ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคสั่งอาหารประเภทชาบูผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน Food Delivery
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคสั่งอาหารประเภทชาบูผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน Food Delivery
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด 4Es, อาหารประเภทชาบู, ฟู้ด ดิลิเวอรี่, การออกแบบโมบายแอปพลิเคชันบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคสั่งอาหารประเภทชาบูผ่านโมบายแอปพลิเคชัน Food Delivery และเพื่อทดสอบข้อมูลที่ได้จากการศึกษา 4Es นำมาออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน Food Delivery โดยการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงทดลอง ในการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาสู่การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปพัฒนาการออกแบบโมบายแอปพลิเคชันให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยเรื่องส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix 4Es) ในด้านการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค (Experience) พบว่า ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายในการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Food Delivery เพื่อที่จะได้รับประทานร่วมกับครอบครัวหรือเพื่อนที่ทำงานและได้รับประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน ด้านการสร้างความคุ้มค่า (Exchange) พบว่า รายการอาหารในแต่ละรายการนั้นมีปริมาณที่เหมาะสมรวมไปถึงสร้างความคุ้มค่ากับเงินที่ผู้บริโภคจ่ายไป ด้านการเข้าถึงผู้บริโภค (Everywhere) พบว่า ช่องทางในการขายผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกผ่านโมบายแอปพลิเคชันสามารถเลือกที่จะสั่งอาหารในแต่ละร้านได้ง่าย ด้านการสร้างลูกค้าขาประจำ (Evangelism) พบว่า การสร้างแบรนด์ของร้านอาหารให้มีคุณภาพทำให้ผู้บริโภคได้รับของที่มีคุณภาพจึงมีการสื่อสารปากต่อปากให้กับผู้บริโภคคนอื่นๆ ทำให้เกิดการสั่งสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการออกแบบและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน Food Delivery ให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน Food Delivery มากที่สุด ผลทดสอบการใช้งานของผู้บริโภคด้าน User Experience (UX) และ User Interface (UI) พบว่า ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้สะดวกสบายขึ้นโดยมีการจัดวางรูปแบบและรูปภาพเนื้อหาโฆษณาที่ใช้งานง่าย การตอบสนองต่อการใช้งานที่รวดเร็วขึ้น การรองรับการเข้าถึงได้อย่างไม่มีอุปสรรคสามารถนำมาประยุกต์กับธุรกิจ Food Delivery ได้เป็นอย่างดี
References
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702031690_2852_1783.pdf
ปวีณา โชติมณีวงศ์. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการเลือกใช้บริการส่งถึงบ้านศึกษากรณีธุรกิจฟาสต์ฟู้ด. บริหารธุรกิจรังสิต, 3(5), 63-80.
ปุญญภพ ตันติปิฎก และ ภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล. (2564, 2 พฤศจิกายน). อินไซด์ธุรกิจ Food delivery: เดินหน้าขยายตลาดพร้อมบริการที่หลากหลาย. Scbeic. https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/ 7906/g3uws6soy7/EIC_Note_Food-delivery_20211102.pdf
ลลิตา ณ หนองคาย. (2560). Mobile website VS mobile application แบบไหนคือทางเลือกสำหรับองค์กรคุณ. วารสาร TPA News ข่าว ส.ส.ท., 20(230), 10-12. https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/106/ContentFile2080.pdf
วสิทธิ์ สถิตวรพงศ์. (2560, 12 เมษายน). “Google” เผย “สถิติ-ข้อมูล” น่าสนใจ ว่าด้วย “คนไทย” กับการใช้ “อินเทอร์เน็ต”. มติชนสุดสัปดาห์. https://www.matichonweekly.com /column/article_31336
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565, 16 ธันวาคม). ธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พักปี 2566 อาจหดตัว ท่ามกลางโจทย์ท้าทายในการรักษายอดขายของผู้ให้บริการเพลตฟอร์ม food delivery (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3371). https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Food-Delivery-z3371.aspx
สาวิตรี รินวงษ์. (2560, 26 กุมภาพันธ์). “บุฟเฟต์” มาแรงยุคอู้ฟู่ แบบกําจัดงบ. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbi znews.com/news/detail/742264.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญ: สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. กองสถิติพยากรณ์.
สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศีล. (2554). แนวโน้มการใช้โมบายแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร, 31(4), 110-115.
Epuran, G., Ivasciuc, I. S., & Micu, A. (2015). From 4P's to 4 E's–How to avoid the risk of unbalancing the marketing mix in today hotel businesses. Annals of Dunarea de Jos University of Galati Fascicle I Economics and Applied Informatics, 21(2), 78-85.
Festa, G., Cuomo, M. T., Metallo, G., & Festa, A. (2016). The (r)evolution of wine marketing mix: From the 4Ps to the 4Es. Journal of Business Research, 69(5), 1550–1555. https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2015.10.015
Ha, Y. H., & Perks, H. (2005). Effects of consumer perceptions of brand experience on the web: Brand familiarity, satisfaction and brand trust. Journal of Consumer Behavior, 4(6), 438-452. https://doi.org/10.1002/cb.29
Konhäusner, P., Shang, B., & Dabija, D.-C. (2021). Application of the 4Es in online crowdfunding platforms: A comparative perspective of Germany and China. Journal of Risk and Financial Management, 14(2), 49. https://doi.org/10.3390/jrfm14020049
Kuniavsky, M. D. (2010). Smart things: Ubiquitous computing user experience design. Morgan Kaufmann.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....