การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานอัตลักษณ์ชุมชน โบสถ์ ศาลเจ้า วัด มัสยิด วีถีชีวิตริมสายน้ำ พื้นที่ชุมชนย่านกะดีจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ทั้งด้านมูลค่าและคุณค่าบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น 2) ยกระดับช่องทางการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย
วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และกระบวนการการมีส่วนร่วม ได้แก่ 1) การสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) 2) การสัมภาษณ์เชิง ลึก (In – Depth Interview) ผู้ใช้ข้อมูลหลัก คือ ประธานชุมชนย่านกะดีจีนและคณะกรรมการของชุมชน 6 ชุมชน คือ ชุมชนกุฎีขาว ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนบุปผาราม ชุมชนวัดประยุรวงศ์ ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนโรงคราม จำนวน 18 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ทั้งด้านมูลค่าและคุณค่าบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น มีการพัฒนาชุดบทเพลงชุมชนกะดีจีน “สันติภาพและภราดรภาพ” 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ และ ผลิตภัณฑ์ศิลปประดิษฐ์ที่โยงความเชื่อ 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ 2) การพัฒนาช่องทางการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนการสื่อสารการตลาดโดยการออกแบบตราสินค้าชุมชนย่านกะดีจีน แผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนย่านกะดีจีน และวีดีโอแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนย่านกะดีจีน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทางออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Boon-um, R., Panasapsuk, P., Singkhajorn, S., Thianthanom, R., & Praditsong, D. (2020). Marketing Communication Planning for Rai Phumin Real Lemonade Products. in Documents from the National Academic Conference and International Management Science Bansomdejchaopraya Rajabhat University (pp. 198-207). Bangkok: Bansomdejchaopraya Rajabhat.
Euamornwanich, P., & Singkhajorn, S. (2018). Communication and Adaptation Amidst Cultural Differences. Television Culture Journal, 17(2), 167-178.
Fontefrancesco, M.F. (2012). Thirty Years of Multiculturalism and Anthropology. Anthropological Notebooks, 18(3), 59–62.
Jensantikul, N. (2015). Ethnic Diversity with ASEAN Community: Problems and Considerations. Executive Journal, 35(2), 33-45.
Kottak, C.P. (2000). Anthropology the Exploration of Human Diversity. New York: McGrawhill.
Nakseethong, P., & Puttichot, A. (2014). The Dynamics of the Pluralist Society and Diverse Cultures of the People in Koh Lanta, Krabi Province (1979- 2010). Journal of Thai Studies, 10(2), 117-253.
Parekh, B. (2002). Rethinking Multiculturalism: Cultural Diversity and Political Theory. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Phewdaeng, S. (2016). Developing the Potential of Creative Community Tourism Mekong Basin Ethnic Groups Project Set for Developing Ethnic Tourism in the Mekong Basin on the Basis of Authenticity to Respond to the Tourism Plans of ASEAN. Bangkok: National Research Council of Thailand (NRCT).
Ruenrom, G. (2013). Corporate Brand Success Valuation. Bangkok: Cyber Print.
Singkhajorn, S., Sudasna Na Ayudhya, P., & Dulyadaweesid, N. (2020) Integration of Creating Shared Value with Thailand Sustainable Development. Sustainable Community Development Journal, 1, 23-26
Sukhamphee, N. (2007). Using Knowledge Brand Image in Creating Brand Value Leading Cosmetic Products in Thailand (Master’ s thesis). Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University. Bangkok.