วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning : e-JODIL) จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลงานวิชาการ และข้อค้นพบจากการวิจัย และเป็นช่องทางในการสะสมองค์ความรู้ สู่การเป็นสังคมฐานความรู้ ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2554 โดยเปิดรับและเผยแพร่บทความทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีกำหนดการออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม

รู้จักนวัตกรรม

คำว่า “การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม” หมายถึง ข้อค้นพบ หรือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงข้อค้นพบ หรือข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า หรือเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากงานวิจัย/วิชาการ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้การผลิต และกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ที่นำมาเผยแพร่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบของวารสารอิเล็กทรอนิกส์

เปิดรับบทความ

2024-02-15

วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อขอรับการ

พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2568 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2)

การปรับเปลี่ยนนโยบายการพิจารณาบทความ และอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งบทความเพื่อพิจารณาบทความ

2022-01-31

วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) ได้พิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการพิจารณาบทความ

โดยกำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ  (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน

สำหรับอัตราค่าส่งบทความเพื่อพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้

- บทความภาษาไทย       บทความละ 4,000 บาท

- บทความภาษาอังกฤษ   บทความละ 7,000 บาท

- สำหรับบุคลากร มสธ.   ไม่เสียค่าใช้จ่าย

(ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป)

ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (2023): กรกฎาคม - ธันวาคม 2566

วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นวารสารคุณภาพที่เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการเป็นปีที่ 13  ฉบับที่ 2  (กรกฎาคม – ธันวาคม 2566) แล้ว ได้รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นวารสารกลุ่มที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567 จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ที่มีนโยบายในการจัดการวารสารคุณภาพเพื่อยกระดับจากวารสารระดับชาติสู่วารสารระดับนานาชาติ ทำให้ได้รับความสนใจจากนักวิจัยและนักวิชาการจำนวนมาก กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสถาบันมาร่วมเป็นทีมงานที่ช่วยคัดกรอง คัดสรรบทความที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคม โดยนโยบายในการบริหารจัดการวารสารยังคงเน้นกระบวนการประเมินคุณภาพบทความที่เข้มข้น จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณวุฒิ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญตรงตามเนื้อหาในบทความ เพื่อให้วารสารได้เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสนับสนุนการเผยแพร่งานวิชาการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัย ขอขอบคุณกองบรรณาธิการวารสาร ผู้จัดการวารสารและทีมงานสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็งและยึดมั่นในคุณภาพทุกขั้นตอนของจัดทำวารสารนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์สูงสุด ขอขอบพระคุณผู้เขียนและผู้อ่านทุกท่านที่สนับสนุนการผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ในวารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เผยแพร่แล้ว: 08-12-2023

แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการการเกษตรในเขตจัดรูปที่ดินและ เขตระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม

พลสราญ สราญรมย์, สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, ศิรส ทองเชื้อ, วรรธนัย อ้นสำราญ, สัจจา บรรจงศิริ, บำเพ็ญ เขียวหวาน, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ

149-183

ดูทุกฉบับ

Online ISSN: 2985-1149