ผลกระทบของการใช้สื่อออนไลน์ต่อการเล่นพนันของเยาวชน ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์ -
  • ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด

คำสำคัญ:

การพนันออนไลน์, สื่อออนไลน์, เยาวชน, การพนัน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อออนไลน์กับพฤติกรรมการเล่นการพนันของเยาวชนและผลกระทบของการใช้สื่อออนไลน์ต่อการเล่นพนันของเยาวชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้รูปแบบการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเยาวชน นักเรียนระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย ระดับอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชน รวมไปถึง นักศึกษาอาชีวะที่มีอายุระหว่าง 16 – 25 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้สื่อออนไลน์ ในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive  sampling ) จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเล่นสื่อออนไลน์เป็นประจำทุกวัน เล่นตลอดเวลาที่มีเวลาว่าง กลุ่มตัวอย่างนิยมเล่นสื่อออนไลน์ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน แอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่ใช้ทุกวันได้แก่ เฟสบุ๊ค  รองลงมา คือ ไลน์ใช้สำหรับการสนทนากับบุคคลต่างๆ และ กูเกิ้ล เป็นเว็บไซต์ที่ใช้หาข้อมูลทุกประเภทที่สนใจ 2) พฤติกรรมการเล่นการพนันของเยาวชน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เริ่มเล่นการพนันแบ่งเป็น 3  กลุ่มได้แก่ กลุ่มแรก เริ่มเล่นเพราะเพื่อนชักชวน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ชอบเสี่ยงโชค เป็นทุนเดิม กล้าได้กล้าเสีย กลุ่มที่ 3 เล่นเพื่อความสนุก ตื่นเต้น คลายเครียดจากเรื่องเรียน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เริ่มต้นการเล่นพนันครั้งแรกคือการเล่นไพ่ป๊อกเด้ง เล่นหวย เรียงเบอร์ ล็อตเตอรี ไฮโล ชนไก่ เป็นต้น 3) พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเล่นพนัน แบ่งเป็น 2 วัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) กลุ่มตัวอย่างใช้สื่อออนไลน์ในการหาข้อมูลเพื่อการเล่นการพนัน (2) กลุ่มตัวอย่างใช้สื่อออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางหรือเครื่องมือในการเล่นการพนันออนไลน์ 4) ผลกระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อออนไลน์กับพฤติกรรมการเล่นการพนันของเยาวชน พบว่า กลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ชื่นชอบในการพนัน นิยมนำสื่อออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในการเล่นการพนันที่ทำให้ตนเองสะดวก สบาย และที่สำคัญคือปลอดภัยจากตำรวจในการตรวจค้น ทั้งยังส่งผลกระทบให้เกิดการเสียการเรียน เสียสุขภาพ เพราะสื่อออนไลน์สามารถเล่นพนันได้ทุกที่ ทุกเวลาตามที่ต้องการ  และส่งผลให้เสียความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวเนื่องจากต้องยืมเงินเพื่อนและคืนไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด และหมกมุ่นกับการพนันจนไม่ได้สนใจครอบครัว

References

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี. (2562). จิตวิทยาที่เป็นสาเหตุให้บุคคลชอบเล่นการพนัน. ผู้แต่ง.

กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2562). ปัจจัยเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคมของเยาวชนต่อการติดพนัน. Veridian E-Journal Silpakorn Univeritty, 12(4), 87-98. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/165900

กิตติพร บุญอุ้ม. (2566, 4 สิงหาคม). Influencer พนันออนไลน์หายนะ “เยาวชน” ยุคไฮเทค. Thai PBS. https://www.thaipbs.or.th/

เกรียงศักดิ์ อุบลไทร, อรอุมา เจริญสุข, และ สกล วรเจริญศรี. (2561). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของวัยรุ่น: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(2), 21-40. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/122402

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์. (ม.ป.ป.). ปัญหาการติดพนัน. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. https://www.gamblingstudy-th.org/knowledge/2/16/ปัญหาติดการพนัน/

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2536). สังคมวิทยาว่าด้วยอาชญากรรมและการลงโทษ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มธุรดา สุวรรณโพธิ์. (2566). โรคติดพนันในวัยรุ่น. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข.

https://www.camri.go.th/th/home/infographic/infographic-349

วิไลลักษณ์ ลังกา, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์, นริสรา พึ่งโพธิ์สภ, ชนชม ดิตถ์โภคินสกุล, และ ธนวรรณ วงษ์สวรรค์. (ม.ป.ป.). พฤติกรรมการติดพนันออนไลน์: ปัจจัยเชิงสาเหตุ กระบวนการ ผลกระทบทางพฤติกรรมศาสตร์และแนวทางการช่วยเหลือผู้เรียนที่ติดพนันออนไลน์สำหรับครูแนะแนวในสถานศึกษา. ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก). https://cads.in.th/cads/content?id=229

ศุภศักดิ์ ตระการรัตนกุล. (2540). การเสนอเนื้อหาเรื่องฟุตบอลต่างประเทศในหนังสือพิมพ์กีฬากับปัญหาพนันฟุตบอล [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:171334

สราวุธ กายสะอาด. (2554). ปัญหาทางกฎหมายการพนันออนไลน์. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สำนักข่าวสร้างสุข. (2566, 19 มิถุนายน). ผลวิจัยชี้ เด็กเยาวชนไทยเล่นพนันออนไลน์กว่า 3 ล้านคน เพราะเห็นโฆษณาบ่อย-คนดังชวนพนัน เร่งสานพลังมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ให้เด็กเยาวชนรู้เท่าทันภัยพนัน. สสส. https://bitly.ws/3foso

Lesieur, H. R., & Custer, R. L. (1984). Pathological gambling: roots, phases, and treatment. The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 474(1), 146-156. https://doi.org/10.1177/0002716284474001013

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02