ภาพตัวแทนตัวละครชายที่ปฏิเสธอำนาจควบคุมของสังคมในภาพยนตร์แก๊งสเตอร์ไทย
คำสำคัญ:
ภาพตัวแทน, ตัวละครชายที่ปฏิเสธอำนาจควบคุมของสังคม, ภาพยนตร์แก๊งสเตอร์ไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “ภาพตัวแทนตัวละครชายที่ปฏิเสธอำนาจควบคุมของสังคมในภาพยนตร์แก๊งสเตอร์ไทย” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างภาพตัวแทนของตัวละครชายที่ปฏิเสธอำนาจควบคุมของสังคมในภาพยนตร์แก๊งสเตอร์ไทย และศึกษาการถอดรหัสความหมายของกลุ่มตัวอย่างผู้รับสารที่มีประสบการณ์ตรงด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)
ผลการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์แก๊งสเตอร์ไทยได้ประกอบสร้างตัวละครชายที่ปฏิเสธอำนาจควบคุมของสังคมผ่านองค์ประกอบทางด้านการเล่าเรื่องและองค์ประกอบทางด้านคุณลักษณะของตัวละครซึ่งอยู่ภายใต้ชุดอุดมการณ์ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือ ชุดความหมายของอุดมการณ์หลัก (Dominant Ideology) จากด้านของกรอบบรรทัดฐานทางสังคม (Norms) อีกรูปแบบหนึ่งคือ ชุดความหมายของอุดมการณ์ต่อต้าน (Counter Ideology) จากด้านของมนุษย์ปัจเจกผู้กระทำการ (Human agency) โดยกลวิธีของชุดอุดมการณ์ต่อต้านที่สร้างความชอบธรรมให้กับตัวละครในลักษณะของการเป็นพื้นที่ “สีเทา” ซึ่งทำงานซุกซ่อนอยู่ภายใต้ชุดอุดมการณ์หลัก ประกอบด้วยกลวิธีดังต่อไปนี้ 1. การประกอบสร้างภาพตัวละครวัยรุ่นในฐานะของคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคม 2. การประกอบสร้างความเป็นชายในอุดมคติแต่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานทางสังคม 3. กลวิธีการผสมผสานทั้งด้านการผนวกรวม (Inclusion) และการลงโทษ (Exclusion) 4. ชัยชนะในช่วงต้นก่อนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงปลาย 5. ต่อต้านในบางประเด็นและยอมรับในบางประเด็น 6. กลวิธีอ้างอิงเรื่องราวจากอดีตแต่ให้คนในปัจจุบันดู
ในส่วนของการถอดรหัสความหมายของผู้รับสารที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับนักเลง อันธพาล พบว่า ข้อสังเกตจากการถอดรหัสของกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ตรงในโลกความเป็นจริงนั้นมีขอบเขตที่กว้างกว่าสิ่งที่ภาพยนตร์นำเสนอ ทั้งนี้ถึงแม้ว่าภาพตัวแทนของนักเลง อันธพาลในภาพยนตร์จะมีบางส่วนที่เป็นจริงแต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดเช่น ในบางประเด็นถึงจะเลวแต่ก็ไม่ได้เลวสุดขั้ว หรือในบางประเด็นก็อาจจะเลวกว่าในภาพยนตร์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างผู้รับสารทั้งหมดได้เลือกต่อรองความหมายก็เนื่องจากว่า กลุ่มพวกเขานั้นไม่ได้ถอดรหัสเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของภาพยนตร์แต่เลือกที่จะถอดรหัสต่อรองความหมายก็เพื่อต้องการตอกย้ำให้เห็นว่า พวกเขานั้นคือใคร มีอัตลักษณ์เป็นเช่นไร เพื่อแสดงถึงความมีตัวตนหรือที่ยืนในสังคม
References
กฤตยา ณ หนองคาย. (2556). พระเอกและผู้ร้ายในภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทย : การวิเคราะห์ลักษณะการผสมผสานทางวัฒนธรรม [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.car.chula.ac.th/
กาญจนา แก้วเทพ, และสมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสาร การศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). อินทนิล.
กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์. (2551). ภาพตัวแทนคนจนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://library.tu.ac.th/th
ณัฐ สุขสมัย. (2551). การสร้างความหมายใหม่ของ “วีรบุรุษและยอดวีรุบุรุษ” ในภาพยนตร์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.car.chula.ac.th/
ทิตย์อาภา คงคาสุริยฉาย. (2558). กระบวนการสร้างความเป็นจริงของตัวละครวัยรุ่นในละครโทรทัศน์ กรณีศึกษา ซีรีย์ละครโทรทัศน์เรื่อง ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://library.tu.ac.th/th
ทีมข่าวสด. (2560, 20 กรกฏาคม). นักเรียนนักเลง ยกพวกตีกันเป็นประจำ ชาวบ้านสุดเอือมระอา เข้าไปห้ามโดนขู่ทำร้าย. ข่าวสด. https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_447204
นลินทิพย์ เนตรวงศ์. (2559). ภาพตัวแทน “ผู้ชายในฝัน” ในละครโทรทัศน์แนวโรมานซ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://library.tu.ac.th/th
บงกช เศวตามร์. (2533). การสร้างความเป็นจริงทางสังคมของภาพยนตร์ไทยกรณีตัวละครหญิงที่มีลักษณะเบี่ยงเบนปี พ.ศ. 2528-2530 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.car.chula.ac.th/
พรชนก บุญโพธิ์แก้ว. (2558). ทัศนะของนักสังคมสงเคราะห์ที่มีต่อปัจจัยการเข้าสู่วงจรค้าประเวณีของเด็กและเยาวชน กรณีศึกษานักสังคมสงเคราะห์ที่ให้บริการเด็กและเยาวชนในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://library.tu.ac.th/th
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง (พิมพ์ครั้งที่ 1). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย สอนเรือง. (2562, 21 ตุลาคม). วงจรปิดกลุ่มชายฉกรรจ์ยกพวกตีกันยับ เขย่าขวัญนทท.เผ่นหนีกระเจิง ทำเสียภาพลักษณ์เมืองพัทยา. สยามรัฐ. https://siamrath.co.th/n/110351
วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ. (2549). การวิเคราะห์ลักษณะบุคคล ของผู้เป็นแบบปกนิตยสาร GM ในช่วงปี 2528-2548.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://library.tu.ac.th/th
ศิริกมล อธิวาสนพงศ์. (2547). การถ่ายทอดอุดมการณ์ความเป็นชายผ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หน้า 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://lib.dpu.ac.th
สหะโรจน์ กิติมหาเจริญ. (2551). สุภาพบุรุษ ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.car.chula.ac.th/
สิรภพ แก้วมาก. (2554). การสร้างตัวละครหลักและกลวิธีการเล่าเรื่องชายรักชายในสื่อบันเทิงไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.car.chula.ac.th/
Buchanan, I. (2010). A Dictionary of Critical Theory (1 ed.). Oxford : Oxford University Press.
Rafter, N. (2006). Shots in the mirror: Crime films and society (2d ed.). New York : Oxford University Press.
Shadoian, J. (2003). Dreams and dead ends: The American gangster film (2d ed.). Oxford : Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....