รูปแบบและกลยุทธ์การสร้างเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok
คำสำคัญ:
การสร้างเนื้อหา, นักรีวิวอาหาร, แพลตฟอร์ม TikTokบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ TikTok ที่มีต่อเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการสื่อสารเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok จำนวน 9 เพจ อีกทั้งยังมีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) นักรีวิวอาหารจำนวน 3 คน นักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านการสร้างเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม TikTok จำนวน 1 คน และผู้ใช้ TikTok จำนวน 10 คน
ผลการวิจัยนี้ พบว่า สำหรับรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok นักรีวิวอาหารส่วนใหญ่ดำเนินเนื้อหาเพียงคนเดียว นำเสนอให้เห็นถึงหน้าตาอาหาร ความหลากหลาย และกระบวนการทำ โดยมีสถานที่ในการถ่ายทำ 2 รูปแบบ ได้แก่ การถ่ายทำที่ร้านอาหารหรือหน้าร้าน และถ่ายทำที่บ้านหรือสตูดิโอ นักรีวิวอาหารมีการใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ เพื่อให้สนุกสนานและสร้างสีสันได้มากขึ้น อีกทั้งยังใช้ด้านเทคนิคการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการตัดต่อที่เปลี่ยนภาพด้วยการตัดภาพหรือคัทชน การเปลี่ยนความเร็วภาพด้วยการใช้จังหวะภาพเร็วและการใช้จังหวะภาพช้า รวมถึงใช้เทคนิคเสียงที่ใส่เสียงพากย์ เสียง SFX และเสียงดนตรี นักรีวิวอาหารใช้เทคนิคด้านกราฟิกที่มีการใช้ตัวอักษรประกอบคำพูด การใช้ตัวอักษรเพื่ออธิบายชื่อคลิป และการใช้ตัวอักษรเพื่อนำเสนอสารหลัก สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok นักรีวิวอาหารสร้างแรงจูงใจด้วยการเปิดเนื้อหาให้น่าสนใจในช่วงวินาทีแรก ๆ สร้างการมีส่วนร่วมด้วยการนำเสนอในสิ่งที่ผู้ชมชื่นชอบ โต้ตอบความคิดเห็น และไลฟ์พูดคุยกับผู้ติดตาม อีกทั้งสร้างความน่าเชื่อถือผ่านการนำเสนออย่างจริงใจและตรงไปตรงมา ส่วนด้านทัศนคติของผู้ใช้ TikTok ผู้ใช้ TikTok รับรู้ถึงเนื้อหาของนักรีวิวอาหารผ่านทาง “For You Page” กล่าวคือ เป็นหน้าฟีด (Feed) ที่แนะนำวิดีโอที่กำลังเป็นกระแสหรือตรงกับความสนใจของผู้ใช้ TikTok คนนั้น ๆ โดยชื่นชอบนักรีวิวอาหารที่พูดจาสนุกสนานและนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพ จึงมักกดถูกใจ บันทึก และแบ่งปันเนื้อหาที่ชื่นชอบอยู่บ่อยครั้ง สำหรับแนวทางในการสื่อสารเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok ประกอบด้วย 1) การเริ่มต้นเนื้อหาด้วยสิ่งที่จูงใจ 2) เนื้อหาสั้นกระชับ เข้าใจง่าย 3) การติดแฮชแท็กที่สอดคล้องกับเนื้อหา 4) การรีวิวอาหารตามความจริง 5) นำเสนอเนื้อหาที่อยู่ในกระแสสังคม 6) นักรีวิวอาหารใช้ภาษาเป็นกันเอง 7) การใช้เทคนิคการตัดต่อภาพ 8) การใช้เทคนิคกราฟิก 9) การตอบกลับความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นจากผู้ใช้ TikTok ที่มีต่อเนื้อหารีวิวอาหาร จะเป็นทั้งเชิงบวก (Positive), เชิงลบ (Negative) และระดับกลาง (Neutral)
References
กิตติ ศุภากร. (2562). การวิเคราะห์กระบวนการผลิตและองค์ประกอบของรายการบันเทิงบนรถในสื่อออนไลน์ยูทูบ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จอมขวัญ บุญทศ. (2562). กลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาสำหรับรายการออนไลน์ ประเภทสนทนา [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เจาะลึกเหตุผลที่ทำให้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มมาแรงแห่งปี. (2564, 21 มกราคม). TikTok. https://newsroom.tiktok.com/th-th/top-reasons-why-everyone-heard-about-tiktok
ชัญญพัชญ์ วงษ์วิวัฒน์. (2562). รูปแบบการสื่อสาร กลยุทธ์ และจริยธรรมการตลาดผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Library and Information Center, NIDA. https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5150
ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (2564). สร้างคอนเทนต์มัดใจลูกค้า How to do marketing right. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย).
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2563). Digital marketing concept & case study (7th ed.). ไอดีซี พรีเมียร์.
ดารณี พานทอง. (2542). ทฤษฎีการจูงใจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์.
นวรัตน์ ลัคนากุล. (2563). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจผ่านแอปพลิเคชัน TikTok [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2020/TU_2020_6202030240_13867_14704.pdf
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2520). ทัศนคติ: การวัด การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. ไทยวัฒนาพาณิช (ประเทศไทย).
พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดตราสินค้าและพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 6(2), 35-51.
รัฐญา มหาสมุทร. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในโลกออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มผู้ติดตาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Library and Information Center, NIDA. http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2558/b191759.pdf
วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ และคณะ. (2559). Re: digital การตลาดยุคใหม่เจาะใจลูกค้า. โปรวิชั่น.
Pea Tanachote. (ม.ป.ป.). Influencer marketing คืออะไร? รวมสิ่งที่คุณต้องรู้สำหรับการทำ Influencer Marketing ในปี 2021. The Growth Master. https://thegrowthmaster.com/blog/influencermarketing2021
Shifu, C. (2562). Inbound marketing [การตลาดแบบแรงดึงดูด] (พิมพ์ครั้งที่ 4). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.
เหตุผลที่คนหันมาเล่น TikTok โอกาสที่นักการตลาดต้องรู้. (2564, 6 กันยายน). The Wisdom.
https://thewisdom.co/content/5-reasons-why-people-come-to-tiktok
Tiktok คนไทยชอบความบันเทิง ชู 3C ช่วยแบรนด์ปั๊มยอดขาย. (2565, 23 มีนาคม). ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/ict/news-893662
TikTok เทรนด์แพลตฟอร์มที่มาแรงบนโลกออนไลน์. (2564, 29 มิถุนายน). OKMD. https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4174/
TODAY. (2564, 29 มีนาคม). ‘TikTok’ เผยคอนเทนต์ยอดฮิตต้นปี 64 ‘เอนเตอร์เทนเมนต์’ ติดอันดับ 1 มาแรงที่สุดในไทย. Workpointtoday. https://workpointtoday.com/tiktok-entertainment-content-01
Ang, C. (2022, May 12). The top downloaded apps in 2022. Vertualcapitalist. https://www.visualcapitalist.com/top-downloaded-apps-2022
Kepios. (2022, Febuary 28). TikTok Q1 2022 [Power Point Slides]. SlideShare. https://www.slideshare.net/DataReportal/digital-2022-essential-tiktok-stats-for-q1-2022-v01
Sánchez-Amboage, E., Toural-Bran, C., Membiela-Pollán, M., & Crespo-Pereira, V. (2022). Short video content en la estrategia de marca. Análisis del uso de TikTok por el Museo del Prado. Revista Mediterránea De Comunicación, 13(1), 331–344. https://doi.org/10.14198/MEDCOM.20836
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....