ความแตกต่างของเพศและกลุ่มการเรียนที่มีผลต่อการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองของนักศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา จิตแสง -

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสาร / การเมือง/ เพศ /กลุ่มการเรียน/ นักศึกษา, media exposure, political news, gender, field of study, students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของเพศ กลุ่มการเรียน ที่มีผลต่อการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามีจำนวน 1,200 ราย ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) จากนักศึกษาระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  มหาวิทยาลัยรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน ประเภทละ 400 ราย โดยลำดับแรกเป็นการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามประเภทมหาวิทยาลัยและกลุ่มการเรียนที่เปิดสอน ซึ่งจำแนกเป็น 3 กลุ่มการเรียน ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 2 กลุ่มการเรียนในบางมหาวิทยาลัย ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลำดับต่อมาเป็นการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ โดยกำหนดลำดับที่ตามบัญชีรายชื่อนักศึกษาจากงานทะเบียนวิทยาลัย/สำนักทะเบียนและประมวลผลมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.97 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มการเรียนที่แตกต่างกันเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองในภาพรวมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีช่องทางการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองในภาพรวมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และนักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มการเรียนที่แตกต่างกันมีช่องทางการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองในภาพรวมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2561). รายงานการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. สืบค้น 26 มีนาคม 2565, จาก http://info.mhesi.go.th/info/download.php? file_id=200910091749.xlsx&stat_id=109&id_member=

จรรยามาศ ปลอดแก้ว และจักรี ไชยพินิจ. (2562). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2563, จากhttp://www.mpm.ru.ac.th/Documents/Article_MPM18/35.pdf

จิราพร รุจิวัฒนากร. (2562). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ. วารสารสาระคาม. 12(1), 64-81

จุฑารัตน์ ศราวณวงศ์, ขจร ฝ้ายเทศ, ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และวัลลภา จันทรดี. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณารักษศาสตร์ มศว. 10(2), 16-31.

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของนักศึกษาชาวไทย. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(38), 253-265.

นันทวิช เหล่าวิชยา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ทางการเมืองทัศนคติทางการเมืองและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรพรรณ จันทร์แดง. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 4(2), 44-54.

เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา. (2562). อ่านปัจจัยเลือกตั้งอีสาน เพื่อไทยยังมา แต่รอบหน้าอาจไม่แน่. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก https://prachatai.com/journal/2019/03/81761

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2563). สถาบันอุดมศึกษา. ค้นข้อมูล 25 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.mua.go.th/university-2.html

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563 . สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx

Benkler, Y. (2006). The wealth of network: How social production transforms markets and freedom. New Haven, CT: Yale University Press.

Bergstrom, Annika. & Belfrage, Maria Jervelycke. (2018). News in social media: Incidental consumption and the role of opinion leaders. Digital Journalism, 6(5), 583-598.

Brundidge, J. (2010). Encountering difference in the contemporary public sphere: The contribution of the internet to the heterogeneity of political discussion networks. Journal of Communication, 60, 680-700.

Cappe, C., E. M. Rouiller & P. Barone (2009). Multisensory anatomical pathways. Hear Res. 258 (1-2): 28-36.

Choi, J. (2016). Why do people use news differently on SNSs? An investigation of the role of motivations, media repertoires, and technology cluster on citizens' news-related activities. Computers in Human Behavior, 54, 249-256.

De Vreese, Claes H. & Neijens, Peter. (2016) Measuring Media Exposure in a

Changing Communications Environment. Communication Methods and Measures, 10:2-3, 69-80.

Dilliplane, S., Goldman, S. K., & Mutz, D. C. (2012). Televised exposure to politics: New measures for a fragmented media environment. American Journal of Political Science, 57(1), 236–248.

Jun, Najin. (2012). Contribution of internet news use to reducing the influence of selective online exposure on political diversity. Computer in Human Behavior. 28(2012), 1450-1457.

Kruikemeier, S., & A. Shehata. (2017). News Media use and Political Engagement among

Adolescents: An Analysis of Virtuous Circles Using Panel Data. Political Communication. 34 (2): 221–242.

Oeldorf-Hirsch, A., & Sundar, S. S. (2015). Posting, commenting, and tagging: Effects of sharing news stories on Facebook. Computers in Human Behavior, 44, 240-249.

Ohme, Jakob & Mothes, Cornelia (2020): What Affects First- and Second-Level Selective Exposure to Journalistic News? A Social Media Online Experiment, Journalism Studies, DOI: 10.1080/1461670X.2020.1735490

Qader, I. K. A., & Zainuddin, Y. (2011). The influence of media exposure, safety and

health concerns, and self-efficacy on environmental attitudes towards electronic

green products. Asian Academy of Management Journal, 16(2), 167–186.

Radcliffe, Damain. (2021). Audio chatroom like Clubhouse have become the hot new media by tapping into the age-old appealof the human voice. Retrieved January 2, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/349608005_Audio_chatrooms

_like_Clubhouse_have_become_the_hot_new_media_by_tapping_into_the_age-old_appeal_of_the_human_voice

Shi, Weijia & Nagler, Rebekah H. (2020). Measurement of media exposure. Retrieved March 26, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/345737317_Measurement

_of_Media_Exposure

Slater, M. D. (2004). Operationalizing and analyzing exposure: The foundation of media effects research. Journalism & Mass Communication Quarterly, 81(1), 168–183.

Sunstein, C. R. (2007). Republic 2.0.com. Princeton: Princeton University Press.

Sveningsson, Malin. (2015). It’s Only a Pastime, Really’: Young People’s Experiences of Social Media as a Source of News about Public Affairs. Social Media + Society. 1 (2): 1–11.

Thorson, Kjerstin, & Chris Wells. (2015). How Gatekeeping Still Matters: Understanding Media Effects in an Era of Curated Flows.” In Gatekeeping in Transition, edited by

Timothy P. Vos and Franc¸ois Heinderyckx, 25–44. New York: Routledge.

Vivian, J. (2001). The media of mass communication. Boston: Allyn.

Winter, S., M. J. Metzger, & A. J. Flanagin. (2016). Selective Use of News Cues: A Multiple-Motive Perspective on Information Selection in Social Media Environments. Journal of Communication. 66 (4): 669–693.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07