การพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • โสภาพร กล่ำสกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ภัททราวรดา วิไลลอย อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ -

คำสำคัญ:

สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม ตำบลยางหย่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ และอาหารปลอดภัยของตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ 2) พัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และ ประเมินสื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย ที่พัฒนาขึ้นจาการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) วิเคราะห์ผลเชิงเนื้อหาใช้การเก็บข้อมูลจากการมีส่วนร่วม การสังเกต การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนา

ผลการวิจัยพบว่า

1.การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ควรใช่สื่อบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่สามารถเป็นต้นแบบการทำการเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ของดี โดยรู้แบบสื่อที่เหมาะสมต้องน่าสนใจและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ จึงมีแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบคู่มือ และฐานเรียนรู้นิทรรศการมี เพื่อประโยชน์ในการเป็นที่เรียนรู้ของชุมชน รับผู้มาศึกษาดูงานและกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกันในนามกลุ่มของชุมชนยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

2. การพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาเป็นคู่มือการทำเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย และนิทรรศการมีชีวิตในรูปแบบฐานเรียนรู้ 6 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 เรารักษ์ยางหย่อง ฐานที่ 2 ภูมิปัญญาข้าวหลามยางหย่อง  ฐานที่ 3 สวนเกษตรผักปลอดสารพิษยางหย่อง ฐานที่ 4 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักรักษ์โลกยางหย่อง ฐาน

ที่ 5 แปลงนาสาธิตข้าวปลอดสารพิษยางหย่อง และ ฐานที่ 6 โคก หนอง นา ยางหย่อง ชีวิตพอดีด้วยวิถีพอเพียง

  1. ประเมินสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัย พบว่า สื่อมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารพิษ การทำเกษตรอินทรีย์ การทำผลิตภัณฑ์อาหารของดีชุมชน และสื่อฐานการเรียนรู้สามารถเป็นที่ศึกษาดูงานของชุมชนตำบลยางหย่องได้

References

คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สำนักงานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564): กรุงเทพฯ.

ชัชรี นฤทุม. (2551).การพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

ทองเปลว กองจันทร์. (2564) . “Agri challenge Next Normal 2022”. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:กรุงเทพฯ .

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2552). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. ไทยวัฒนาพานิชย: กรุงเทพฯ

ราชบัณฑิตยสถาน.(2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. อักษรเจริญทัศน์ :กรุงเทพฯ

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2562). การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในผู้สูงอายุ. เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2565 จาก : https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge.html.

Assael, H. (1985). Consumer behavior and marketing action. New York: South-Western;

Atkin, Charles K.( 1973). New Model for Mass Communication Research. New York: The Free Press.

Dimmick, Chen, Li . (2004). Competition Between the Internet and Traditional News Media: The Gratification-Opportunities Niche Dimension .The Journal of Media Economics 2004

Mansour, I. H. F. (2015). Beliefs and attitude towards social network advertising: A cross-cultural study of Saudi and Sudanese female students

Pearse, Amdrew chemoche & Stiefel, Malthias.(1979). Inquiry into pathicipation : aresearch approach Geneva ; United Research Institule for Social Development

Robbins, Stephen P. Organization Behavior. 10 th ed. (2003). Upper Saddle River, New Jersey : Pearson Education

Rogers, Everett M., with F. Floyd Shoemaker. (1971). Communication of Innovation.: New York – The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07