเป็นชุมชนออนไลน์สำหรับหญิงไทยซึ่งสมรส หรือมีความรักข้ามวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ Mediumology หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. ปทุมธานี: นาคร.
อาศิรา พนาราม. (2553, 3 มีนาคม) Siamsquare.co.th ร้านแฟชั่นออนไลน์บนโมเดล Crowdsourcing – ก้าวที่กล้าสู่ธุรกิจแฟชั่นยุคใหม่. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก http://www.tcdc.or.th/articles/business-industrial/14987/#Siamsquare-co-th-
ฮาวี, เจฟฟ์. (2554). คราวด์ซอร์สซิ่ง ล้านคลิก พลิกโลก. แปลจาก Crowdsourcing. แปลโดย สีนวล ฤกษ์สิรินุกูล. กรุงเทพฯ: มติชน.
Botto, R. (2018). Crowdsourcing for filmmakers: Indie film and the power of the crowd. New York: Routledge.
Chayutopia. (2555, 15 มิถุนายน). Life in a day หนังเท่ ๆ ที่คนทั่วโลกร่วมกันผลิตกับ YouTube. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.thumbsup.in.th/life-in-a-day-youtube-movie?
eYeka. (2017). The state of crowdsourcing in 2017: The age of ideation. [Annual report]. Retrieved from https://th.eyeka.com/resources/reports#CSreport2017
Grier, D. A. (2013). Crowdsourcing for dummies. Chichester: John Wiley & Sons.
Hossain, M. (2012, May 21-22). Users' motivation to participate in online crowdsourcing platforms. In 2012 International Conference on Innovation Management and Technology Research (pp. 310-315). Malacca, Malaysia: IEEE.
Marketingoops. (2562, 23 กุมภาพันธ์). ล้วง Insight การใช้งาน “ดิจิทัล” ทั่วโลก 2019 “คนไทย” ใช้เน็ต 9 ชั่วโมงต่อวัน-มือถือมี 99 แอปฯ!. [เว็บไซต์]. สืบค้นจากhttps://www.marketingoops.com/reports/global-and-thailand-digital-trend-2019/
Positioning online magazine. (2554, 11 มกราคม). Crowdsourcing Campaign เทรนด์ฮิต Digital Campaign. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/13928?fbclid=IwAR0qXOXZnPU4zB-
Sloane, P. (2011). A guide to open innovation and crowdsourcing: Advice from leading experts in the field. London: Kogan Page.
Stage 32. (2019). Stage 32, the world’s largest online platform for connection and educating film creative. [Website]. Retrieved from https://www.stage32.com/welcome/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09