จริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์
คำสำคัญ:
กราฟิกจำลองเหตุการณ์, รายการข่าวโทรทัศน์, จริยธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “จริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนากรอบจริยธรรมในการนำเสนอกราฟิกจำลองเหตุการณ์ที่เหมาะสม ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน จาก 4 กลุ่มตัวอย่างและสนทนากลุ่ม ประชาชนผู้รับสื่อ จำนวน 10 คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ปัญหาทางจริยธรรมที่พบในกราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์และ 2.กรอบจริยธรรมที่เหมาะสมเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์
โดยผลการศึกษาพบว่า ปัญหาทางจริยธรรมที่พบในกราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ ที่ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนผู้รับสื่อมีความเห็นสอดคล้องกัน พบว่า มี 5 ข้อ ประกอบด้วย ความถูกต้อง, แหล่งข้อมูล, ความเที่ยงธรรม, สิทธิมนุษยชน และสิทธิส่วนบุคคล โดยปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนผู้รับสื่อมีความเห็นสอดคล้องกันมากที่สุดคือ สิทธิมนุษยชน ส่วนปัญหาทางจริยธรรมที่ไม่พบในช่วงของการสัมภาษณ์คือ ลิขสิทธิ์ และ ผลประโยชน์ ส่วนกรอบจริยธรรมที่เหมาะสมเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ จะประกอบด้วยแนวทาง 6 ด้านคือ สิทธิมนุษยชน, สิทธิส่วนบุคคล, ความถูกต้อง, แหล่งข้อมูล, ความเที่ยงธรรม และสาธารณประโยชน์ ซึ่งจากแนวทางทั้ง 6 ด้าน ผู้วิจัยได้เกิดข้อค้นพบและพัฒนาเป็น “แบบจำลองข้อแนะนำแนวทางปฎิบัติจริยธรรมสำหรับการทำกราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์” โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ขั้นตอนการคัดเลือกประเด็นข่าว โดยมีหลักจริยธรรมคือ ประโยชน์สาธารณะ, ความน่าเชื่อถือแหล่งข้อมูล 2. ขั้นตอนการผลิตกราฟิกจำลองเหตุการณ์ โดยมีหลักจริยธรรมคือ ความถูกต้องรอบด้าน, ความเที่ยงธรรม, เคารพสิทธิมนุษยชนและการเคารพสิทธิส่วนบุคคล และ 3.ขั้นตอนการนำเสนอในรายการโทรทัศน์ โดยมีหลักจริยธรรมคือ การเคารพสิทธิมนุษยชน การกำหนดแนวทางจริยธรรมใน การใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ ที่ได้จากงานวิจัยนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญของพื้นฐานด้านจริยธรรม สามารถนำไปต่อยอดเพื่อให้เป็นหลักปฎิบัติสำหรับการทำกราฟิกจำลองเหตุการณ์ที่เหมาะสมต่อไป
References
ข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าวฯ ว่าด้วย จริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2553. (ม.ป.ป.). สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย. https://www.newsbroadcastingcouncil.or.th/?page_id=142
ธรรพ์ วรานันท์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติความรับรู้ความเข้าใจเนื้อหาในรายการข่าวที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกประกอบการนำเสนอ: กรณีศึกษารายการข่าวช่องทีวีดิจิทัล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:169201
นฤมล ปิ่นโต. (2559). การผลิตรายการโทรทัศน์. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
พลอย วงษ์วิไล. (2563, 29 มิถุนายน). ระวัง เสพข่าวมากเกินไป อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิต. helloKhunmor. https://hellokhunmor.com/สุขภาพจิต/ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น/เสพข่าวมากเกินไป-อันตราย-สุขภาพจิต/
รัตนวดี นาควานิช. (2558). การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว: จุดเริ่มต้นของคุณภาพข่าว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(1), 241-257. https://www.shorturl.asia/tc5CM
สกุลศรี ศรีสารคาม. (2557). จริยธรรมการใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคมในกระบวนการสื่อข่าวของสื่อไทยในยุคดิจิทัล [รายงานผลการวิจัย, สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ]. สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ. https://www.presscouncil.or.th/wp-content/uploads/2014/06/sakulsri.pdf
สำเนียง ยอดคีรี. (2560). จริยศาสตร์, จริยธรรมและคุณธรรมตามแนวความคิดของนักปรัชญา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(2), 37-53. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/243127
อรวรรณ ศรีสุวรรณ. (2563). อิทธิพลของการรับชม และทัศนคติที่มีต่อข่าวอาชญากรรมที่มีภาพกราฟิกประกอบ ต่อการรับรู้สภาพความเป็นจริงในสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:188636
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2547). สื่อมวลชนเบื้องต้น: สื่อมวลชนวัฒนธรรมและสังคม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
admin. (2564, 8 มิถุนายน). ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน สภาการสื่อสารมวลชนแห่งชาติ พ.ศ. 2564. สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ. https://www.presscouncil.or.th/rule/6126
Day, L. A. (2006). Ethics in media communication: Cases and controversies (5th ed.). Wadsworth.
Fitzgerald, M. (1995). The debate continues. Editor & Publisher.
Velasquez, M., Andre, C., Shanks, T., & Meyer, J. M. (2010). What is ethics? SCU.EDU. https://www.scu.edu/ethics/ethics-resources/ethical-decision-making/what-is-ethics/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....