ภาพสะท้อนสังคมไทยจากการสื่อสารในเดี่ยวไมโครโฟน อุดม แต้พานิช ครั้งที่ 1 – 12

ผู้แต่ง

  • พราวตา ศรีวิชัย -
  • พิมลพรรณ ไชยนันท์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

เดี่ยวไมโครโฟน, อุดม แต้พานิช, ภาพสะท้อนสังคมไทย

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาที่ถูกนำมาถ่ายทอดและภาพสะท้อนสังคมไทยผ่านการสื่อสารจากเดี่ยวไมโครโฟน อุดม แต้พานิช ครั้งที่ 1 – 12  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ที่เชื่อมโยงกับบริบทของสังคมไทย (Context) จนเกิดเป็นภาพสะท้อนสังคมไทยจากเดี่ยวไมโครโฟน อุดม แต้พานิช ครั้งที่ 1 - 12 ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทของสังคมที่มีการถ่ายทอดมากที่สุด 4 อันดับ คือ ด้านค่านิยม ได้แก่ ลักษณะพฤติกรรม กระแสความนิยมของคนในสังคม วงการบันเทิง ต่างประเทศ ข่าวสารเหตุการณ์ และเทคโนโลยี สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมาคือ ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของคนในสังคม ได้แก่ ประสบการณ์ของตนเองและคนรอบข้าง ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต วงการบันเทิง ทัศนคติและมุมมองของคน ผู้หญิงและผู้ชาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม และลักษณะของผู้ชมเดี่ยวไมโครโฟน อับดับต่อมา คือ ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ได้แก่ บริบททางวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ และลำดับต่อมา คือ ด้านเทคโนโลยี ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร นวัตกรรม การบันทึกข้อมูล และระบบออนไลน์

ภาพสะท้อนสังคมไทยจากการสื่อการในเดี่ยวไมโครโฟน พบว่า ด้านค่านิยม สะท้อนถึงความต้องการ
“มีตัวตน” ของคนหรือกลุ่มคนในสังคมไทย ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของคนในสังคม สะท้อนถึงลักษณะของการหาทาง “อยู่รอด” จากปัญหาในการใช้ชีวิตของคนในสังคมไทย ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความเชื่อของคนในสังคมไทยที่เกี่ยวกับวิญญาณ พระพุทธศาสนา และไสยศาสตร์
ด้านเทคโนโลยี สะท้อนถึง “ความลำบาก” ในการปรับตัวกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อน จนถึงปัจจุบัน โดยอุดม แต้พานิช ได้มีการถ่ายทอดอุดมการณ์ผ่านการสร้างความหมายใหม่ให้กับสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม และพฤติกรรมของคนในสังคม ผ่านกลวิธีการล้อเลียนจากสิ่งที่ปรากฏอยู่จริงในสังคมที่สร้างความเข้าใจ ยอมรับ และเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคม

References

กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยขุนพล. (2556). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์. (2546). วาทนิเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนวัตร มัททวีวงศ์. (2559). การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วรพงษ์ ไชยฤกษ์. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์: มุมมองใหม่ในการวิจัยทางภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(1), 135-162.

วิภาพร กล้าวิกย์กิจ. (2548). อารมณ์ขันในข้อความสั้นสำเร็จรูป. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทร์วิโรฒ).

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2543). วาทนิเทศและวาทศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

สุพิศ เอื้องแซะ. (2560). ภาพสะท้อนสังคมและกลวิธีการนําเสนอเรื่องสั้นในนิตยสาร “คู่สร้างคู่สม”.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่).

สุวรรณา งามเหลือ. (2559). การศึกษาวิเคราห์ภาพล้อสังคมไทยในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 50-79.

อรกัญญา อนันต์ทรัพย์สุข. (2559). ถ้อยคำนัยผกผันในการแสดงเดี่ยวไมโครโฟนครั้งที่ 7-10 ของอุดม

แต้พานิช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

อำนาจ ปักษาสุข. (2562). วาทกรรมเกี่ยวกับบุญในสื่อสาธารณะ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Colleen Frances Manwell. (2008). Stand-up Comedy As a tool for Social Change. (Thesis for B.A.

Degree, The Department of English, University of Michigan).

จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์ (2559, สิงหาคม 16). อุดม แต้พานิช ชีวิตหมู่นี้ของ Stand-up Comedy มือหนึ่ง. [เว็บบล็อค]. สืบค้นจาก https://adaymagazine.com/dialogue-16

จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์ (2561, พฤษภาคม 3). อุดมศึกษา. [เว็บบล็อค]. สืบค้นจาก https://readthecloud.co/thoughts-23/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06