ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการเลือกรับชมการแข่งขันกีฬาเพาะกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ อ่อนน้อม นักศึกษาปริญญาโท นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การเลือกรับชม, การแข่งขันกีฬาเพาะกาย, Gen Y

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการเลือกรับชมการแข่งขันกีฬาเพาะกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแรงจูงใจในการเลือกรับชมการแข่งขันกีฬาเพาะกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาการเลือกรับชมการแข่งขันกีฬาเพาะกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการเลือกรับชมการแข่งขันกีฬาเพาะกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ที่เคยรับชมการแข่งขันกีฬาเพาะกาย มีอายุช่วงระหว่าง 23 – 39 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 146 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจในการเลือกรับชมของกลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่คือ คุณภาพและมาตรฐานของการแข่งขันกีฬาเพาะกาย เนื่องจากมีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงที่เข้าร่วมการแข่งขัน 2) การเลือกรับชมการแข่งขันกีฬาเพราะกาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเลือกเปิดรับ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารตารางกำหนดการแข่งขันกีฬาเพาะกายผ่านช่องทางออนไลน์ 3) แรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับการเลือกรับชมการแข่งขันกีฬาเพาะกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1251

งามภา ฐิติพรรณกุล. (2543). การเปิดรับรายการวาไรตี้โชว์การระลึกถึงตราสินค้า และทัศนคติที่มีต่อป้ายตราสินค้าที่ให้สปอนเซอร์ในรายการวาไรตี้โชว์ทางโทรทัศน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูรย์. (2544). การเปิดรับข่าวสารความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับเพศศึกษาของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พุทธธิดา พุทธเจริญ. (2558). อิทธิพลของโฆษณาแฝงผ่านสื่อออนไลน์ต่อกลุ่มผู้บริโภค ยุคเจเนอเรชั่น วาย (Generation Y). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยลัยมหิดล.

ยุพดี ฐิติกุลเจริญ. (2537). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

สมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย. (2560). ประวัติความเป็นมา. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://tbpa.or.th/

สุริยา ประดิษฐ์สถาพร และ ประชัน วัลลิโก. (2558). การพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารการกีฬาในประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 33(1), 105-106.

สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2527). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: รุ่งวัฒนาการพิมพ์.

Al-Thibiti, Y. (2004). A Scale Development for Sport Fan Motivation.Unpublished doctoral

dissertation, Florida State University, Tallahassee, United States of America.

Atkin. C.K. (1973). New model for mess communication resend. New York: The Free Press.

Defleur, M. L. & Ball-Rokeach, S. J. (1996). Theories of mass communication. London: Longman.

Klapper, Joseph T. (1960). The effects of mass communication resend. New York: The Free Press.

Liu, M. H. (2013). Research on the strategy of China National Rhythmic Gymnastics team athlete media image shaping. Unpublished master’s thesis. Beijing Sport University. Beijing.

Samuels, F. (1984). Human needs and behavior, Cambridge, MA: Schnenkman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-06