แนวทางการสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังภัยช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การเฝ้าระวังภัย, ช้างป่า, แก่งหางแมว, จันทบุรีบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังภัยช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และเพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังภัยช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังภัยช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี นั้นนิยมใช้การสื่อสาร 5 ลักษณะด้วยกัน คือ 1) ใช้สุนัขสื่อสารเฝ้าระวังภัย 2) ใช้ป้ายสื่อสารเฝ้าระวังภัย 3) ใช้วิทยุสื่อสารเฝ้าระวังภัย 4) ใช้กล้องวงจรปิดสื่อสารเฝ้าระวังภัย 5) ใช้แอปพลิเคชันสื่อสารเฝ้าระวังภัย วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังภัยช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี พบว่า 1) การใช้สุนัขสื่อสารเฝ้าระวังภัย สายพันธุ์ต่างประเทศสามารถเห่าส่งสัญญาณเมื่อช้างมาเข้าใกล้ได้ แต่สุนัขสายพันธุ์ไทยมีพฤติกรรมกลัวช้างและไม่เห่าเฝ้าระวังภัย 2) การใช้ป้ายสื่อสารเฝ้าระวังภัย เมื่อป้ายเกิดความชำรุดทรุดโทรม ตัวอักษรเลือนรางโดยเฉพาะเวลากลางคืนและฝนตกมองถนัดมากนัก และช้างป่ามีการหากินหรือมีการเข้ามายังชุมชนหลากหลายเส้นทาง มีการย้ายเส้นทางในการเข้าสู่ชุมชน ทำให้ป้ายเฝ้าระวังภัย ไม่ตอบโจทย์การเฝ้าระวังภัย เท่าที่ควร 3) การใช้วิทยุสื่อสารเฝ้าระวังภัย การรับส่งสัญญาณของวิทยุสื่อสารสามารถส่งได้ในบริเวณไม่ไกลมากนัก หากเข้าสวนหรือไปทำธุระในพื้นที่ห่างไกลออกไปอาจพลาดการแจ้งเฝ้าระวังภัยได้ วิทยุสื่อสารมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในพื้นที่และการใช้อาจผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ 4) การใช้กล้องวงจรปิดเฝ้าระวังภัย เนื่องด้วยไม่สามารถจัดคนดูจอมอนิเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมงได้ หลายครั้งที่ช้างผ่านกล้องจึงไม่ได้รับการแจ้งเตือน และกล้องวงจรปิดมีค่าบำรุงรักษาสูงและไม่มีหน่วยงานที่จะมาดูและรักษาอย่างจริงจัง 5) การใช้แอปพลิเคชันเฝ้าระวังภัย จำเป็นต้องมีอินเทอร์เน็ต แต่สัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าไม่ถึงในหลายพื้นที่ เด็กและผู้สูงอายุไม่สามารถใช้แอปพลิเคชันเพื่อการรับข่าวสารเพื่อเฝ้าระวังภัยช้างป่าได้ และไม่สะดวกเมื่อต้องกรีดยาง เข้าสวน หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปด้วย วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังภัยช้างป่าของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี นั้นพบว่า 1) ด้านการสื่อสารโดยใช้สุนัขสื่อสารเฝ้าระวังภัย ควรเลี้ยงสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ เช่น ไซบีเรีย พิทบูล ปศุสัตว์อำเภอควรเข้ามาดูแลการเลี้ยงสุนัขอย่างใกล้ชิด อบรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงสุนัขเพื่อเฝ้าระวังภัยฯ 2) ในด้านการสื่อสารโดยใช้ป้ายเฝ้าระวังภัย ป้ายควรสามารถย้ายได้ตามสถานการณ์ ใช้วัสดุที่สะท้อนแสงมองเห็นได้ในเวลากลางคืนและเวลาฝนตก 3) ด้านการสื่อสารโดยวิทยุสื่อสารเฝ้าระวังภัย หน่วยงานรัฐควรสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อเครื่องวิทยุสื่อสารให้เพียงพอต่อความต้องการในพื้นที่ พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสารกับทุกภาคส่วน 4) ด้านการสื่อสารโดยใช้กล้องวงจรปิดเฝ้าระวังภัย การแจ้งเตือนควรแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านหอควบคุมส่วนกลาง 5) ด้านการสื่อสารโดยใช้แอปพลิเคชันเฝ้าระวังภัย ควรหาทางปลดล๊อกข้อกฎหมายว่าด้วยการตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในเขตป่าสงวนที่มีผู้คนอาศัย ควรมีการแนะนำการใช้แอปพลิเคชันให้กับผู้สูงอายุด้วย
References
กองสาธารณสุขท้องถิ่น กลุ่มงานห้องกันโรคติดต่อ. (2564). โครงการความร่วมมือการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี 2564 ภายไต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัติยราชนารี. จันทบุรี. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด.
คมสันติ สลาพิมพ์. (2564). การพัฒนาการสื่อสารข้อมูล. https://sites.google.com/site/krujoekomsanti/5-phathnakar-khxng-kar-suxsar-khxmul
ดนุพล ถาวโร. (2557). การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. [PowerPoint Slide]. view.officeapps. https://view.officeapps.live.com/op/view.aspxsrc=https%3A%2F%2Fdanuphol.files.wordpress.com%2F2012%2F03%2Fe0b887e0b8b2e0b899.ppt&wdOrigin=BROWSELINK
ที่ว่าการจังหวัดจันทบุรี. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2563. ผู้แต่ง.
ธันยพร วณิชฤทธา. (2554). การยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการความรู้ในชุมชน. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554. การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. (น. 234-239). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นรากร นันทไตรภพ. (2562). แนวทางการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า. สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
แผนพัฒนาอำเภอแก่งหางแมว (พ.ศ.2561-2564). (2561). ที่ว่าการอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี.
พิศิษฏ์ โภคารัตน์กุล, นริศ หนูหอม, สมชาย เบียนสูงเนิน, แสวง เกิดประทุม และไทรแก้ว กลิ่นคำ. (2560). ระบบเตือนภัยช้างผ่านระบบสื่อสารเคลื่อนที่และเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 7(1), 206-222.
วราวุฒิ อ่อนน่วม. (2555). ปรากฏการณ์ทางการสื่อสารยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 18(2), 212-220.
สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 121-134.
สมิต สัชฌุกร. (2557). แนวทางการแก้ไขปัญหาการสื่อสาร. TPA news, 210, 17-18.
สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2556). ความหลากหลายของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ [รายงานผลการวิจัย, สำนักอุทยานแห่งชาติ].http://park.dnp.go.th/dnp/research/Array220617_110016.pdf
ไสว วังหงษา, และกัลยาณี บุญเกิด. (2552). อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดกับช้างป่าบนทางหลวงสาย 3259 [รายงานผลการวิจัย, กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช]. https://www.dnp.go.th/wildlife/wildlifeyearbook/abstract/2549%20(full)/1.1%20p.1-20.pdf
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจอวงศ์. (2555). 2022 วิวัฒนาการการสื่อสารแห่งโลกอนาคต. Veridian E-Journal, 5(2), 59-70.
อภิการัตน์ นิยมไทย. (2556). การค้างาช้างและกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์และคุ้มครอง. วารสารจุลนิติ, 121-128.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2563). การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของนักเรียน 30 โรงเรียนมันธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรปราการในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 13(2), 1-22.
humanelephantvoices.org. (2564). ช้างป่าในประเทศไทย.https://humanelephantvoices.org/elephants-thailand/
Panta. (2553). ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสาร. http://panta-pantawat.blogspot.com/2010/09/blog-post_171.html.
Sarawan Kaewmongkol. (2016). SOCIAL PROBLEMS RESULTED FROM PETS. Lovely Pets (01600132) 15 June 2016, 9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....