ผลกระทบของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งกับการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ปัญจพงศ์ คงคาน้อย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง, ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมภาพยนตร์, การทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งกับการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งทำความเข้าใจ 3 ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ ได้แก่ กระบวนการพัฒนาโครงสร้างภาพยนตร์ (Film Development) กระบวนการผลิตภาพยนตร์ (Film Production) กระบวนการจัดฉายภาพยนตร์ (Film Exhibition) และแนวทางการปรับตัวของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยจำนวน 9 คน ครอบคลุมทุกช่วงอายุ เพศสภาพ แนวทางการผลิตภาพยนตร์ และช่วงเวลาที่ผลงานออกสู่สายตาของผู้ชม ในระหว่างปี 2540-2566

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาโครงสร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยสามารถนำเสนอมุมมองและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงตีแผ่แง่มุมที่เป็นบริบทในสังคมในช่วงเวลานั้นๆได้มากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากจำนวนงบประมาณในการลงทุนที่ได้จากแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมีมากขึ้นกว่าเดิม และยังมีอิสระในการนำเสนอเรื่องราวที่หลากหลายผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นต่างๆในระบบสตรีมมิ่งที่มีการจัดหมวดหมู่ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องไว้อย่างชัดเจน 2) กระบวนการผลิตภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยยังมีอิสระในการทำงานและอำนาจในการตัดสินใจเหมือนเดิมในขั้นตอนก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์ (Pre-Production) ขั้นตอนการถ่ายทำภาพยนตร์ (Production) ซึ่งอาจจะมีการใช้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจในบางกรณียกเว้น ขั้นตอนหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ (Post Production) เนื่องจากการเข้ามาของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อขั้นตอนการทำงานในส่วนนี้ของผู้กำกับภาพยนตร์ เนื่องจากช่องทางและอุปกรณ์ในการรับชมภาพยนตร์ผ่านระบบสตรีมมิ่งของผู้ชมแต่ละบุคคลมีความแตกต่างและหลากหลาย จนไม่สามารถควบคุมคุณภาพให้มีความเป็นมาตรฐานการรับชมผ่านทางภาพและเสียง ให้มีความเท่าเทียมกัน 3) กระบวนการจัดฉายภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยถูกผลกระทบของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งโดยตรง เนื่องจากการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ในระบบสตรีมมิ่งเสร็จสิ้นตั้งแต่จบกระบวนการผลิตภาพยนตร์ หลังจากนั้น หน้าที่การประชาสัมพันธ์ข้อมูล เนื้อหาของภาพยนตร์ รวมถึงการจัดฉาย เป็นหน้าที่โดยตรงของทางแอปพลิเคชั่น เจ้าของผลงานภาพยนตร์ในระบบแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง เป็นผู้ดำเนินการ 4) แนวทางการปรับตัวของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล พบว่า ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยรุ่นก่อนและรุ่นกลาง สามารถปรับตัวได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารได้มากกว่าผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ทำงานอยู่ในช่วงเวลาที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเฟื่องฟู เนื่องจากผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นก่อนและรุ่นกลางมีประสบการณ์ในการทำงานและผ่านการแก้ปัญหาในช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีการสื่อสารมาก่อน ทำให้สามารถปรับตัวและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ยังไม่เคยอยู่ในช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อีกทั้ง พวกเขายังต้องแสวงหาอัตลักษณ์ในการผลิตผลงาน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้ชมในระบบแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่มีความหลากหลาย ทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัวและพัฒนาการผลิตภาพยนตร์มากกว่าผู้กำกับภาพยนตร์ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น

References

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา. ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การศึกษาสื่อสารมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical theory): แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). ไฮเอจ เพรส.

เกียรติชัย สุวรรณศร และ บรรจง โกศัลวัฒน์. (2530). การสร้างสรรค์และการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดิรก ทองมี. (2565). การสร้างความเป็นจริงทางสังคมเกี่ยวกับครอบครัวของตัวละครชายรักชายในละครโทรทัศน์แนววาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:307436

ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2554). ภาพยนตร์ไทยยุคหลังหนึ่งร้อยปีกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(2), 157-176. https://www.shorturl.asia/gDVUJ

วิโรจน์ สุทธิสีมา. (2564). ความเปลี่ยนแปลงของสื่อสตรีมมิ่งในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย: มุมมองจากกลุ่มผู้สร้างและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(2), 104-120. https://www.shorturl.asia/1igIS

สมสุข หินวิมาน, กิติมา สุรสนธิ, ศรรวริศา เมฆไพบูลย์, เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา, กำจร หลุยยะพงศ์, วารี

ฉัตรอุดมผล, อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย, กุลนารี เสือโรจน์, ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ, กรรณิกา รุ่งเจริญพงษ์, ภัทธีรา สารากรบริรักษ์, อารดา ครุจิต, และ รุจน์ โกมลบุตร. (2558). ธุรกิจสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สราวุฒิ ทองศรีคำ. (2559). Video streaming: บริบทของภาพยนตร์ออนไลน์ในวัฒนธรรม (ดิจิทัล) ศึกษา.

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 16(1), 143-160. https://so06.tcithaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95386

สำนักโทรอนโต. (2018). แนวคิดและทฤษฎีเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวกำหนด (Communication technology determination). http://webpac.library.mju.ac.th

สุธีย์ จุฬากาญจน์. (2563). การพัฒนารูปแบบภาพยนตร์สั้นจากทุนวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. NU Intellectual Repository. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2555

สุมาภา ประดับแก้ว. (2556). การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่กำกับโดยคมกฤษ ตรีวิมล [ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). ทฤษฎีการสื่อสาร. ระเบียงทอง.

อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ. (2562). ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยต่อการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน ใน รายงานสืบเนื่อง โครงการจัดประชุมวิชาการระดับภาพยนตร์อาเซียน ครั้งที่ 3 ปี 2561 หัวข้อ ผู้หญิงในอาเซียน (น. 61-74). คณะกรรมการบริหารแผนอาเซียนและคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mac.ru.ac.th/wp-content/uploads/2019/03/2019-03-06_16-22-15_588567.pdf

อัญชลี ชัยวรพร. (2556). เรื่องเล่าในภาพยนตร์. ใน ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2563). 120 ปี ธุรกิจภาพยนตร์ไทย: ข้อเสนอต่อรัฐและสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 24(1), 103-120. https://www.shorturl.asia/TOm6Z

อุสุมา สุขสวัสดิ์. (2561). รัฐกับศักยภาพของภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 115-125. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/138062

ETDA สรุป 5 ข้อใหญ่ เช็คสเตตัสอนาคต Streaming platform คนไทย ชาวครีเอเตอร์กลุ่มบันเทิง กีฬา ข่าว พร้อมหรือยัง? (2565, 12 กรกฎาคม). สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/ETDA-5-Streaming-Platform.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06