นโยบายและกลยุทธ์การสื่อสารท่องเที่ยวช่วงวิกฤตการณ์ ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ผู้แต่ง

  • บัญยง พูลทรัพย์ -

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสารภาวะวิกฤต , การจัดการการสื่อสาร , การท่องเที่ยว , ธุรกิจโรงแรม

บทคัดย่อ

เนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด-19 เกิดการกระจายตัวของโรคระบาดไปยังทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม รวมทั้งในประเทศไทยด้วย เนื่องจากนโยบายการปิดพรมแดนห้ามการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเวลาควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยได้รับความเสียหายจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้อย่างใหญ่หลวง นับเป็นมูลค่ามหาศาล เนื่องจากขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ทั้งนี้งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปรากฎการณ์และหาแนวทางในการกระตุ้นนโยบายและกลยุทธ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงวิกฤตการณ์ พื้นที่ศึกษาคือเขตเศรษฐกิจพิเศษพัทยา จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ และนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว สำหรับการอภิปรายได้นำหลักการของแผนการสื่อสารภาวะวิกฤตของ Fearn-Banks (อ้างใน Szczepanik. 2004) และแนวคิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการวิเคราะห์ สรุปว่าแผนการสื่อสารวิกฤตจำเป็นต้องใช้การสื่อสารที่ชัดเจน ถูกต้อง ไม่เลือกปฏิบัติ และรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ เครื่องมือสื่อสารที่นำมาใช้ ได้แก่ สื่อสารมวลชน สื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อกิจกรรม ซึ่งจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน เนื่องจากความต้องการที่หลากหลายของกลุ่มผู้รับสารทั้งในด้านมิติเชื้อชาติ อายุ เพศ รายได้ และความต้องการท่องเที่ยวในประเทศไทย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER065/GENERAL/DATA0000/00000359.PDF

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). จำนวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติ รายเดือน ปี 2559-2562R (ปรับปรุงจำนวนและรายได้ 2562). https://www.mots.go.th/news/category/585

กฤชณัท แสนทวี. (2555). ปัจจัยด้านการสื่อสารภาวะวิกฤตและการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย [ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29780

กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี, มัลลิกา เจริญสุธาสินี, และ พิมลภัส พงศกรรังศิลป์ (2561). การพัฒนาโปรแกรมสื่อความหมายและสื่อสังคมออนไลน์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี [รายงานผลการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม]. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

กัณฐิมา แก้วงาม. (2561). เบตง: กลยุทธ์การสื่อสารท่องเที่ยวภายใต้ภาวะวิกฤตความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_5907030117_8373_9443.pdf

ฉัตรฉวี คงดี, ชินกฤต อุดมลาภไพศาล, ชีวิน สุนสะธรรม, อัศม์เดช วานิชชินชัย, และ พสุนาท สร้อยสุวรรณ. (2561). การผลักดันผลผลิตการวิจัยด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการปี 2558 - 2559 ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ [รายงานผลการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม]. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ชาตรี ปรีดาอนันทสุข. (2556). เปลี่ยนมุมมองของการจัดการวิกฤตด้วยแนวความคิดการจัดการวิกฤต

เชิงบูรณาการ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 27-38. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/54850/45522

ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูรย์. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับเพศศึกษาของวัยรุ่นใน

เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64605

นวพร ปิยโชคสกุล. (2564). การเปิดรับสื่อและทัศนคติของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตที่มีต่อโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2021/TU_2021_6207010346_14873_18086.pdf

พดด้วง จำปาทอง. (2565). แนวทางการจัดการการสื่อความหมายในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2022/TU_2022_6109034535_13040_23088.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). รายงานสรุปการจัดทำบัญชีประชาชาติ

ด้านการท่องเที่ยว. https://www.mots.go.th/images/v2022_1681789818500VFNBIDI1NjUucGRm.pdf

สีตลา เขมะภาตะพันธ์. (2558). การเปิดรับสื่อและการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5707011390_4280_2995.pdf

Creswell, J. (2009). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approach (3rd ed.). Sage.

Fearn-Banks, K. (2017). Crisis communications :a casebook approach. Fifth ed. New York :Routledge

Hunt, T., Ruben, B. (1993). Mass communication producers and consumers. New York :HarperCollins College Publishers.

Klapper, J. T. (1960). The effect of mass communication. Free Press.

Pink, S., Horst, H., Postill, J., Hjorth, L., Lewis, T., & Tacchi, J. (2016). Digital ethnography, principle and practice. Sage.

Szczepanik, K. (2004). The importance of crisis communication: What lessons did we learn from Tylenol and Exxon? [Master’ thesis, Miami University]. Ohio Library and Information Network.

http://rave.ohiolink.edu/etdc/view?acc_num=muhonors1111086836

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06