อิทธิพลของปัจจัยพื้นอารมณ์ต่อความคาดหวังสไตล์รายการคุณภาพและการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์ม

ผู้แต่ง

  • สุวัฒนา นริศรานุกูล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

พื้นอารมณ์ , สไตล์รายการคุณภาพ, สื่อโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์ม, การวัดผลสื่อโทรทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะศึกษาแนวทางพัฒนาระบบวัดผลการเปิดรับชมบนสื่อโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์มเหมาะสมต่อผู้ชมไทยที่มีความต้องการหลากหลายในยุคสังคมดิจิทัล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในระบบการสำรวจวัดผลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ การคัดเลือกและจัดสรรสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างและการจัดแบ่งกลุ่มผู้ชมตามคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการใช้ข้อมูลในเชิงธุรกิจและให้คุณค่าในเชิงพัฒนาคนและสังคม ซึ่งลักษณะทางด้านจิตวิทยาอาจจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ข้อมูลสามารถทำนายต่อผู้ชมที่มีความแตกต่างได้อย่างแท้จริง อาทิ ความสนใจ ความชื่นชอบของปัจเจกบุคคล อาจจะนำสู่การทำนายต่อพฤติกรรมการเลือกใช้สื่อและเปิดชมสไตล์รายการที่แตกต่าง นั่นคือ รายการที่ไม่ใช่สไตล์ชื่นชอบของผู้ชมทั่วไป อาจจะมีค่า เรตติ้งเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ งานศึกษานี้ จึงเสนอปัจจัยในเชิงจิตวิทยา ตามทฤษฎีบุคลิกพื้นอารมณ์ ของ Keirsey and Bates (1984) ที่แบ่งพื้นอารมณ์เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักหลักการนิยม 2) ศิลปิน/ช่างฝีมือ 3) ผู้ปกป้อง 4) นักอุดมการณ์นิยม เพื่อทดสอบปัจจัยบุคลิกพื้นอารมณ์ทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งถ้าปัจจัยเหล่านี้สามารถทำนายผลได้หรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเปิดรับชมและสไตล์รายการบนสื่อโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์มได้ อาจจะสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์การคัดเลือกตัวแทนวัดผลการเปิดชม และจัดกลุ่มบุคลิกพื้นอารมณ์ตามที่เสนอจากงานวิจัยนี้ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยพื้นอารมณ์ต่อการเปิดรับชมและความคาดหวังสไตล์รายการคุณภาพบนสื่อโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์มของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถามจำนวนตัวอย่าง 532 ชุด

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยพื้นอารมณ์ของผู้ชม ที่มีอิทธิพลหรือทำนายได้ต่อความคาดหวังสไตล์รายการคุณภาพ เป็นเชิงบวก ดังนี้ (1) บุคลิกพื้นอารมณ์ลักษณะแบบผู้แสวงหาภูมิปัญญา (มาจากการรวมบุคลิกพื้นอารมณ์ลักษณะแบบนักหลักการนิยม และศิลปิน/ช่างฝีมือ) มีอิทธิพลหรือทำนายได้ต่อความคาดหวังสไตล์รายการความรู้และคำนึงต่อสังคม และสไตล์รายการให้คุณค่าเชิงศิลป์ (2) บุคคลิกพื้นอารมณ์ลักษณะแบบนักอุดมการณ์นิยม มีอิทธิพลหรือทำนายได้ต่อสไตล์รายการบันเทิงตามกระแสท้องถิ่น และสไตล์รายการความรู้และคำนึงต่อสังคม (3) บุคคลิกพื้นอารมณ์ลักษณะแบบผู้ปกป้อง ไม่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังสไตล์รายการใดๆ

ปัจจัยบุคคลิกพื้นอารมณ์มีอิทธพลหรือทำนายได้ต่อการเปิดรับชมรายการบนสื่อโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์มได้บางส่วน ดังนี้ (1) บุคลิกพื้นอารมณ์ลักษณะแบบผู้แสวงหาภูมิปัญญา มีอิทธพลเป็นเชิงลบต่อการเปิดรับชมสื่อโทรทัศน์บรอดแคสต์ (2) บุคลิกพื้นอารมณ์ลักษณะแบบนักอุดมการณ์นิยม มีอิทธิพลเป็นเชิงบวก ต่อการเปิดรับชมสื่อโทรทัศน์ออนไลน์ แบบชมสด ตรงข้ามกับ (3) บุคลิกพื้นอารมณ์ลักษณะแบบผู้ปกป้อง มีอิทธิพลเป็นเชิงลบ ต่อการเปิดรับชมสื่อโทรทัศน์ออนไลน์ แบบชมสด

References

รมิดา ลีลาพตะ. (2567). เรตติงแบบข้ามแพลตฟอร์ม: ความคาดหวังและบทเรียนของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ดิจิทัลไทย. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 10(1), 21-37. https://www.shorturl.asia/5hUz6

Albers, R. (1996). Quality in Programming from the Perspective of the Professional Programme Maker. pp. 101–44 in S. Ishikawa (ed.) Quality Assessment in Programming. Luton: University of Luton Press.

Bourdieu. P. (1998). On television. New Press. https://monoskop.org/images/1/13/Bourdieu_Pierre_On_Television.pdf

Bourdon, J., & Méadel, C. (2014). Deconstructing the ratings machine: An introduction. In J. Bourdon and C. Méadel (Eds), Television Audiences across the world. Palgrave. https://doi.org/10.1057/9781137345103_1

Chen, Y.-N., (2019). Competitions between OTT TV platforms and traditional television in Taiwan: A Niche analysis. Telecommunications Policy, 43(9), Article 101793. https://doi.org/10.1016/j.telpol.2018.10.006

Keirsey, D., & Bates, M. (1984). Please understand me: Character and temperament types (5th ed.). Prometheus Nemesis Book.

Leggatt, T. (1996). Quality in Television: The Views from Professionals. In S. Ishikawa (Ed.), Quality Assessment in Programming (pp. 145-168). Luton: John Libbey Media.

Lima, A. C. E. S., & de Castro, L. N. (2016). Predicting temperament from twitter data. In 2016 5th IIAI International Congress on Advanced Applied Informatics (IIAI-AAI) (pp. 599-604). Kumamoto. http://dx.doi.org/10.1109/iiai-aai.2016.239

McKeen, R. L., and McSwain C. 1990. “Keirsey-Bates temperament categories: A basis for motivational interventions” Human Resource Development Quarterly, p237-250.

Meijer, I. C. (2005). Impact or content? Ratings vs quality in public broadcasting. European Journal of Communication, 20(1), 27–53. https://doi.org/10.1177/0267323105049632

Soper, D.S. (2006-2024). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software]. Available from https://www.danielsoper.com/statcalc.

Stokes, P. (2003). Temperament, learning styles, and demographic predictors of college student satisfaction in a digital learning environment [Doctoral dissertation, The University of Alabama]. ERIC. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED482454.pdf

Warner, W. Lloyd.(1949). Social Class in America. Chicago: Science Research Associates, Incorporated, 1949.

Yutthanavee. (2567). นักศึกษาปัจจุบัน. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://data.mhesi.go.th/dataset/univ_std_11_01.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06