อิทธิพลของชื่อเสียงประเทศไทยต่อคุณค่าแบรนด์ด้านการท่องเที่ยวในมุมมองของนักท่องเที่ยวภายในประเทศ

ผู้แต่ง

  • กฤชณัท แสนทวี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ,ดร. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ชื่อเสียงประเทศ / คุณค่าแบรนด์ /การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านชื่อเสียงประเทศไทยที่มีต่อคุณค่า แบรนด์ด้านการท่องเที่ยวจากมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ อุบลราชธานี สุโขทัย พื้นที่ละ 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) พบว่า 1) ความคิดเห็นต่อชื่อเสียงประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยรวมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.29, S.D. = 0.79) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรม ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.22, S.D. = 0.67) 2) ความคิดเห็นต่อคุณค่าแบรนด์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.54, S.D. = 0.64) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยว ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.90, S.D. = 0.77) 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อชื่อเสียงประเทศไทยแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อคุณค่าแบรนด์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยแตกต่างกันทุกประเด็น (P-Value = 0.00) 4) การถดถอยพหุคูณ พบว่า แบบจำลองที่ดีที่สุดประกอบด้วย (1) ประเทศไทยมีบรรยากาศที่ดี เช่น อากาศที่บริสุทธ์ อุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นต้น (2) ประเทศไทยมีศักยภาพดูแลและปกป้องนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน (3) ประเทศไทยมีสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายสามารถพยากรณ์คุณค่าแบรนด์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ ร้อยละ 67 (R Square= 0.670)

References

กฤชณัท แสนทวี. (2562). แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 59-70.

https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/233220/160041

ภราเดช พยัฆวิเชียร.(2558). ท่องเที่ยววิถีไทย มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้อย่างไร. ในเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง ท่องเที่ยววิถีไทย, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2557). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม.

Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity. New York: Free Press.

Aaker, D. A. (1996). Building strong brand. New York: Free Press.

Berens, G.; Fombrun, C. J.; Ponzi, L. J.; Trad, N. G. and Nielsen, K. (2011). Country RepTrak™: A Standardized Measure of Country Reputation. International Place branding Yearbook 2011. Palgrave Macmillan, a division of Macmillan Publishers Limited.

Blain, C., Levy, S., and Ritchie, J. R. (2005). Destination Branding: Insights and Practices from Destination Management Organizations. Journal of Travel Research, 43(4), 328–338.

Bromley, D. B. (1993). Reputation, Image and Impression Management. Chichester:

John Wiley.

Cai, L. A. (2002). Cooperative Branding for Rural Destinations. Annals of Tourism

Research, 29(3), 720–742.

Ferris, S. P., Jagannathan, M., and Pritchard, A. C. (2003). Too Busy to Mind the Business? Monitoring by Directors with Multiple Board Appointments. The Journal of finance, 58(3), 1087-1111.

Fombrun, C. J. (1996). Reputation: Realizing Value from the Corporate Image. Harvard Business School Press Boston, Massachusetts, USA.

Fombrun, C. J. and Rindova, V. (1996). Who’s Tops and Who Decides? The Social Construction of Corporate Reputation. New York University, Stren School of Business, Working Paper.

Gnoth, J. (2002). Leveraging Export Brands through a Tourism Destination Brand. Journal of Brand Management, 9(4), 262–280.

Hanlan, J. and Kelly, S. (2005). Image Formation, Information Sources and Iconic Australian Tourist Destination. Journal of Vocation Marketing, 11(22), 163-177.

Konecnik, M., and Gartner, W. C. (2007). Customer-Based Brand Equity for a Destination. Annals of Tourism Research, 34(2), 400-421.

Lin, Z., Li, D., and Huang, W. (2003). Reputation, Reputation System and Reputation Distribution-An Exploratory Study in Online Consumer-to-Consumer Auctions. In Current Security Management & Ethical Issues of Information Technology, January, 249-266.

Mazurek, M. (2000). Tourism Destination Branding: A Competitive Marketing Strategy - Does it Really Matter? A Case Study of Kremnica, Slovakia. The 4th Graduate Research Symposium by Travel and Tourism Research Association Canada.

Morgan, N. , Pritchard, A. and Pride, R. (2001). Destination Branding: Creating the Unique Destination Proposition. Butterworth-Heinemann. 1st edition.

Papadopoulos, N. and Heslop, L. (2002). Country Equity and Country Branding: Problems and Prospects. Journal of Brand Management, 9(4-5), 294-314.

Pike, S. (2005). Tourism Destination Branding Complexity. Journal of Product & Brand Management, 14(4), 258-9.

Ritchie, J. R. and Ritchie, J. B. (1998). The Branding of Tourism Deatination. In Annual Congress of the International Association of Scientific Experts in Tourism, Morocco, 2. N.p.

Šmaižien, I. & Oržekauskas, P. (2006). Corporate Image Audit. Vadyba/ Management, 1(10), 89-96.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and RowPublications.

Uhrenholt, H. (2008). Destination Branding of NYC: Creating a Destination Brand Identity. Master’s Thesis. Faculty of Business language Aarhus University, Denmark.

Yang, S.; Shin, H.; Lee, J. and Wrigley, B. (2008). Country Reputation in Multi dimension: Predictors, Effects, and Communication Channels. Journal of Public Relations Research, 20(4), 421-440.

Yousaf, S. and Li, H. (2015). Social Identity, Collective Self-Esteem and Country Reputation: the Case of Pakistan. Journal of Product & Brand Management, 24(4), 399–411.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-06