พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกช่องทางการรับรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการเลือกช่องทางการซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สลีลา นวลฤทัย คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย
  • ปฐมา สตะเวทิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การตลาดดิจิทัล, Mobile banking, พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นด้านการตลาดดิจิทัลของลูกค้าธนาคารในการเลือกช่องทางการรับรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และ 2) พฤติกรรมของลูกค้าธนาคารในการเลือกช่องทางการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรที่มีประสบการณ์ในการใช้ Mobile banking ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายปิดในการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 - 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ระหว่าง 30,001 – 50,000 บาท 2) ผู้ตอบแบบสอบส่วนใหญ่ใช้บริการ Mobile banking ของธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) มีการสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์เงินฝาก (ออมทรัพย์ ฝากประจำ) มากที่สุด และเลือกช่องทางสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินบนช่องทาง Website ของธนาคารมากที่สุด 3) ด้านการตลาดดิจิทัลของลูกค้าธนาคารในการเลือกช่องทางการรับรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ด้านช่องทางการสื่อสาร ให้ความสำคัญมากที่สุดเรื่องการเป็นช่องทางที่ใช้ระยะเวลาการหาข้อมูลได้รวดเร็ว ด้านรูปแบบเนื้อหาการตลาดดิจิทัล (Content Marketing) ให้ความสำคัญมากที่สุดเรื่องมีการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบภาพ หรือภาพพร้อมข้อความบรรยาย ที่ชัดเจน สวยงาม สร้างสรรค์ และด้านการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ (Online PR Marketing) โดยการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ซ้ำ ๆ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และ 4) พฤติกรรมของลูกค้าธนาคารในการเลือกช่องทางการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เงินฝาก (ออมทรัพย์ ฝากประจำ) ผ่านสาขาของธนาคารมากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับการมีพนักงานสาขาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำรายการต่าง ๆ ให้ และมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กองทุน (กองทุนรวม ตราสารหนี้/หุ้นกู้/พันธบัตร) ผ่าน Mobile banking มากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับการมีความสะดวก ในการใช้บริการ Mobile banking ได้ทุกที่ ทุกเวลา และประหยัดเวลาการเดินทางหรือรอรับบริการมากที่สุด

 

คำสำคัญ: การตลาดดิจิทัล Mobile banking พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

References

กนกวรรณ กันเกตุ. (2563). สรุปสถิติ!! Content marketing ที่จะช่วยพัฒนาผลลัพธ์ธุรกิจออนไลน์ ให้ดีกว่าเดิม ในปี 2020. https://stepstraining.co/content/content-marketing-statistics-for-2020

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2561). Digital marketing: Concept & case study. ไอดีซีพรีเมียร์.

ธนาคารออมสิน, ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. (2559). สถาบันการเงินในยุคดิจิตอล. https://www.gsb.or.th/media/2020/08/GSB-SR-2019-Final-OK.pdf

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. วิทยาการพิมพ์.

นฐมน ก้องธนานนท์, และ คมจักร กำธรพสินี. (2560). ทำการตลาดออนไลน์ แบบแบรนด์ใหญ่ที่ไม่เคยมีใครบอกคุณ. ไอแอมเดอะเบสท์.

บุญฑริกา ตั้งอุดมสิริ. (2561). กลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับธุรกิจร้านอาหารเคลื่อนที่ (Food truck) กรณีศึกษา ร้าน Answer Cheeze (แอนเซอร์ชีส) [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2778/3/boontharika_tang.pdf

พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2561). อิทธิพลของการตลาดดิจิทัลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2865/1/pornphan_tarn.pdf

ไพฑูรย์ มะณู (2559). สื่อดิจิทัล: Digital media. http://paitoon.esdc.go.th/sux-dicithal

โรสรินทร์ พุ่มฤทธิ์. (2560, 24 มีนาคม). รูปแบบ content marketing. PraZang http://www.prazang.com/web/blog/post/115/รูปแบบcontent-Marketing

สารัชต์ รัตนาภรณ์. (2562, 19 กันยายน). Digital disruption ความท้าทายของธนาคารในยุคปัจจุบัน. Forbes Thailand. https://forbesthailand.com//commentaries/insights/digital-disruption-ความท้าทายของธนาคารใ.html

อรัณย์ หนองพล. (2562, 1 กันยายน). เมื่อทุกคนทำธุรกรรมได้เพียงปลายนิ้ว แล้วการไปธนาคารยังสำคัญอยู่ไหม?. Thestandard. https://thestandard.co/uob-internet-banking/

อัญชฎา สายสนั่น ณ อยุธยา. (2558). การศึกษาความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2330/1/anchada_sais.pdf

Pigabyte. (2564, 2 มีนาคม). จับทิศทางเทรนด์ดิจิทัล ปี’64 พลิกตำรา Marketing ครั้งใหญ่ ทำอย่างไรให้แคมเปญปังโดนใจ. Marketingoops. https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/digital-trend/

ThaiPR.net. (2559, 18 กรกฎาคม). เรื่องเล่าจาก P&G ดิจิตอลเปลี่ยนโลกทั้งใบอย่างไร. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.ryt9.com/s/prg/1193404

Digital 2020. (2563). https://wearesocial.com/digital2020?fbclid=IwAR3MdX2vId LxqnOO_9JIPjqH8WljacBhKOWXzqcRjTh7aRfLSk2Wi6aK5GE

Digital marketing. (2555). http://dmkt-pasit.blogspot.com/2011/05/digital-marketing.html

Wertime, K., & Fenwick, I. (2008). Digimarketing: The essential guide to new media and digital marketing. wiley. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/book/10.1002/9781119207726

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01