การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพหลักสูตรศิลปกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Main Article Content

ฟารีดา หีมอะด้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 99 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง และระยะที่ 3 ครูผู้สอน จำนวน 25 คน จากการมีส่วนร่วม เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ 3) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ ตัวชี้วัดการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ 4) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พบว่า องค์ประกอบ ตัวชี้วัดสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่ได้จากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 7 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านทักษะ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 4 ด้านสาขางานทางศิลปกรรม ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด โดยผลการตรวจความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบตัวชี้วัด โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับดี พบว่า น้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ มีค่าเป็นบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ มีค่าระหว่าง 0.94 –1.00 และน้ำหนักองค์ประกอบของตัวชี้วัด 7 ตัวมีค่าเป็นบวกและนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 มีค่าระหว่าง 0.40 – 1.00 แสดงให้ เห็นว่าโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันมีความตรงเชิงโครงสร้าง 2) ผลการการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.64, S.D =0.34) และด้านความเป็นไปได้อยู่ระดับมากที่สุด  ( = 4.71, S.D = 0.41)  และ 3) ผลการทดลองใช้และประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพ หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยรวมมีความถูกต้องอยู่ในระดับสูงสุด ( = 4.60, S.D =0.57) ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับรองลงมา ( = 4.54, S.D =0.56) มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเป็นประโยชน์ ( = 4.46, S.D =0.49) มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก และด้านความเหมาะสม (  = 4.39, S.D =0.65) มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anderson, J. C., & Gerbing, D. W. (1988). Structural Equation Modeling in Practice: A Review and Recommended Two-Step Approach. Psychological Bulletin, 103(3), 411–423.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. John Wiley & Sons.

Bunditpatanasilpa Institute. (2017). Vocational Diploma Fine Arts Curriculum (revised) 2017. Nakhon Pathom: College of Fine Arts.

Buosonte, R. (2020). Research and Development of Educational Innovations (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chalarak, P. (2006). Participatory Action Research. Journal of Western Rajabhat Universities, 1(1), 17-23.

Chaiyapak, P. (2022). Development of an Evaluation Model of Teacher Competency Based on The King’s Philosophy for Student Teacher of Rajabhat University: Applying The Theory – Based Evaluation Approach (Doctoral Dissertation). Educational Research and Evaluation, Naresuan University. Phitsanulok.

Heemadam, F., & Buosonte, R. (2021). The Creative Designing of Learning Measurement Innovation. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 15(1), 15-26.

Hox, J.J. (2010). Multilevel Analysis: Techniques and Applications. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Janhom, P. (2020). Competency Development in Art Learning Management of School Art Education Teachers That Develops The 21st Century Learner Skills Through Online Training. Journal of MCU Nakhondhat, 9(5), 446-461.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (2012). LISREL 9.1: LISREL Syntax Guide. Chicago: Scientific Software International, Inc.

Kanjanawasee, S. (2019). Evaluation Theory (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kelloway, E. K. (1998). Using LISREL for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications.

Marsh, H.W., Hau, K.T., Balla, J.R, & Grayson, D. (1998). Is More Ever Too Much? The Number of Indicators per Factor in Confirmatory Factor Analysis. Multivariate Behav Res, 33(2), 181-220.

Office of the Secretariat of the Education Council. (2021) Guidelines for Developing Student Competencies at the Basic Education Level. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Prachanban, P. (2018). Techniques for Analyzing and Applying Structural Equation Models for Research and Evaluation. Phitsanulok: AT Graphic Center.

Ramsut, P. (1997). Participatory Action Research. Bangkok: ASEAN Institute for Health Development, Mahidol University.

Sawat, R. (2022). The Development of Factors, Indicators and Criteria for Educational Internal Quality Assurance at Fundamental Education in Multicultural Society the Southern Border Province (Doctoral Dissertation). Innovation of Learning Measurement, Naresuan University. Phitsanulok.

Sereerat, B. (2022). Teachers and Learners’ Competencies Development. Silpakorn Educational Research Journal, 14(1), 1-11.

Tacq, J. (1997). Multivariate Analysis Techniques in Social Science Research from Problem to Analysis. London: Sage.

Topitak, K. (2020). Performance Assessment: Concept to Practice. Phitsanulok: Naresuan University Publishing House.

Wiratchai, N. (1999). LISREL Model: Statistical Analysis for Research (3rd ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.