กระบวนการสร้างเส้นทางเสียงบรรยายภาพในพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น กรณีศึกษา: มิวเซียมสยาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างเส้นทางเสียงบรรยายภาพในพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น กรณีศึกษา: มิวเซียมสยามจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและถอดความรู้กระบวนการสร้างเส้นทางเสียงบรรยายภาพเพื่อการเข้าถึงของผู้พิการทางการมองเห็นในพิพิธภัณฑ์ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ร่วมกับการเก็บข้อมูลโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Document Analysis) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสัมภาษณ์บุคคล (Personal Interview)
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างเส้นทางเสียงบรรยายภาพในพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การวางเส้นทางเสียงบรรยายภาพ การเข้าพื้นที่เพื่อวัดระยะของวัตถุจัดแสดงโดยละเอียด การเขียนบทบรรยายภาพ การส่งบทบรรยายภาพเพื่อตรวจสอบและปรับแก้ตามข้อคิดเห็น การบันทึกเสียงบรรยายภาพ การทดสอบเส้นทางเสียงบรรยายภาพกับกลุ่มตัวอย่างผู้พิการทางการมองเห็น และการจัดอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่นำชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งในกระบวนการทั้งหมด เป็นการทำงานระหว่างกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 3 ส่วน คือ ทางพิพิธภัณฑ์เอง ผู้วิจัย และบริษัทเอกชนผู้รับผิดชอบเรื่องการบันทึกไฟล์เสียงบรรยายภาพ โดยขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาทั้งสิ้น 6 เดือน ขั้นตอนที่ใช้เวลานานที่สุดในขั้นตอนทั้งหมดคือการจัดทำบทบรรยายภาพ ซึ่งผู้วิจัยออกแบบให้บทบรรยายภาพที่เกิดขึ้นมีทั้งในรูปแบบของการบันทึกเสียงลงในอุปกรณ์สำหรับฟังจากทางพิพิธภัณฑ์ ประกอบกับการบรรยายสดจากเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธภัณฑ์ ในกรณีที่เป็นบรรยากาศ สถานการณ์สด และประกอบการจัดแสดงที่เป็นเชิงปฏิสัมพันธ์ที่ไม่สามารถบันทีกเป็นไฟล์เสียงได้
นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้พิการทางการมองเห็นมีความต้องการให้มีการสัมผัส (Tactile) โดยอาจจะเป็นการสัมผัสที่วัตถุจัดแสดง หรือหุ่นจำลอง การมีข้อความอักษรเบรลล์ และการใช้ QR Code เพื่อให้ผู้พิการทางการมองเห็นได้สแกนเพื่อรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นงานจัดแสดงเพิ่มเติม ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยตนเอง (Self-Guided Touch Tour) แต่ในขณะเดียวกัน ผู้พิการทางการมองเห็นมีความสนใจและความสนุกสนานกับห้องจัดแสดงในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชม และการมีปฏิสัมพันธ์กับการบรรยายภาพสดจากเจ้าหน้าที่นำชม ซึ่งเป็นลักษณะของการเข้าชมแบบมีผู้นำชม (Guided Touch Tour) อีกด้วย ทั้งนี้ จากความต้องการของผู้พิการทางการมองเห็น รูปแบบของเส้นทางเสียงบรรยายภาพที่เหมาะสมควรเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างการนำชมแบบมีเจ้าหน้าที่นำชม และการเข้าขมด้วยตนเอง โดยทางพิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินการจัดเตรียมสื่อที่เหมาะสม ตลอดจนเส้นทางเสียงบรรยายภาพ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทั้งเนื้อหาและความมีสุนทรียภาพ ตามแนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Abud, J. V. T., Oliveira, G. T. L., & Rocha, S. M. (2021). Museum, Audio Description and Tactile Resources for Visually Impaired People: Accessibility of Romm Aldemir Martin at Art Museum. Entrepalavras, 11(3), 12 – 31.
Apisitsuksonti, S., Krutasean, W., & Pangkesorn, A. (2016). Exhibition Media Design for Visually Impaired in Bangkok Local Museum. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 12(2), 274 – 294.
Butree, P. (2021). “Handicap Tourists” New Market and Challenge for Thailand’s Tourism Industry. Retrieved July 11, 2023, from https://mgronline.com/travel/detail/9640000044157.
DASTA. (2022). Tourism for All: The Tourism for Every Person. Retrieved July 11, 2023, from https://www.dasta.or.th/th/article/695.
Emuzeum. (n.d.). Learning Tools: Touch Tour and Other Tactile Experiences. Retrieved July 11, 2023, from https://emuzeum.cz/admin/files/Navstevnici-se-zrakovym-znevyhodnenim-02.pdf
Ginley, B. (2013). Museum: A Whole New World for Visually Impaired People. Disability Studies Quarterly, 33(3). https://doi.org/10.18061/dsq.v33i3.
GSTC. (2019). GSTC Destination Criteria Version 2.0 with Performance Indicators and SDGs. USA: The Global Sustainable Council.
Hutchinson, R., & Eardley, A. F. (2018). Museum Audio Description: The Problem of Textual Fidelity. Perspectives: Studies in Translation Theory and Practice, 27(1), 42-57. https://doi.org/10.1080/0907676X.2018.1473451
Janevatchararak, T. (2011). The Creation of Audio Description in Animated Feature for Visually-Impaired Children (Master’s thesis). Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University. Bangkok, Thailand.
Karuchit, A. (2015). The Study of Audio Description Guidelines for Visually Impaired People (Research Report). Patumthani: Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.
Kasemsap, W. (2022). Ready or Not? Thailand with the Complete Ageing Society. Retrieved July 11, 2023, from https://op.mahidol.ac.th/ga/posttoday-22-2/.
National Disability Authority. (2020). The 7 principles. Retrieved July 11, 2023, from https://universaldesign.ie/what-is-universal-design/the-7-principles/.
National Discovery Museum Institute. (2017). Decoding Thainess (1st ed.). Bangkok: National Discovery Museum Institute.
Notifications of the Ministry of Social Development and Human Security. (2009, May 29). Government Gazette. No. 126 Section 77 D, page 1–5.
Panthong, P. (2022). Tourism for All. Retrieved July 11, 2023, from https://onceinlife.co/tourism-for-all.
Randaccio, M. (2018). Museum Audio Description: Multimodal and 'Multisensory' Translation: A Case Study from the British Museum. Linguistic and Literature Studies, 6(6), 285 – 297.
Snyder, J. (2014). The Visual Made Verbal. VA: American Council of the Blind.
Swangkong, K. (2018). Tour Arrangement for Disabled in Perspective of Tour Operators. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2937 – 2949.
UNESCO. (2012). Respecting the Rights on Persons with Disabilities. Retrieved July 11, 2023, from https://www.unesco.org/en/articles/respecting-rights-persons-disabilities.
VocalEyes. (2019). Guidelines: Descriptive Directions and Venue Information. Retrieved July 11, 2023, from https://vocaleyes.co.uk/services/resources/making-your-venue-accessible/.