The การใช้สื่อเฟซบุ๊กในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2564

ผู้แต่ง

  • สุชารัตน์ สถาพรอานนท์ -
  • มาโนช ชุ่มเมืองปัก

คำสำคัญ:

การใช้สื่อเฟซบุ๊ก, การเคลื่อนไหวทางการเมือง, คนรุ่นใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของเฟซบุ๊กในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในช่วงปี พ.ศ.2563 – 2564 และ 2) ศึกษากลวิธีของคนรุ่นใหม่ในการใช้เฟซบุ๊กในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2564  เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาของเพจเฟซบุ๊กที่ถูกใช้เพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองจำนวน 3 เพจ และสัมภาษณ์ผู้ผลิตเนื้อหาในเพจเฟซบุ๊กหรือผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ (Online Influencer) และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและการเคลื่อนไหวภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 7 คน

ผลการวิจัยพบว่า บทบาทเฟซบุ๊กในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ปรากฏอยู่ 4 บทบาท ได้แก่ 1) บทบาทในฐานะช่องทางการสื่อสาร (Channel) โดยมีลักษณะของการเป็นจุดศูนย์รวม (Hub) ของกลุ่มในการขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวทางการเมือง 2) บทบาทในฐานะพื้นที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มแต่ละกลุ่ม 3) บทบาทในฐานะปริมณฑลสาธารณะโดยมีการเปิดประเด็นอ่อนไหวในสังคมไทยให้คนสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกับคนที่มีแนวคิดเหมือนกันได้อย่างอิสระมากขึ้น และ 4) บทบาทในฐานะคลังจดหมายเหตุ (Archive) เพื่อบันทึก “ความจริง” ในการต่อสู้ทางการเมืองของคนรุ่นใหม่

สำหรับกลวิธีของคนรุ่นใหม่ในการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง พบว่ามีอยู่ 4 กลวิธี ได้แก่ 1) กลวิธีด้านเนื้อหาในการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมีการนำเสนอสารที่แข็งแรง ผ่านรูปแบบที่เหมาะแก่การรับรู้และแชร์ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ 2) กลวิธีในการใช้ผู้มีอิทธิพล (Influencer) เช่น การนำเสนอเรื่องราวของแกนนำที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย 3) กลวิธีในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับสารโดยใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัล และ 4) กลวิธีการสื่อสารแบบทันทีทันใด (Real time) เพื่อ “จับตา” ฝ่ายตรงกันข้าม และเตรียมตอบโต้การต่อสู้ของฝ่ายตรงข้าม

 

คำสำคัญ: การใช้สื่อเฟซบุ๊ก, การเคลื่อนไหวทางการเมือง, คนรุ่นใหม่

References

กฤชนัท แสนทวี. (2557). เครือข่ายสังคมออนไลน์: มุมมองใหม่ของพื้นที่สาธารณะ และภาคประชาสังคม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2(2), 19-35. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/93070

กานต์ บุญศิริ. (2564). กลยุทธ์การใช้สื่อใหม่ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่. https://bitly.ws/TJoB

กุสุมา กูใหญ่. (2556, 5 พฤษภาคม). แนวคิดพื้นที่สาธารณะ. http://kusumakooyai.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

ชยุตม์ พันธุ์สุวรรณ. (2562). ขบวนการนักศึกษาหายไปไหน: การเปลี่ยนแปลงของขบวนการนักศึกษาไทยในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. 2549 – 2557 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Library and Information Center.

NIDAhttp://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2561/b205809.pdf?fbclid=IwAR312nFIrZv_1_dU5MldSuF3a6Ira1RWl0OriM3ADHeP4CLGP1ya0DS75f8

ชลธิชา แจ้งเร็ว. (2563, 18 มิถุนายน). วิถีการต่อต้านโดยคนรุ่นใหม่ในโลกออนไลน์: ขบวนการนักศึกษาไทยกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุคโควิด. Coconet. https://coconet.social/2020/thailand-student-online-activism-mobfromhome/index.html

ชวิตรา ตันติมาลา. (2560). พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม. บรรณศาสตร์ มศว, 10(1), 92-103. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9947/8439

ชัยพงษ์ สำเนียง. (2564). การเมืองดิจิทัล: การเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของคนกลุ่มใหม่ในโลกเสมือน.

วารสารพัฒนศาสตร์, 4(2), 1-35. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/256499

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิภาษา.

ธนวรรต อุ่นพัฒนาศิลป์. (2561). รูปแบบของเนื้อหาบนเฟซบุ๊กที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกดถูกใจของวัยรุ่นไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น]. ศูนย์วิทยบริการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. http://library.tni.ac.th/thesis/upload/files/SME%202018/Tanawat%20Unpattanasin%20Thesis%20SME%202018.pdf

ธนศักดิ์ สายจำปา. (2559). สื่อสังคมออนไลน์กับการประท้วงรูปแบบใหม่: ประเด็นท้าทายทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคม. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 1(1), 77-95. 1-35.

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). แมสมีเดีย.

ปรากฏการณ์ ‘พลังนักศึกษา’ พรึบทั่วประเทศ. (2563, 26 กุมภาพันธ์). มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/politics/news_2005103

พาณิชย์ สดสี. (2561). แนวทางการป้องกันและมาตรการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จในเฟซบุ๊ก [งานวิจัย, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

พิจิตรา สึคาโมโต้. (2561). สื่อไทยในวิกฤต การเมืองเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีปั่นป่วน. โครงการตำรา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2563, 4 สิงหาคม). การเมืองเยาวชนร่วมสมัย. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/article/news_2291668

พิรงรอง รามสูต, พิมลพรรณ ไชยนันท์, และ วิโรจน์ สุทธิสีมา. (2563). ห้องแห่งเสียงสะท้อนออนไลน์กับผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG6240022

รพีพร ธงทอง. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองสมัยใหม่ของเด็กและเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 16(1), 27-40. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/248831

รุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์. (2563). ปริมณฑลสาธารณะกับการใช้ทวิตเตอร์เพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชน ในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2564. วารสารจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(2), 71-82. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/250635

วุฒิพร ลิ้มวราภัย และ สุวิชา เป้าอารีย์. (2563). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์: กรณีศึกษาโพสต์ทูเดย์และแนวหน้า. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 116-118.

สุรศักดิ์ ศรีธรรมกุล. (2563). การเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 85-97. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/247520

Flanagan, C. (2008). Young people's civic engagement and political development. In

Handbook of youth and young adulthood. Routledge. https://www.researchgate.net/publication/228381036_Young_people's_civic_engagement_and_political_development

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06