การสื่อสารประทุษวาจาทางการเมืองไทยบนเฟซบุ๊ก
คำสำคัญ:
การสื่อสาร , ประทุษวาจาทางการเมือง , เฟซบุ๊กบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวที่สำคัญการเมืองมีผลต่อการผลิตประทุษวาจาที่เกี่ยวข้องกับบริบทการเมืองที่พบในเฟซบุ๊กเพจ เชียร์ลุงตู่มาอยู่กลุ่มนี้1 และเพจของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม อย่างไร และเพื่อศึกษาประทุษวาจาที่เกี่ยวข้องกับบริบทการเมืองที่พบในเฟซบุ๊กเพจ เชียร์ลุงตู่มาอยู่กลุ่มนี้1 และเพจของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม มีลักษณะเนื้อหาอย่างไร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกนำความคิดเห็นข้อเสนอแนะมาถอดรหัสเป็นชุดคำประทุษวาจา เพื่อนำมาวิเคราะห์กับเนื้อหา 2 เพจ คือเชียร์ลุงตู่มาอยู่กลุ่มนี้1 และกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 3 ช่วงปรากฎการณ์สำคัญ ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 23 ตุลาคม 2564
ผลการวิจัยพบว่า ปรากฎการณ์ที่สำคัญทางการเมืองซึ่งส่งผลต่อการผลิตประทุษวาจาที่พบจาก 2 เพจ แบ่งได้เป็น 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การเปิดรับข้อมูลที่สะท้อนอยู่เฉพาะภายในกลุ่มของตน(Echo chamber) ส่งผลต่อประทุษวาจาทางการเมือง 2) สงครามปฏิบัติข้อมูลข่าวสารสีดำ(Fake News) นำมาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารด้อยค่าฝ่ายตรงข้าม 3)ความคาดหวังในการต่อต้านประทุษวาจาด้วยการสื่อสารประเด็นทางการเมืองอย่างมีเหตุและผล ( Counter / Hate) Speech) 4) การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ (Social media Literacy) ส่งผลต่อการลดทอนประทุษวาจาของผู้รับสารเพจการเมือง
ด้านการวิเคราะห์เนื้อหาประทุษวาจาจาก 2 เพจ โดยเกณฑ์การแบ่งระดับการสื่อสารเป็น 4 ระดับ คือ ระดับที่ 1 แสดงความเกลียดชัง ซึ่งมีการสื่อสารมากที่สุดทั้ง 2 เพจ ระดับที่ 2 ตั้งใจแบ่งแยก ระดับที่ 3 ปฎิเสธการอยู่ร่วมกัน ซึ่งมีการสื่อสารระดับรองลงมา และระดับที่ 4 ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีเลยทั้ง 2 เพจ อาจเป็นเพราะประทุษวาจาทางการเมืองไทยกับต่างประเทศแตกต่างด้วยบริบททางอัตลักษณ์และด้านวัฒนธรรมมากกว่าจึงไม่มีถึงระดับที่ 4 ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาควรเริ่มจากสื่อสาธารณะและภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างวัจนกรรมและอวัจนกรรมที่ต่อต้านหรือแก้ไขความเข้าใจผิดประทุษวาจาทางการเมืองจากเฟซบุ๊ก รวมถึงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ลดทอนแนวทางการอยู่ในห้องเสียงสะท้อนของตนเอง รวมถึงการสร้างข่าวปลอมที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร
References
กิติมา สุรสนธิ. (2555). การรู้เท่าทันสื่อกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 6(2), 43-62. https://commarts.dpu.ac.th/journal/upload/issue/hwxk1GnK52.pdf
ชาญชัย ชัยสุโกศล. (2554). Hate speech และข้อมูลที่เป็นอันตราย: ทางเลือกและวิธีตอบโต้ทางการเมือง. https://chaisuk.files.wordpress.com/2011/06/hate-speech-alternative-respond-presentation-feb1811.pdf
นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 209-219. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/45702/37819
พิรงรอง รามสูต. (2558). ประทุษวาจากับโลกออนไลน์. มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา (โครงการจัดพิมพ์คบไฟ).
พิรงรอง รามสูต และคณะ. (2556). การกำกับดูแลสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรารัตน์ ทักษิณวราจาร. (2554). การสื่อสารทางการเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(2), 217-222. https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_11/pdf/aw29.pf
วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2555). ปรากฏการณ์ทางการสื่อสารยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 18(2), 212-220.
วาทะแห่งความเกลียดชัง. (2558, 16 มกราคม). คม ชัด ลึก. http://www.komchadluek.net/news/scoop/199566
Cortese, A. (2006) Opposing hate speech. Praeger.
Potter, W. J. (1998). Media literacy. Sage.
Silver Bratt & Baran (2003). Internet co-regulation: Eeuropean law, regulatory governance and legitimacy in cyberspace.
Walker, S. (1994). Hate speech: The history of an American controversy. Lincoln, Nebraska and London: University of Nebraska Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....