กลยุทธ์การออกแบบสารเพื่อสื่อสารวัฒนธรรมไทยในรายการคุณพระช่วย
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การออกแบบสาร, การสื่อสารวัฒนธรรม, คุณพระช่วย, รายการโทรทัศน์บทคัดย่อ
รายการคุณพระช่วยเป็นรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและอยู่คู่คนไทยมากว่า 18 ปี ผ่านการออกแบบสารที่สร้างสรรค์ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการเพื่อขยายฐานกลุ่มผู้ชมที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นจนเกิดเป็นกระแสที่น่าสนใจ จึงนำมาสู่บทความวิชาการชิ้นนี้ที่ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า “รายการคุณพระช่วย” มีกลยุทธ์การออกแบบสารเพื่อสื่อสารวัฒนธรรมไทยอย่างไร จากการศึกษาข้อมูล 3 ส่วน ประกอบกัน คือ 1. การวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) โดยศึกษารายการคุณพระช่วย ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนเมษายน พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งหมด 17 ตอน 2. การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) โดยศึกษาจากหนังสือ เอกสารวิชาการ ข่าวจากเว็บไซต์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ และ 3. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยศึกษาจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตรายการคุณพระช่วย
จากการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การออกแบบสารเพื่อสื่อสารเนื้อหาด้านวัฒนธรรมไทยที่รายการคุณพระช่วยใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้ชม โดยเฉพาะการขยายฐานกลุ่มผู้ชมวัยรุ่นให้เข้ามารับชมเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทย โดยมี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. กลยุทธ์การออกแบบสารให้หลากมิติ 2. กลยุทธ์การออกแบบสารให้ทันกระแส 3. กลยุทธ์การออกแบบสารให้จับต้องได้ และ 4. กลยุทธ์การออกแบบสารให้สืบสานและต่อยอด โดยทั้ง 4 กลยุทธ์นั้นอยู่ภายใต้แนวคิดหลักของรายการที่ว่า “วัฒนธรรมวาไรตี้” ที่ผู้ชมทุกเพศ ทุกช่วงวัยสามารถรับชมและเข้าใจร่วมกันได้
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565, จาก https://www.mculture.go.th/th/article_view.php?nid=3092
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). เมื่อสื่อส่องและสร้างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศาลาแดง.
จันทนา เพชรพรหม. (2548). การนำเสนอเอกลักษณ์ “ความเป็นไทย” ในรายการ คุณพระช่วย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7980
ณัฐวุฒิ มีสกุล. (2562). การถ่ายทอดวัฒนธรรมเกาหลีผ่านสื่อละครเกาหลี. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(2), 206-218.
สำนักข่าวไทยแลนด์พลัส ออนไลน์. (2564). วธ.ปรับภาพลักษณ์วิสัยทัศน์ขับเคลื่อนงานในปี 2565 เป็น “กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ” ที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ใช้วัฒนธรรม–ความคิดสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565, จาก https://www.thailandplus.tv/archives/427059.
สำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2564). โครงการศึกษา “วัฒนธรรมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565, จาก https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=143882
Nye, J.S. (2011). The future of power. New York. Public Affairs. Retrieved from https://www.academia.edu/23946693/THE_FUTURE_OF_POWER
สัมภาษณ์
จิรศักดิ์ ก้อนพรหม. รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ/กำกับเนื้อหายการ. (21 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.
พีรพัทธ์ เสนานุชรัชต์. โปรดิวเซอร์รายการคุณพระช่วย. (12 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.
ธนโชติ ดีลี. ครีเอทีฟรายการคุณพระช่วย. (12 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.
พัชรี อิสาน. ครีเอทีฟรายการคุณพระช่วย. (12 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....