การศึกษาการใช้งานโมบายแอปพลิชันคำศัพท์ภาษาเกาหลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตโมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลี โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการทบทวนซ้ำแบบเว้นระยะ ร่วมกับสมมุติฐานเกี่ยวกับความถี่ในการปรากฏของคำศัพท์และผลสัมฤทธิ์ในการจดจำคำศัพท์และความหมาย และนำโมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลีมาใช้ในผู้ศึกษาวิชาภาษาเกาหลีเพื่อการสื่อสาร I โดยมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ในการจดจำคำศัพท์และความหมายภาษาเกาหลี
งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก ผู้วิจัยผลิตโมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลีและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อโมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลีจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 62 คน ผลวิเคราะห์การวิจัยระยะแรกพบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม คือ 4.45 (เห็นด้วยมากที่สุด) ระยะที่สอง ภายหลังจากการศึกษาในชั้นเรียน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน ทำแบบทดสอบความถูกต้องในการจดจำคำศัพท์และความหมาย (pre-test) โดยใช้โมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลีและบันทึกคำศัพท์ที่กลุ่มตัวอย่างทำผิดพลาดเป็นรายบุคคล จากนั้นแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่ 1 จำนวน 11 คน ใช้โมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลี ทบทวนคำศัพท์ที่ผิดพลาดนอกเวลาเรียน ทุกวัน และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 จำนวน 10 คน ไม่ให้ใช้โมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลี ทบทวนคำศัพท์ที่ผิดพลาดนอกเวลาเรียน ภายหลังการทดสอบครั้งแรก 7 วัน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบคำศัพท์และความหมายอีกครั้ง ซึ่งประกอบไปด้วยคำศัพท์ที่ผิดพลาดจากการทดสอบในครั้งแรกของแต่ละบุคคล (post-test) จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความถูกต้องในการจดจำคำศัพท์และความหมายครั้งที่ 2 ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ 1 และ 2 ด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้ Paired Sample T-Test พบว่า ค่าเฉลี่ยความถูกต้อง ของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 (ร้อยละ 90.96) สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ 2 (ร้อยละ 57.39) อย่างมีนัยสำคัญ (Sig = 0.031, P<0.05) หรือสรุปได้ว่า การใช้โมบายแอปพลิเคชันคำศัพท์ภาษาเกาหลีนอกเวลาเรียนเพื่อทบทวนคำศัพท์ ส่งผลสัมฤทธิ์ในการจดจำคำศัพท์และความหมายภาษาเกาหลีอย่างชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Chaimongkol, T. (2022). Development of Instruction Package on Congruent and Incongruent Collocations of High-Frequency Verbs: Do, Get, Give, Have, Make, Take. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 28(2), 103-112.
Cho, A., & Yi, S. (2014). An Analysis on the Word Frequency and Word Repetition in Korean Elementary Textbooks. The Journal of Humanities Studies, 50(4), 261-287.
Cho, H. (2000). The Research of Korean Vocabulary Studies. Seoul: PIJBook.
Kobsirithiwara, P. (2020). Approaches to Develop the Glossary Part of Communicative Korean I textbook in the Faculty of Humanities Kasetsart University. Journal of Studies in the Field of Humanities, 27(1), 125-159.
Marketeer Team. (2022). Thailand in 2022: Thai People Have Computers and Smartphones in Almost the Entire Country. Retrieved October 12, 2023 form https://marketeeronline.co/archives/266656
Mingmuang, C., Arreerard, W., & Sanrach, C. (2022). Development of a Model for Multimedia Learning Activities on Mobile Technology using Spaced Repetition Technique. Electronic Journal of Open and Distance Innovation Learning, 12(2), 1-16.
White, A. R. (2019). A Social Media Based Learning System: An Investigation on the Use of the Line Application for Teaching and Learning English Vocabulary and Grammar at a Thai Public University. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 25(3), 3-30.
Yi, S., Yi, C., & Seo, K. (2020). Korean Vocabulary Education Theory. Seoul: Hankookmunhwasa.