การสร้างสรรค์เรียงความภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเรื่องชีวิตและความตายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี

ผู้แต่ง

  • ภัทรพร มะณู คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปอรรัชม์ ยอดเณร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เรียงความภาพถ่าย, ชีวิตและความตาย, ทิวส์เดส์วิทมอร์รี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสรรค์เรียงความภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเรื่องชีวิตและความตายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี 2) เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อเรียงความภาพถ่ายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี โดยมีเครื่องมือในการวิจัยดังต่อไปนี้ 1) วรรณกรรมทิวส์เดส์วิทมอร์รีต้นฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปลไทย 2) แบบบันทึกการสร้างสรรค์ 3) การทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 4) การสนทนากลุ่ม 5) แบบสอบถามกลุ่มผู้ชมทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนก่อนการสร้างสรรค์ ต้องศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องของวรรณกรรมฯ เพื่อทำความเข้าใจและศึกษาเรื่องชีวิตและความตาย และงานดัดแปลงที่ผ่านมา 2) ขั้นตอนการสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) การคัดเลือกและสังเคราะห์วรรณกรรมฯ บทที่แสดงถึงเรื่องชีวิตและความตายเพื่อสร้างสรรค์บทกลอนและตัวละคร 2) การสร้างฉาก 3) การถ่ายและตกแต่งภาพ 4) การจัดทำรูปเล่ม 5) การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) ​ขั้นตอนหลังการสร้างสรรค์ การเผยแพร่ผลงานและสำรวจทัศคติผู้ชม 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มการสนทนากลุ่ม 2) กลุ่มการตอบแบบสอบถาม แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้ที่เคยและไม่เคยอ่านวรรณกรรมฯ ผลการสำรวจผู้ที่เคยอ่านวรรณกรรมฯ สามารถเข้าใจเนื้อหาและแนวคิดเรื่องชีวิตและความตายได้ราบรื่นกว่าอีกกลุ่ม ทั้ง 2 กลุ่มนั้นชื่นชอบองค์ประกอบด้านภาพถ่ายมากที่สุด ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าภาพถ่ายและกลอนนั้นส่งเสริมกัน การประเมินด้านการรับรู้เรื่องชีวิตและความตายมีเกณฑ์ในแต่ละองค์ประกอบส่วนใหญ่คือ มาก

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2565). คำอธิบายสรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. https://www.ipthailand.go.th/th/dip-law-2/item/description_copyright.html

กาญจนา แก้วเทพ. (2553ก). เรื่องเล่า การเล่าเรื่อง และศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง. ใน กาญจนา แก้วเทพ (บก.), แนวพินิจใหม่ในสื่อสารการศึกษา. ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553ข). “สัมพันธบท” (Intertextuallity): เหล้าเก่าในขวดใหม่ในสื่อสารการศึกษา. ใน กาญจนา แก้วเทพ (บก.), แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาพพิมพ์.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2562). Tomorrow never dies: การเข้าใจความตายในสื่อภาพยนตร์ไทย. วารสารศาสตร์, 12(1), 80-123. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/issue/view/12647/5412

ขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2564). ศาสตร์การเล่าเรื่องในสื่อสารศึกษา. วารสารศาสตร์, 14(3), 9-85. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/250754

ชาย โพธิสิตา. (ม.ป.ป.). ชีวิตและความตายในทัศนะของพุทธศาสนา. อบต.หนองอิรุณ. https://nongerun.go.th/UserFiles/File/kmi/st4.pdf

นันธนัย ประสานนาม. (2562). อุตสาหกรรมประสารศิลป์ วรรณกรรม วัฒนธรรมสกรีนและการเดินทางข้ามสื่อ. กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

น้ำปาย ไชยฤทธิ์. (2564, 14 กุมภาพันธ์). ตายก่อนตาย: วิธีคิดงานศพที่ให้นิ้วกลมซ้อมตายเป็นเวลา 3 วัน.

A day. https://adaymagazine.com/die-before-die/

พระไพศาล วิสาโล. (ม.ป.ป.). มรณสติ. https://www.visalo.org/article/D_MoranaSati.htm

ยมลภัทร ภัทรคุปต์. (2553). อุปลักษณ์ความตายในหนังสือธรรมะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20769

Albom, M. (1997). Tuesdays with Morrie. Doubleday.

Albom, M. (n.d.). Tuesdays with Morrie. Mitch Albom. https://www.mitchalbom.com/books/tuesdays-with-morrie/

Berman, J. (2012). Dying in character: Memoirs on the end of life. University of Massachusetts Press.

Freeman, M. (2012). The photographer's story. Ilex Press.

Holsanova, J. (2014). 14. In the eye of the beholder: Visual communication from a recipient perspective. In M. David (Ed.), Visual communication (pp. 331-356). De Gruyter Mouton. https://doi.org/10.1515/9783110255492.331

Hutcheon, L. (2006). A theory of adaptation. Routledge.

Rose, G. (2016). Visual methodologies: An introduction to researching with visual materials. Sage.

Tucker, N. (2022, August 22). 25 years later, “Tuesdays with Morrie” Still resonates. Library of Congress Blogs. https://www.shorturl.asia/5xugV

Ungvarsky, J. (2023). Intertextuality. In Salem Press Encyclopedia. Salem Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06