ทรรศนะของประชาชนในท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ประชาชนในท้องถิ่น, อุตสาหกรรมภาพยนตร์ , จังหวัดเชียงใหม่ , แผนยุทธศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างแนวคิดใหม่ให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองภาพยนตร์ดิจิทัล : การใช้วิถีนิเวศวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเป็นเมืองภาพยนตร์ที่ยั่งยืน” โดยเป็นการนำเสนอผลเชิงปริมาณจากการใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะผู้คนในท้องถิ่นเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างนโยบายการพัฒนาเมือง ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจทรรศนะของประชาชนในท้องถิ่นจำนวน 1,000 คน เพื่อทราบถึงมุมมองและระบุคุณลักษณะเฉพาะของจังหวัดเชียงใหม่ที่แสดงถึงศักยภาพในการเป็นเมืองภาพยนตร์ อันนำไปสู่การหาแนวทางในการร่างข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์จากภาคประชาชนที่เสนอต่อภาครัฐเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป ผลการศึกษาพบว่าประชาชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่มีทรรศนะว่าโดยรวมแล้วจังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพสูงสำหรับการเป็นเมืองภาพยนตร์ อีกทั้งสนับสนุนแนวคิดการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองภาพยนตร์ และแนวคิดการสร้างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์จังหวัดเชียงใหม่ด้วย โดยรายละเอียดของผลการสำรวจทั้งหมดนี้จะถูกนำไปใช้พิจารณาร่วมกับข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป
คำสำคัญ: ประชาชนในท้องถิ่น / อุตสาหกรรมภาพยนตร์ / จังหวัดเชียงใหม่
References
การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย. (ม.ป.ป.). กองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ. https://sites.google.com/tfo.dot.go.th/filmingthailand-th/topic
ผู้จัดการออนไลน์. (2566, 22 สิงหาคม). ททท. เผยท่องเที่ยวเชียงใหม่ฟื้นตัวดี 7 เดือนแรกปี 66 โกยรายได้แล้ว 6.3 หมื่นล้าน-ยอด นทท.ทะลุ 6.3 ล้านคน. MGR Online. https://mgronline.com/local/detail/9660000075731
พรรัตน์ ดำรุง. (2564). วิจัยการแสดง: สร้างความรู้ใหม่ด้วยการทำละคร. Fathom Bookspace.
พระมหาประพันธ์ สิริปัญโญ และ จิรกิตต์ภณ พิริยสุวัฒน์. (2560). นิเวศวิทยาวัฒนธรรม แนวคิดและการจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดเลย [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย]. DSpace at Mahachulalongkornrajavidyalaya University. http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/560
ภิญโญ รัตนาพันธุ์. (2556). SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT analysis. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 6(2), 7-20. https://www.shorturl.asia/PfvUe
ระดม อร่ามวิทย์ และ มนฤดี ธาดาอำนวยชัย. (2559). ทิศทางและแนวโน้มของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. วารสารวิชาการนิเทศสยามปริทัศน์, 15(19), 50-60. https://www.shorturl.asia/svdfl
เศรษฐา วีระธรรมานนท์, นพดล อินทร์จันทร์, กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์, และ ปรวัน แพทยานนท์. (2565). รูปแบบเมืองภาพยนตร์ในบริบทของความเป็นไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(3), 393-406. https://www.shorturl.asia/CZgrj
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2565). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. https://chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D17Jan2022133138.pdf
Holden, J. (2015). The ecology of culture. Arts and Humanities Research Council.
Markusen, A., & Gadwa, A. (2010). Creative placemaking. National Endowment for the Arts.
Sutton, M. Q., & Anderson, E. N. (2010). Introduction to cultural ecology (2nd ed.). AltaMira.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....