บ้านผีสิง : พื้นที่สื่อสารกับการประกอบสร้างความกลัว

ผู้แต่ง

  • กมลชนก ยวดยง คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กำจร หลุยยะพงศ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การเล่าเรื่อง, ความกลัว, สภาวะความจริงเสมือน, บ้านผีสิง, ถอดรหัสความหมาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “บ้านผีสิง : พื้นที่สื่อสารกับการประกอบสร้างความกลัว” มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงการสร้างสภาวะความจริงเสมือนที่มาจากทุนวัฒนธรรมเกี่ยวกับความกลัวผ่านการเล่าเรื่องและเทคนิคเฉพาะของบ้านผีสิง และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์หรือความแตกต่าง ในการถอดรหัสความหมายความกลัวในพื้นที่บ้านผีสิงของผู้เล่นที่มีประสบการณ์และผู้เล่นที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องผี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ตัวบท (บ้านผีสิง) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ บ้านผีสิง Ripley's Haunted Adventure พัทยา และบ้านแม่นาค ส่วนที่ 2 คือ การวิเคราะห์ผู้รับสาร (ผู้เล่นบ้านผีสิง) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวนสถานที่ละ 10 คน เพื่อวิเคราะห์การถอดรหัสความหมายความกลัวที่เกิดขึ้นหลังจากเล่นบ้านผีสิง แนวคิดทฤษฎีหลักที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีการเล่าเรื่อง (Narrative Theory) และแนวคิดเรื่องผู้รับสารของ Stuart Hall

ผลการวิจัยพบว่า บ้านผีสิงซึ่งเป็นพื้นที่เหนือจริงมีการสื่อสารและประกอบสร้างความกลัวผ่านองค์ประกอบด้านการเล่าเรื่อง โดยมีการออกแบบโครงเรื่องด้วยเทคนิคสัมพันธบท นำเอาเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับผีในอดีตมาประกอบสร้างร้อยเรียงเรื่องราว สื่อสารผ่านตัวละคร สถานที่ และเทคนิคเฉพาะของบ้าน ผีสิง เพื่อสร้างความสมจริง ให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปในพื้นที่ในอดีต เวลากลางคืน เจอผี และเกิดความรู้สึกกลัวและสนุกไปพร้อมกัน

ในส่วนของการถอดรหัสความหมายของผู้เล่นที่ทำการศึกษา พบว่า ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับผี และผู้เล่นที่ไม่มีประสบการณ์ตรงในเรื่องดังกล่าว มีการถอดรหัสความหมาย ความกลัวในพื้นที่บ้านผีสิงไม่แตกต่างกัน การที่ผู้เล่นที่ทำการศึกษา สามารถถอดรหัสความหมายความน่ากลัวของบ้านผีสิง บ้านแม่นาค ได้อย่างสอดคล้องในหลายประเด็นมากกว่า Ripley's Haunted Adventure พัทยา และให้ความเห็นว่า บ้านผีสิงแบบไทยน่ากลัวกว่าบ้านผีสิงที่มีรูปแบบการนำเสนอแบบตะวันตก อาจเป็นเพราะผีไทยเคยถูกติดตั้งความกลัวให้กับผู้เล่นมาก่อนหน้า และมีสัญลักษณ์บางอย่างที่สามารถกระตุ้นความจำในสมองที่คุ้นเคย และมีการใช้เทคนิคการสื่อสารแบบสัมพันธบทที่อิงกับวัฒนธรรม ตำนานที่ให้ความรู้สึกใกล้ชิด จึงสามารถถอดรหัสความหมายโดยง่าย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ : อินทนิล.

กำจร หลุยยะพงศ์ และสมสุข หินวิมาน.(2552). หลอน รัก สับสน ในหนังไทย : ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2547). กรณีศึกษาตระกูลหนังผี หนังรัก และหนังยุคหลังสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม.

โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์.(2561, 2 กรกฎาคม). มอง “การนับถือผีแบบไทย” ตามกรอบญี่ปุ่น. https://mgronline.com/japan/detail/9610000065748

พัณณิตา มิตรภักดี. (2561). Creative Economy in Action. คิด, 9(12), 14-15.

พรรณพร กะตะจิตต์. (2561, 9 เมษายน). วิทยาศาสตร์เบื้องหลังผู้คนที่ชื่นชอบความกลัว. สืบค้นจาก https://www.scimath.org/article-science/item/7829-2018-01-10-09-00-11.

สุธีรา นิมิตรนิวัฒน์. (2555). ความกลัว : เรื่องที่ไม่น่ากลัว. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์,7(13), 1-16.

Baker, C. (2018). Exploring a Three-Dimensional Narrative Medium: The Theme Park as "De Sprookjessprokkelaar," The Gatherer and Teller of Stories. (Thesis, Doctor of Philosophy (PhD)), University of Central Florida.)

Clasena, M., Andersenb,M., & Schjoedtb., U. (2019). Adrenaline junkies and white-knucklers: A quantitative study of fear management in haunted house visitors. Poetics, 73, 61–71.

Creative Economy Agency. (2564, 1 มิถุนายน). Soft Power เครื่องมือสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย. สืบค้นจาก https://www.cea.or.th/th/single-statistic/cea-soft-power

Fu., X. (2016). HORROR MOVIE AESTHETICS: How color, time, space and sound elicit fear in an audience. (Master of Fine Arts in Information Design and Visualization, Northeastern University.)

Hall, S. (1973). Encoding and Decoding in the Television Discourse. CCCS Stencilled Paper 7, University of Birmingham. Retrieved from https://www.birmingham.ac.uk/Documents/college-artslaw/history/cccs/stenciled-occasional-papers/1to8and11to24and38to48/SOP07.pdf

Legend Siam. (2018, 19 สิงหาคม). บ้านแม่นาค. https://www.facebook.com/watch/?v=399734824089664

Legend siam pattaya. (2562, 2 สิงหาคม). สวนสนุก สถานที่ถ่ายรูป แบบไทยย้อนยุค เปิดใหม่ Legend Siam พัทยา. สืบค้นจาก https://pantip.com/topic/39108673

Mckendry, B. (2018). The History Of HauntedHouses. Retrieved from https://www.americahaunts.com/ah/facts

Movie News. (2560, 22 สิงหาคม). 5 หนังผีสยองขวัญที่ทำเงินแรงทั่วโลก !!. สืบค้นจาก https://www.sfcinemacity.com/news-activity/news-227)

Nippon.com, (2016). Gomi Hirofumi and Japan’s Scariest Haunted Houses. Retrieved from https://www.nippon.com/en/views/b05501/?cx_recs_click=true

Öhman, A. (2000). Fear and anxiety: Evolutionary, cognitive, and clinical perspectives. Handbook of emotions. New York. : The Guilford Press.

Persinger, M., A. (1983). "Religious and Mystical Experiences as Artifacts of Temporal Lobe Function: A General Hypothesis". Perceptual and Motor Skills. 57(3), 1255–1262

Putic, G. (2015, 14 มกราคม). นักวิจัยในสวิสเซอร์แลนด์ชี้ว่าผีไม่มีจริงแต่เกิดจากสมองแปลงสัญญาณผิดพลาด. สืบค้นจาก https://www.voathai.com/a/science-stories-ghosts-tk/2597444.html

Scrivner, C., Andersen, M., Schjodt, U., & Clasen, M. (2022). The Psychological Benefits of Scary Play in Three Types of Horror Fans. Journal of Media Psychology, 35,(2), 1-20.

Thaiticketmajor. (2562, 1 เมษายน). เปิดแล้ว! MYSTERY MANSION รถไฟผีสิงแบบห้อยขาแห่งเดียวในไทย ที่เอเชียทีค. สืบค้นจาก https://www.thaiticketmajor.com/variety/travel/11186/

Tuan, Y., F. (2013). 10 Fear of Human Nature: Ghosts. Minneapolis: University of Minnesota Press.

Wongnai.com. (2562, 7 มิถุนายน). 5 ที่เที่ยวบ้านผีสิง หลอนจริงเตรียมกรี๊ดลั่น!. สืบค้นจาก https://www.wongnai.com/listings/attractions-haunted-house

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02