แนวทางการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพ ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ลัคนา พูลเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางการเงินของแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในจังหวัดนนทบุรี รวมทั้งศึกษาแผนทางการเงินของแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในจังหวัดนนทบุรี กำหนดแนวทางการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในจังหวัดนนทบุรี และเพื่อศึกษาผลการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในจังหวัดนนทบุรี การดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 350 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละและในส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนการเงินส่วนบุคคลและผลการวางแผนการเงินส่วนบุคคลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบรวมกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำแรงงานนอกระบบที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการวางแผนการออม กลุ่มนักวิชาการที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการวางแผนการเงิน กลุ่มตัวแทนสมาคมประกันชีวิต และกลุ่มสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กลุ่มละ 2 คนรวมเป็นจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหานำข้อมูลที่ได้มาจัดระเบียบแล้วมาเรียบเรียงตีความและวิเคราะห์เป็นข้อสรุป 


ผลการศึกษา พบว่าโครงสร้างทางการเงินของแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในจังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างเป็นหลักและจากงานพิเศษนอกเหนือจากงานประจำ เมื่อพิจารณาด้านรายจ่ายส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในด้านอุปโภคบริโภค ค่าผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุตร และส่วนใหญ่มีการออมทรัพย์ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน  แผนทางการเงินของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีแผนการบริหารจัดการรายรับ รายจ่าย แนวทางการวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย และหนี้สิน ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินสถานะการเงิน ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนการเงินส่วนบุคคล ขั้นตอนที่ 5 การนำแผนทางการเงินไปปฏิบัติ และขั้นตอนที่ 6 การทบทวนและตรวจสอบแผนทางการเงิน และผลการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ มีความชัดเจนมีรายละเอียดเป็นรูปธรรม ปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ อยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด สามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองเป้าหมายทางการเงินที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Capital Market Knowledge Development Center Capital Market, Development Fund Institute Stock Exchange of Thailand. (2010). Basic Financial Planning. Bangkok: Department of Learning. The Stock Exchange of Thailand Building.

Ministry of Labour. (2018). Informal Labour Management Strategic Plan. Retrieved from http://mol.go.th/academician/content.

National Statistical Office. (2018). How to Develop a Sustainable Workforce. Retrieved from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/new Lfs.sp

Onyango, C., Olungah, C.O., & Oleche, M.O. (2016). Attitudes of Informal Sector Workers Towards Saving for Retirement. International Journal of Novel Research in Interdisciplinary Studies, 3(4), 123-19.

Schclarek, A., & Caggia, M. (2015). Household Saving and Labor Informality: The Case of Chile. Inter-American Development Bank.

Thai Motorcycle Taxi Drivers Association. (2018). General News. Retrieved from https://www.thansettakij.com/

Wongchan, R. (2010). Personal Finance Management. Bangkok: Boonsiri Publishing.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.