เกี่ยวกับวารสาร
ขอบเขตผลงานที่รับตีพิมพ์
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
1. บทความที่ส่งมาจะได้รับการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการก่อน โดยจะพิจารณาถึง ความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร
- 1.1 ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ วารสารฯ จะแจ้งปฏิเสธการรับตีพิมพ์บทความ (Reject) ให้ผู้ส่งบทความทราบ โดยผู้ส่งบทความไม่ต้องชำระเงินค่าดำเนินการใดๆ
- 1.2 ในกรณีที่บทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการแล้ว ผู้ส่งบทความจะต้องชำระค่าพิจารณาบทความ โดยวารสารฯ จะแจ้งผู้ส่งบทความให้ทราบก่อนการชำระเงิน (เรียกเก็บเมื่อบทความ ผ่านเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ) เมื่อผู้ส่งบทความชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ทางวารสารฯ จะดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร และจะไม่คืนเงินไม่ว่าในกรณีใด ๆ
4. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
5. บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
6. บทความที่เคยนำเสนอในการประชุมวิชาการมาแล้ว ผู้เขียนบทความต้องให้การรับรองว่าบทความนั้นได้ปรับปรุงจากการนำเสนอในการประชุมจากที่ใดมาแล้ว และต้องมีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ภาษาที่รับตีพิมพ์
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และจะต้องมีการเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นหรือเขียนแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในเนื้อหาและตอนท้าย (บรรณานุกรม) ของบทความ ในรูปแบบ APA 6th Style
กำหนดออก
2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
อัตราค่าพิจารณาบทความ
บุคคลภายนอก และนักศึกษา มสธ.
- -ภาษาไทย บทความละ 4,000 บาท
- -ภาษาอังกฤษ บทความละ 7,000 บาท
*ชำระเมื่อบทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการแล้ว โดยวารสารฯ จะแจ้งผู้ส่งบทความให้ทราบก่อนการชำระเงิน (เรียกเก็บเมื่อบทความ ผ่านเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ)
สำหรับบุคลากร มสธ. ไม่เสียค่าใช้จ่าย
รู้จักนวัตกรรม
คำว่า “การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม” หมายถึง ข้อค้นพบ หรือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงข้อค้นพบ หรือข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า หรือเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากงานวิจัย/วิชาการ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้การผลิต และกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ที่นำมาเผยแพร่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบของวารสารอิเล็กทรอนิกส์