ส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ติ๊กต๊อก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ติ๊กต๊อก 2. เพื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ติ๊กต๊อก 3. เพื่อวิเคราะห์ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ติ๊กต๊อก
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ คือ ประชาชนที่เคยซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่นติ๊กต๊อก และใช้สูตรคำนวณคำนวณขนาดตัวอย่างของ W.G. Cochran ระดับความเชื่อมั่น 95 % และค่าความคลาดเคลื่อนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 5% มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 228 คน อายุ 20 – 30 ปี จำนวน 217 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท จำนวน 170 คน และมีระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 167 คน ผลการศึกษาส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ พบว่า ด้านการรับรู้ทางออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ผลการศึกษา การตัดสินใจสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่นติ๊กต๊อก พบว่า การรับรู้ถึงปัญหา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน ติ๊กต๊อก พบว่า ปัจจัยด้านการโฆษณา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ติ๊กต๊อก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน ติ๊กต๊อก พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ทางออนไลน์ อารมณ์ทางออนไลน์ ความบันเทิงทางออนไลน์ความต่อเนื่อง และทัศนคติที่มีต่อสื่อออนไลน์ ส่งผลต่อการการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ติ๊กต๊อก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Amonrattanasak, W. (2020). What is Tiktok? Exploring the Hottest Platform Trends in 2020. Retrieved from https://www.thumbsup.in.th/tiktok-trends-2020
Chantabul, S. & Phornprapa, K. (2021). Factors Affecting Customers' Behavior on Online Product Purchasing Decisions Via the Lazada Application of Gen Z Customers. Retrieved from http://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS02/PDF01/1320_20210713_12600100___Sucheewan_Chantabul.pdf
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Electronic Transactions Development Agency. (2021). Thai E-Commerce in the Post-COVID-19 Era. Retrieved from https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx
Kaewsawang, O., Charoenwiriyakul, C., & Damrongkulsombat, W. (2021). Marketing Mix Factors and Online Shopping through the Shopee Application by Consumers in Bangkok (Master’s thesis). Department of Development Management, Suan Sunandha Rajabhat University. Bangkok.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2018). Digital 4.0 Era When the World is Driven by Technology. Retrieved from https://ops.moe.go.th/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84-digital-4-0
Richard, M. O., & Chebat, J. C. (2016). Modeling Online Consumer Behavior: Preeminence of Emotions and Moderating Influences of Need for Cognition and Optimal Stimulation Level. Journal of Business Research, 69(2), 541–553.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2020). Meaning of Marketing Strategy. Retrieved from http://designtechnology.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/83/2020/01/4_