ความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯ

ผู้แต่ง

  • ตระหนักจิต ยุตยรรยง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ค่อนข้างดีและมีประสบการณ์เชิงบวกในการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยใช้เพื่อผ่อนคลายเหงาและติดต่อรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนและญาติ และการติดตามข่าวสารต่างๆ โดยมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ มากที่สุด รองลงมาคือ เฟซบุ๊ก นอกจากนี้พบว่า เพศและระดับการศึกษามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์  แบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้  1. กลุ่มเพศหญิงที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับการใข้สื่อสังคมออนไลน์ มีการใช้ทั้งแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก   2. กลุ่มเพศชายที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป  มีความคิดเห็นในเชิงบวกเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ ใช้แอปพลิเคชันไลน์เป็นประจำ มีบัญชีเฟซบุ๊กแต่ไม่ค่อยใช้  3. กลุ่มเพศชายและเพศหญิงที่มีการศึกษาต่ำกว่ามัธยมต้น  มีความคิดเห็นในเชิงบวกเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์  มีการใช้แอปพลิเคชันไลน์เป็นประจำ ไม่ค่อยใช้เฟซบุ๊ก

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564. จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/115

เผยผลสำรวจการรู้เท่าทันสื่อของคนไทยพบ “กลุ่มคนทำงาน-ผู้สูงอายุ” คะแนนต่ำแพ้เด็กและเยาวชนออนไลน์. เข้าถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565,จาก https://www.thaimungnews.com/?p=17025

จิราพร เกศพิชยวัฒนา. 2562, การศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิต่อผู้สูงอายุในไทย. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงทพฯ.

ธาม เชื้อสถาปนสิริ และคณะ. 2553, การรู้เท่าทันสื่อ กรุงเทพฯ. ออฟเซ็ต ครีเอชั่น.

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. 2562, วิจัยการตลาดกับกลุ่มผู้สูงอายุ 55-70 ปี. นครปฐม: สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และ ญาศินี เคารพธรรม. 2560, สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย วารสาร นิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. ปีที่ 11 (2) หน้า 367-385.

สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ นันทิยา ดวงภูมเมศ และ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. 2563, สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (174-191) กันยายน-ธันวาคม 2563.

อดุลย์ เพียรรุ่งโรจน์. 2543, การศึกษาแนวคิดเพื่อกำหนดตัวแปรความรู้เท่าทันสื่อ สำหรับการวิจัยสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภาษาอังกฤษ

อธิชา วุฒิรังสี. 2564. “การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลชองผู้สูงอายุ” วารสารสหศาสตร์. 21(1):90-106; มกราคม – มิถุนายน 2564.

Center for Media Literacy. 2008. Literacy for the 21st century: An overview & orientation guide to media literacy education (2nd ed.). Malibu, CA: Center for Media Literacy.

Hern, A. 2019. Older people more likely to share fake news on Facebook, study finds. Retrieved September 14, 2019, from https://www.theguardian.com/technology/2019/jan/10/older-people-more-likely-to-share-fake-news-on-facebook.

Potter, W. J. 2010. The State of Media Literacy. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 54(4), 675–696. doi:10.1080/08838151.2011.521462. ISSN 0883-81

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-06